ลาวในเริ่มปฏิบัติการปรองดองลาวนอก

Cached:  http://www.oknation.net/blog/mekong/2010/09/23/entry-1

วันพฤหัสบดี, ที่ 23 กันยายน 2553

Posted by Supalak , ผู้อ่าน : 323 , 09:33:04 น.
หมวด : ต่างประเทศ

รายงาน จากกระทรวงการต่างประเทศของลาว ได้ระบุว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของลาวได้มีมติตกลงอนุมัติแผนการยกเว้นการ เก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าให้กับคนลาวในต่างประเทศที่ต้องการจะเดินทางกลับ ประเทศลาวในโอกาสการเฉลิมฉลองการสถาปนาเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวครบ รอบ 450 ปีที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-21 พฤศจิกายน 2010 อย่างเป็นทางการแล้วในขณะนี้

ซึ่งด้วยมติตกลงดังกล่าวนี้ก็จะเป็นผลทำให้คนลาวที่อยู่ในต่างประเทศ (Overseas Laotian) สามารถ ที่จะไปยื่นคำร้องเพื่อขอวีซ่าจากสถานทูตและสถานกงสุลลาวทุกแห่งในต่าง ประเทศได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ถ้าหากว่าเป็นการยื่นคำร้องต่อสถานทูตและสถานกงสุลลาวในต่างประเทศระหว่าง วันที่ 1-15 พฤศจิ กายน ส่วนคนลาวในต่างประเทศที่ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ก็ยังสามารถที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ประจำอยู่ ที่ด่านชาย แดนทุกแห่งของทางการลาวได้ระหว่างวันที่ 15-21 พฤศจิกายนโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใดเช่นเดียวกัน

ทางด้าน เหียม พมมะจัน รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศ (อดีตเอกอัครรัฐลาวประจำประเทศไทย) ก็ ได้ให้การยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ว่า ทางการลาวจะให้การสนับสนุนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในทุกๆด้านแก่คนลาวใน ต่างประเทศที่ต้องการจะเดินทางกลับคืนมาลาว โดยในระยะนี้ก็เป็นการดำเนินการปฏิบัติในขั้นเบื้องต้นเท่านั้น

ในเบื้องต้นนี้พวกเฮาจะอำนวยความสะดวกในการไปการมา การเยี่ยมการยาม การแต่งดอง (แต่ง งาน) ระหว่างคนลาวในกับคนลาวที่อยู่นอกหรือว่าการมาอยู่ในลาวอย่างถาวรของเขาเจ้า (ลาวนอก)นั้น พวกเฮาก็จะอำนวยความสะดวกให้พวกเขาเจ้าทางด้านนิติกรรม ในลักษณะที่ว่าพวกเขาเจ้าอยู่ก็มีผลประโยชน์ เพราะว่าพวกเขาเจ้ามีสัญชาติใหม่แล้วก็บ่ให้พวกเขาเจ้าเสียสัญชาติ รวมทั้งพวกเขาเจ้าก็ควรที่จะมีกรรมสิทธิ์แนวใดแนวหนึ่งในบ่อนอยู่บ่อนอาศัย ในลาว โดยในเวลานี้พวกเฮาก็ได้วางฮ่าง (ร่าง) นโยบายละเอียดจำนวนหนึ่งไว้แล้ว”

ทั้ง นี้โดยนิติกรรมที่สำคัญอันหนึ่งที่ทางการกระทรวงการต่างประเทศของลาวได้ ดำเนินการร่างและจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและยังคงรอเพียงการลงนามอนุมัติจาก นายกรัฐมนตรี บัวสอน บุบผาวัน อย่างเป็นทางการเท่านั้นในเวลานี้ ก็คือดำรัสว่าด้วยการให้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ต่างๆในลาวแก่คนลาวนอกที่ต้องการจะเดินทางกลับคืนมาอยู่ในลาวอย่างถาวรนั่น เอง

ก่อน หน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศของลาวก็ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนส่ง เสริมและอำนวยความสะดวกให้คนลาวนอกพากันเดินทางกลับคืนมาลาว ซึ่งก็พบว่าจะส่งผลดีอย่างยิ่งต่อการพัฒนาลาวให้เจริญก้าวหน้าอย่างเท่าทัน กับบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันและภูมิภาคอื่นๆได้ใน อนาคต

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้รัฐบาลลาวได้ประกาศการดำเนินแผนการดึงดูดเอาคนลาวนอกกลับคืนมาประเทศลาวนับตั้งแต่ปลายปี 2009 เป็น ต้นมาแล้ว ด้วยหวังว่าคนลาวนอกนั้นจะประกอบส่วนอย่างสำคัญเข้าในการพัฒนาประเทศลาวให้ มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป เนื่องจากว่าในปัจจุบันนี้มีคนลาวในต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ความ สามารถในวิทยาการสมัยใหม่ และคนลาวนอกจำนวนไม่น้อยก็ยังมีความสามารถที่จะระดมเงินลงทุนเข้าไปในลาวได้ อย่างมากอีกด้วย

ทั้งนี้โดยทางการลาวได้จัดแบ่งคนลาวนอกออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มคนลาวนอกรุ่นใหม่ ซึ่งในทั้ง 3 กลุ่มนี้ทางการลาวก็ได้ให้ความสำคัญที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับลักษณะเด่นของคนลาวนอกในแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ

กล่าว สำหรับกลุ่มคนลาวนอกผู้สูงวัยนั้น เนื่องจากว่าเป็นกลุ่มคนลาวที่เกิดในลาวแต่ต้องอพยพหลบหนีภัยสงครามการเมือง จากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่ในต่างประเทศนับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าสาม ทศวรรษมาแล้วนั้น จึงย่อมที่จะคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนเป็นธรรมดา ซึ่งทางการลาวเองก็ได้มองเห็นความสำคัญในข้อนี้เป็นอย่างดี จึงได้ริเริ่มด้วยการอำนวยความสะดวกในทุกๆด้านเพื่อส่งเสริมให้คน ลาวนอกกลุ่มนี้เดินทางกลับมาพักผ่อนและใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ในลาวเป็นสำคัญ

โดย เมื่อไม่นานมานี้ สภาแห่งชาติลาว ก็ได้มีมติรับรองการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายว่าด้วยการลง ทุนจากต่างประเทศในลาวและก็มีผลบังคับใช้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความสำคัญของการแก้ไขที่ว่านี้ก็คือได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับดัง กล่าวนี้อย่างชัดเจนว่าบรรดานักธุรกิจชาวต่างประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนใน ลาวมากกว่า 5 แสน ดอลลาร์สหรัฐนั้นย่อมมีสิทธิ์ถือครองและเป็นเจ้าของอาคาร ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ในลาวได้ตามพื้นที่หรือเขตที่ทางการลาวได้กำหนดและอนุญาตไว้ แต่สำหรับคนลาวนอกแล้วยังจะมีสิทธิ์ที่ดีกว่านักธุรกิจชาวต่างประเทศ ซึ่งก็คือคนลาวนอกนั้นอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีมูลค่าการลงทุนในลาวมากกว่า 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ ก็สามารถที่จะมีสิทธิ์ถือครองและเป็นเจ้าของอาคาร ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆในลาวได้แล้ว

ทั้งนี้เพราะสิ่งที่ทางการลาวได้มองไปไกลยิ่งกว่านั้น ก็คือเมื่อกลุ่มคนลาวผู้สูงวัย (ที่เป็นทั้งพ่อแม่และปู่ย่า-ตายายของคนลาวนอกวัยกลางคนและคนลาวนอกรุ่นใหม่) ได้กลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่ลาวแล้วนั้นย่อมจะเป็นธรรมดาอยู่เองที่คนลาวนอกรุ่นลูกรุ่นหลานจะต้องมาเยี่ยมพ่อแม่และปู่ย่า-ตายายของพวกเขาที่พำนักอยู่ในลาวนั่นเอง

กล่าว สำหรับในปัจจุบันนี้ กลุ่มคนลาวนอกที่นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่และมีบทบาทสำคัญที่สุดในกลุ่มคนลาวนอก ด้วยกันก็คือกลุ่มวัยกลางคน เนื่องจากว่าคนลาวนอกในกลุ่มนี้นับเป็นคนลาวกลุ่มใหญ่กลุ่มแรกที่มีโอกาสได้ ศึกษาและเรียนรู้วิทยาการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกันกับคนชาติที่พวกเขาอพยพไปพำนักอยู่และครั้นเมื่อเวลาผ่านไป กว่า 3 ทศวรรษ จึงทำให้คนลาวนอกในกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยที่สามารถก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ อย่างมั่นคง ทั้งก็ยังสามารถที่จะส่งเสียลูกหลานที่เป็นคนลาวนอกรุ่นใหม่ให้ได้รับการ ศึกษาระดับสูงในวิทยาการสมัยใหม่ทุกๆด้านอีกด้วย

เพราะ ฉะนั้น จึงทำให้คนลาวนอกทั้งในกลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้เป็นเป้าหมาย หลักที่ทางการลาวต้องการที่จะดึงเอาทั้งความรู้ความสามารถและกำลังทุนทรัพย์ กลับคืนมาประกอบส่วนเข้าในการสร้างสาพัฒนาชาติลาวให้เจริญรุ่งเรืองมากที่ สุด แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ด้วยการริเริ่มจากการอำนวยความสะดวกให้คนลาวนอกใน กลุ่มผู้สูงวัยนั้นกลับคืนมาที่ลาวก่อนนั่นเอง

จะ ว่าไปแล้วคนลาวนอกในกลุ่มผู้สูงวัยนี้นับเป็นกลุ่มคนลาวนอกที่มีความทรงจำ และทัศนคติเกี่ยวกับลาวที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องเพราะเป็นคนลาวในวัยที่ต้องเผชิญกับสงครามทางการเมืองอันดุเดือดและ ยืดเยื้อตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปี 1975 ซึ่งนับระยะเวลาของสงครามการเมืองในลาวได้ถึง 35 ปีพอดี และหลังจากนั้นคนลาวในกับคนลาวนอกก็ยังต้องเผชิญหน้ากันในท่ามกลางกระแสแห่งยุคของสงครามเย็นต่อเนื่องหรือนับระยะเวลาได้ถึง 35 ปีพอดี จึงได้มีการริเริ่มเพื่อการปรองดองชาติระหว่างคนลาวในกับคนลาวนอกในเวลานี้

แน่นอนว่าในกลุ่มคนลาวนอกที่มีอยู่มากกว่า 6 แสน คนทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่นในทุกวันนี้ ย่อมไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับการปรองดองชาติที่ริเริ่มโดยพรรคประชาชน ปฏิวัติลาวดังกล่าวนี้ แต่ก็เชื่อว่าคนลาวนอกส่วนใหญ่นั้นต่างก็เห็นด้วยกับแนวทางการปรองดองชาติ ดังกล่าวนี้ เนื่องจากพวกเขานั้นเห็นว่าสงครามแห่งความขัดแย้งระหว่างคนลาวด้วยกันที่รวม ระยะเวลาได้ถึง 70 ปีมาแล้วนั้นมันมีแต่จะทำให้ชาติลาวล้าหลังและด้อยพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุดเท่านั้น

ส่วน ทางการลาวนั้นก็ได้มองเห็นความสำคัญข้อนี้ด้วยเช่นกัน จึงได้ใช้โอกาสแห่งการเฉลิมฉลองการสถาปนาเวียงจันทน์เป็นนครหลวงของคนลาว ทั้งมวลครบรอบ 450 ปี ในปีนี้เป็นขีดหมายเริ่มต้นของการปรองดองระหว่างคนลาวในกับคนลาวนอกเพื่อการ สร้างสาพัฒนาชาติลาวให้เจริญก้าวหน้าและวัฒนาถาวรอย่างแท้จริง (ตรงข้ามกับสถานการณ์ในไทยในเวลานี้อย่างสิ้นเชิง) นั่นเอง!!!

ทรงฤทธิ์ โพนเงิน


พรรคประชาชนปฏิวัติลาว 2020

วันศุกร์ ที่ 29 ตุลาคม 2553

Posted by Supalak , ผู้อ่าน : 130 , 11:42:44 น.
หมวด : ต่างประเทศ

แม้ว่าการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาวครั้งที่ 9 จะ ยังไม่มีกำหนดที่ชัดเจนจนถึงเวลานี้ก็ตาม แต่การที่สาขาของพรรคฯทั้งในระดับกระทรวง ระดับแขวง และในระดับองค์การจัดตั้งมหาชนของพรรคฯ ได้สิ้นสุดการประชุมใหญ่ในรอบ 5 ปีไปเป็นส่วนใหญ่แล้วนั้น ก็ทำให้สามารถมองเห็นการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งทางการเมืองภายในลาวได้อย่างค่อนข้างจะชัดเจน

ทั้ง นี้ก็เนื่องจากว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคฯ ทั้งในระดับกระทรวง ระดับแขวง และในระดับองค์การจัดตั้งมหาชนนั้นก็คือการส่งสัญญาณจากศูนย์กลางอำนาจของ พรรคฯว่าบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะได้ครองอำนาจในตำแหน่งรัฐมนตรี ตำแหน่งเจ้าแขวง และตำแหน่งประธานของ องค์การจัดตั้งมหาชนของพรรคฯ กล่าวคือแนวลาวสร้างชาติ สหพันธ์กรรมบาล สหพันธ์แม่หญิง และศูนย์กลางชาวหนุ่มปฏิวัติลาวในช่วง 5 ปี (2011-2015) ต่อไปนี้นั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากว่าการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯครั้งที่ 9 ซึ่ง จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการภายในต้นปีหน้าไม่ได้มีมติเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติ เกี่ยวกับการอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ในทางการเมืองของสมาชิกพรรคฯ ที่กำหนดให้สามารถอยู่ในตำแหน่งเดิมได้ไม่เกิน 2 สมัย ติดต่อกันนั้นก็ยังจะทำให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคฯ ระดับกระทรวง ระดับแขวง และระดับองค์การจัดตั้งมหาชนของพรรคฯมาอย่างหมาดๆนั้นสามารถที่จะครองอำนาจ ในตำแหน่งเดิมได้ถึง 10 ปีติดต่อกันอีกด้วย

นอก จากนี้ สิ่งที่ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณจากศูนย์กลางพรรคฯที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในเวลา นี้ ก็คือการสืบทอดอำนาจทางการเมืองจากนักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคฯสู่รุ่นลูกๆและ หลานๆได้โดยปราศจากแรงเสียดทานใดๆอย่างสิ้นเชิง

ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการผูกขาดอำนาจทางการเมืองโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเพียงพรรคฯเดียวนับตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมาหรือ 35 ปี ติดต่อกันมาแล้วนั้น ศูนย์กลางพรรคฯก็ยังคงยืนยันในการที่จะสืบ ทอดการผูกขาดอำนาจเช่นนี้ต่อไปอย่างยาวนาน ด้วยการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญที่ได้มีการประกาศบังคับใช้นับ ตั้งแต่ปี 1991 เป็น ต้นมาว่าพรรคประชาชนปฏิวัติลาวนั้นเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ชี้นำการใช้ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหารในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กล่าว สำหรับทายาทของอดีตผู้นำสูงสุดของลาวที่ถือว่ามีความโดดเด่นและเติบโตทางการ เมืองอย่างรวดเร็วที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ สอนไซ สีพันดอน (บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของ คำไต สีพันดอน อดีตผู้ นำพรรคฯและประธานประเทศลาว) ซึ่งนอกจากจะเป็นเจ้าแขวงจำปาสักด้วยวัย 40 ปีต้นๆแล้วก็ยังได้ควบตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯระดับแขวงมาอย่างหมาดๆอีกด้วย

ว่ากันว่าผู้เป็นบิดาที่ครองตำแหน่งประธานพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอย่างยาวนานถึง 14 ปีและควบตำแหน่งประธานประเทศถึง 10 ปี ติดต่อกันนั้น ได้หมายมั่นที่จะผลักดันให้ สอนไซ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นพื้นฐานอย่างดีสำหรับการปูทางขึ้นไปสู่ตำแหน่งประธานประเทศ และเลขาธิการใหญ่ (เปลี่ยนจากตำแหน่งประธาน) ของพรรคฯในอนาคตที่ไม่ไกลเกินเอื้อม ดูอย่างในกรณีการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯแขวงจำปาสัก สอนไซ ก็รอคอยวันเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น

ส่วนบุตรีของ คำไต ที่มีวัยเพียง 40 ปี ต้นๆเช่นกันที่นามว่า เวียงสะหวัน สีพันดอน นั้นแม้ว่าในเวลานี้จะเป็นเพียงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเงินเท่านั้นก็ ตาม แต่ก็คาดหมายเป็นการล่วงหน้าได้เลยว่าเธอผู้นี้ก็จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอย่างเต็มตัวในเร็วๆนี้เช่นกัน

ความ จริงแล้วการส่งทอดอำนาจทางการเมืองในลาวจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลานนี้ไม่ ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วงนี้แต่อย่างใด หากได้เริ่มปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างนับตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมาแล้ว โดยผู้ที่ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้นก็คือ คำไซ สุพานุวง (บุตรชายของ เจ้าสุพานุวง อดีตประ ธานประเทศ) และ ไซสมพอน พมวิหาน (บุตรชายของ ไกสอน พมวิหาน อดีตประธานพรรคฯและประ ธานประเทศ)

ครั้นต่อมาในปี 1991 บุตร ชายของอดีตผู้นำทั้งสองดังกล่าวก็ได้เข้าไปสู่คณะกรรมการบริหารงานศูนย์ กลางพรรคฯที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งในเวลานั้นสมาชิกพรรคฯทั้งหลายต่างก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่าทายาท ของอดีตผู้นำทั้งสองคนนี้ ก็คือผู้ที่จะต้องสืบทอดอำนาจสูงสุดของประเทศและภายในพรรคฯจากผู้เป็นบิดา อย่างแน่นอน แต่ที่ไม่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ไกสอน ได้ถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันในปีถัดมา ในขณะที่ เจ้าสุพานุวง นั้นก็เจ็บป่วยเรื้อรังและได้ถึงแก่อสัญกรรมในอีก 3 ปีถัดมา

ครั้น แล้วโอกาสของตระกูลสีพันดอนก็มาถึงเมื่อ คำไต ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานพรรคฯสืบต่อจาก ไกสอน แต่ถึงกระนั้นด้วยระบบอาวุโสภายในพรรคฯก็ทำให้ คำไต ต้องรอวันเวลาอยู่ถึง 6 ปีกว่า จะได้ควบตำแหน่งประธานประเทศต่อจาก หนูฮัก พูมสะหวัน ซึ่งนั่นก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อการที่ คำไต จะวางรากฐานทางการเมืองไว้รองรับบุตรธิดาของตนแต่อย่างใดไม่ ทั้งยังถือว่าเป็นการวางรากฐานไว้ได้อย่างมั่นคงกว่าอดีตผูนำคนอื่นๆอีกด้วย

กล่าวก็คือเมื่อ คำไต ได้ตัดสินใจวางมือจากตำแหน่งประธานพรรคฯ และประธานประเทศในปี 2006 นั้น เขาก็ได้ส่งมอบตำแหน่งทั้งสองให้กับผู้ที่เขาไว้วางใจที่สุดอย่าง จูมมะลี ไซยะสอน ในขณะเดียวกันก็สามารถผลักดันให้เลขานุการส่วนตัวคือ บัวสอน บุบผาวัน นั้นให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ทั้งก็ยังปลุกปั้นให้ สอนไซ ได้ก้าวสู่ตำแหน่งเจ้าแขวงจำปาสักที่มีอายุน้อยที่สุดอีกต่างหาก

แต่ ถึงกระนั้น ก็ใช่ว่าทายาทของอดีตผู้นำคนอื่นๆจะไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญๆในทางการเมืองแต่ อย่างใด หากได้มีการจัดสรรอำนาจระหว่างกันไว้อย่างลงตัว เช่น ไซสมพอน พมวิหาน นั้นก็ได้รับตำแหน่งรองประธานสภาแห่งชาติ เพื่อรอวันเวลาที่จะก้าวสู่ตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วน สันยาฮัก พมวิหาน (บุตรชายอีกคนของ ไกสอน) ก็ ได้ประดับยศพลตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในกองทัพ เพื่อรอโอกาสอันเหมาะสมในการที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเสนาธิการสูงสุดของกอง ทัพและรัฐมนตรีป้อง กันประเทศต่อไป

ส่วน หลานๆของ พูมี วงวิจิด อดีตรักษาการประธานประเทศอย่าง บ่อสายคำ วงดาลา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ (ถึงแก่กรรมไปเมื่อปีที่แล้ว) ใน ขณะที่ผู้น้องอีกสองคนก็คือ บ่อเวียงคำ วงดาลา ก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรีที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กับ บัวสอน บุบผาวัน เป็นอย่างยิ่ง เนื่องเพราะจบการศึกษามาจากอดีตสหภาพโซเวียตด้วยกัน และทางด้าน บ่อแสงคำ วงดาลา นั้นก็เพิ่งจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคฯ กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนเพื่อเตรียมจะก้าวสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ในต้นปีหน้า

นอก จากนี้ ก็มีบุตรชายของ สะหมาน วิยะเกด ที่ยังคงเป็นกรรมการกรมการเมืองพรรคฯชุดปัจจุบันนี้ ซึ่งก็คือ นาม วิยะเกด นั้น ก็ได้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ามาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี เต็มแล้ว และด้วยการที่เขาผู้นี้ก็ยังมีบทบาทอย่างโดดเด่นในการเจรจาต่อรองเพื่อที่จะ ทำให้ลาวได้เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยแล้ว จึงทำให้เชื่อว่าทายาทของผู้นำในลาวคนนี้ก็จะได้รับตำแหน่งทางการเมืองที่สูงขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

ทั้ง นี้โดยหลักประกันอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้ทายาทของอดีตผู้นำทางการเมืองในลาว เหล่านี้สามารถที่จะครองอำนาจได้สืบไปนั้น ก็คือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งภายในพรรคฯด้วยการสร้างศรัทธาของประชาชนลาว ให้มีต่อการนำพาของพรรคฯเดียวต่อไปอย่างมั่นคง โดยสิ่งที่พรรคฯถือว่าจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงที่ทายาทของอดีตผู้นำทั้งหลาย จะต้องพิสูจน์ฝีมือให้ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนลาวทั้งชาติให้ได้นั้น ก็คือการทำให้ประชาชนลาวหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี 2015 และการนำพาประเทศลาวให้หลุดพ้นจากสภาพด้อยพัฒนาให้ได้ภายในปี 2020 ซึ่งถ้าหากสามารถทำได้จริงก็ย่อมจะหมายถึงการคงอยู่ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวต่อไปได้อีกอย่างยาวนาน!!!

ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

Leave a comment