Posts tagged ‘รัฐบาลพลัดถิ่น’

January 2, 2011

พรรคฯลาวกับการกลับมาของ “สุพานุวง”

พรรคฯลาวกับการกลับมาของ

“สุพานุวง”

Cached:  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=67222

การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 3 ของสภาแห่งชาติลาวชุดที่ 6 ที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับบรรดาสมาชิกสภาแห่ง ชาติลาวที่เข้าร่วมในการประชุมฯทั้ง 105 คน ไม่ใช่น้อยเลย เนื่องจาก บัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว ได้นำเสนอวาระพิเศษให้สมาชิกสภาฯพิจารณาและรับรองเกี่ยวกับการโยกย้าย บุคลากรในคณะรัฐบาลลาวถึง 6 ตำแหน่งโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

แต่ ถึงกระนั้น สมาชิกสภาแห่งชาติลาวส่วนใหญ่ก็ได้ลงมติรับรองตามการเสนอดังกล่าวนี้ โดยไม่มีปัญหาอย่างใดๆเกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นการนำเสนอวาระเข้าสู่การประ ชุมฯเพียงไม่ถึง 1 ชั่วโมงก่อนที่จะปิดการประชุมฯเท่านั้นก็ตาม

โดย จากการลงมติรับรองของสมาชิกสภาแห่งชาติลาวในครั้งนี้ก็ได้เป็นผลทำให้ จันสี โพสีคำ ต้องหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงินที่ครองมาเป็นระยะ เวลากว่า 5 ปีและถูกโยกย้ายไปเป็น เจ้าแขวงๆเวียงจันทน์แทน สมเพ็ด ทิบมาลา ซึ่งถูกลดสถานะลงมาครองตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ (สำหรับใน ทางการเมืองของลาวแล้วถือว่าเจ้าแขวงเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี)

ในขณะที่ สมดี ดวงดี ซึ่งอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเงินเป็น ระยะเวลาถึง 10 ปี ติดต่อกันนั้น ก็ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นมาครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการเงินอย่างเต็มตัว ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับ นางเข็มแพง พนเสนา ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี และเพิ่งจะหมดวาระจากตำแหน่งรองประ ธานของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ก็ได้ก้าวสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบงานในด้านทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ส่วน พูทอง แสงอาคม ผู้ซึ่งดูแลงานในด้านการกีฬาแห่งชาติ มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 10 ปี ก็ได้การเลื่อนชั้นขึ้นเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้นำรัฐบาลลาวจะเห็นความสำคัญในการยกระดับให้ผู้ รับผิดชอบการ กีฬานี้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีเพราะรัฐบาลลาวจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน SEA Games ครั้งที่ 25 ในปลายปี 2009 อันถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลลาวได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาระดับนานาชาตินับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 1975 เป็นต้นมานั่นเอง

แต่ ที่ถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาสามัญในทางการเมืองของลาวนั้นก็คือการลงมติใน ครั้งล่าสุดนี้ของสมาชิกสภาแห่งชาติลาวได้เป็นผลทำให้ ดวงสะหวัด สุพานุวง บุตรชายคนเล็กของ เจ้าสุพานุวง (เชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ล้านช้าง ผู้ซึ่งนำแนวลาวรักชาติในการต่อสู้เพื่อเอกราชแห่งชาติลาว) ได้ก้าวกระโดดจากตำแหน่งรองเลขาธิการประจำสำนักฯขึ้นเป็นรัฐมนตรีประจำสำนัก งานนายกรัฐมนตรี

โดย สาเหตุที่ถือว่าการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรีของ ดวงสะหวัด สุพานุวง นี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาสามัญนั้น ก็เป็นเพราะว่าสมาชิกในครอบ ครัวของ เจ้าสุพานุวง (ผู้ซึ่งเป็นประธานประเทศลาวคนแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปก ครองในปลายปี 1975) นั้นได้หลุดออกจากวงจรอำนาจทางการเมืองของลาวนับตั้งแต่ที่คำไซ สุพานุวง ได้ไปลี้ภัยทางการเมืองที่นิวซีแลนด์ในปี 2000 เป็นต้นมาแล้ว

ทั้ง นี้โดยสาเหตุที่ คำไซ ต้องไปลี้ภัยอยู่ที่นิวซีแลนด์นั้นยังคงไม่มีความชัดเจนจน เท่าทุกวัน เพราะในระยะแรกๆที่มีกระแสข่าวดังกล่าวนี้ออกมาสู่การรับรู้ในวงกว้างทาง การลาวก็บอกว่าเป็นเพียงการไปทัศนศึกษาและรักษาสุขภาพในต่างประเทศเท่านั้น

แต่ ครั้นเมื่อรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ประกาศว่า คำไซ ได้ขอลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในนิวซีแลนด์จริงๆ ทางการลาว จึงได้ออกมาให้การชี้แจงว่า คำไซ ได้หลบหนีจากการที่จะ ต้องถูกลงโทษในฐานความผิดอันเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง เพราะในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงินนั้นเงินได้หาย ไปจากคลังของรัฐบาลลาวในมูลค่ามากถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่าง ไรก็ตาม รัฐบาลลาวก็หาได้ติดต่อขอให้รัฐบาลนิวซีแลนด์ส่งตัว คำไซ กลับ มาดำเนินคดีในลาวแต่อย่างใดไม่ ตรงกันข้ามกระแสข่าวในอีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วง เวลานั้นก็คือ ครอบครัวสุพานุวง ไม่พอใจที่พรรคประชาชนปฏิวัติและรัฐบาลลาวมิได้ให้ ความสำคัญต่อการโฆษณาเพื่อยกย่อง-สรรเสริญคุณงามความดีของ เจ้าสุพานุวง ผู้ซึ่งเป็นวีรบุรุษแห่งชาติเลย

หากแต่พรรคฯและรัฐบาลลาว กลับได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการโฆษณาเพื่อยกย่อง-สรรเสริญ เฉพาะ ไกสอน พมวิหาน (อดีตผู้นำสูงสุดของลาว) แต่เพียงผู้เดียวเท่า นั้น ทั้งๆที่ผู้ซึ่งมีบทบาทนำในการต่อสู้เพื่อเอกราชแห่งชาติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า กัน ทั้งยังมีบทบาทนำในการต่อสู้มาก่อน ไกสอน ด้วยนั้นก็คือ เจ้าสุพานุวง นั่นเอง

การโฆษณา-เผยแพร่เพื่อยกย่อง-สรรเสริญคุณงามความดีของ ไกสอน ในฐานะวีรบุรุษแห่งชาติได้เริ่มขึ้นในโอกาสการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครบรอบ 20 ปีในปี 1995 หรือหลังจากที่ ไกสอน ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งทาง การลาวได้ใช้งบประมาณไปเป็นอย่างมากเพื่อก่อสร้างหอพิพิธภัณฑ์ ไกสอน พมวิหาน ขึ้นในนครเวียงจันทน์ พร้อมด้วยการจัดสร้างรูปหล่อครึ่งตัวของ ไกสอน ไปตั้งไว้ในทุกๆแขวงและทุกๆเมืองในทั่วประเทศลาว

ในขณะที่การยกย่อง-สรรเสริญ คุณงามความดีของ เจ้าสุพานุวง นั้นเพิ่งจะจัดให้มีขึ้นอย่างเป็นทางการในปีที่แล้วหรือหลังจากที่ เจ้าสุพานุวง ได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 10 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามของครอบครัวสุพานุวง ในอันที่จะเชิดชูคุณงามความดีของ เจ้าสุพานุวง ด้วยการจัดทำเป็นเทปเพลงเพื่อเผยแพร่ไปสู่ประชาชนลาวในวงกว้างเนื่องในโอกาส การสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครบรอบ 25 ปีในปี 2000 ยังถูกยับยั้งจากศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พรรคฯก็ได้ใช้เวลาในการพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่เกิดจากการที่ได้กระทำต่อครอบครัวสุพานุวง อย่างละเอียดถี่ถ้วนถึง 5 ปี เต็มก่อนที่จะได้ข้อสรุป ว่าการเชิดชูวีรกรรมของ เจ้าสุพานุวง นั้นน่าจะเป็นผลดีต่อพรรคฯมากกว่าผลเสีย ถึงแม้ ว่า เจ้าสุพานุวง จะเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ล้านช้างก็ตาม

เพราะ ฉะนั้น การเชิดชูคุณงามความดีของ เจ้าสุพานุวง โดยการรณรงค์ของศูนย์กลางพรรคฯลาว จึงได้จัดให้มีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี 2005 ทั้งยังได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่หลวงพระบาง โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยสุพานุวง อีกด้วย

ฉะนั้น การให้ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกฯแก่ ดวงสะหวัด ในครั้งนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนคุณงามความดีของ เจ้าสุพานุวง เช่นเดียวกับบรรดาผู้นำพรรคฯลาวที่ชราภาพทั้งหลายได้ตอบแทนคุณงามความดีของ พวกตนด้วยการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองในลาวไปสู่รุ่นลูก-รุ่นหลานของพวกตนมากขึ้นทุกขณะ

ดังจะเห็นได้จาก คำไต สีพันดอน ผู้ที่เพิ่งจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานประเทศและประธานพรรคฯลาว เมื่อต้นปี 2006 ด้วย การสนับสนุนให้ บัวสอน บุบผาวัน (เลขาฯส่วนตัว) ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยการผลักดันให้ สอนไซ สีพันดอน ผู้เป็นลูกชายก้าวกระโดดขึ้นเป็นเจ้าแขวงจำปาสัก (ทั้งๆที่เป็นรองเจ้าแขวงฯยังไม่ถึงปี)

ใน ขณะที่ สะหมาน วิยะเกด ผู้มีฐานะตำแหน่งรองจาก คำไต นั้นก็ได้ผลักดันให้บุตรชายอย่าง นาม วิยะเกด เข้าสู่การเป็นกรรมการบริหารงานศูนย์กลางพรรคฯและได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้เป็นผลสำเร็จ

ส่วน ไซสมพอน พมวิหาน บุตรชายของ ไกสอน นั้นถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งในคณะรัฐบาลลาวชุดปัจจุบันนี้ แต่การที่เป็นกรรมการบริหารงานศูนย์กลางพรรคฯลาวในอันดับต้น ทั้งยังควบตำแหน่งรองประธานสภาแห่งชาติและประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศของ สภาแห่งชาติด้วยแล้วก็นับว่ายังมีอนาคตในทางการเมืองลาวอีกไกล

ทั้ง นี้ยังไม่นับรวมไปถึงหลานๆ ของ พูมี วงวิจิด (รักษาการประธานประเทศลาว) อย่าง ศ.ดร.บ่อสายคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ หรือแม้แต่ผู้น้องอย่าง ศ.ดร.บ่อแสงคำ วงดาลา ซึ่งแม้ว่าจะถูกลดตำแหน่งจากรักษาการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงมาเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมใน คณะรัฐบาลชุดนี้ก็ตาม

แต่ ลูกหลานของบรรดาผู้นำพรรคฯทั้งที่ชราภาพและที่เสียชีวิตไปแล้วเหล่านี้ต่าง ก็คือกลุ่มบุคคลที่สำคัญของพรรคฯลาวที่จะสืบทอดอำนาจต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ นั่นเอง!!!

ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

โดย Supala

Related:

============================

pakxe.com

Cached:  http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=897

พระราชประวัติ : เป็นโอรสของมหาอุปราชบุนคง (พ.ศ 2400 – พ.ศ 2463) กับหม่อมคำอ้วน เป็นน้องชายต่างมารดากับเจ้าเพ็ดชะราด

ประสูติ : หลวงพระบาง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ 2452

สวรรคต : 9 มกราคม พ.ศ 2538 รวมอายุได้ 86 ปี

ประวัติการศึกษา :
วัยเยาว์ ได้ศึกษาที่หลวงพระบาง และวิทยาลัยที่ฮานอย จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ 2480 และได้รับประกาศนียบัตรวิศวกร ซึ่งเป็นวิศวกรรุ่นแรกของลาว ภายหลังกลับประเทศลาว เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับราชการ ในแผนกโยธาธิการ และได้ปฏิบัติงานหลายแห่งทั้งในลาว เวียดนาม และเขมร

การเข้าสู่เส้นทางการเมือง :

ในต้นทศวรรษ 2483 เจ้าสุภานุวงศ์ได้มีส่วนร่วม ในขบวนการรักชาติและการปฏิวัติในเดือนสิงหาคม พ.ศ 2488 เป็นผลสำเร็จ เวียดนามได้ประกาศเอกราชเจ้าสุภานุวงศ์ ได้รับเชิญมาที่ฮานอย เพื่อพบปะกับโฮจิมินห์ ประธานรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม การพบปะครั้งนั้นได้สร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งที่สุด ในชีวิตการเคลื่อนไหวปฏิวัติของเจ้าสุภานุวงศ์

ในเดือนตุลาคม พ.ศ 2488 เจ้าสุภานุวงศ์ได้เดินทางกลับตามเส้นทางหมายเลข 9 มาที่สะหวันนะเขตและท่าแขก เพื่อจัดตั้งกองกำลังต่อสู้เพื่อเอกราช และในวันที่ 12 ของเดือนเดียวกัน ประกาศตั้งรัฐบาลลาวอิสระ ที่เวียงจันทน์ โดยมีพระยาคำม้าว เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ของกองกำลังประกอบอาวุธอิสระ นับตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ 2488 เป็นต้นมา

ต้นปี พ.ศ 2488 กองทหารฝรั่งเศสได้เปิดการเคลื่อนทัพ เพื่อยึดครองท่าแขกคืนจากลาวอิสระ มีผลทำให้กองทหารผสมของลาว – เวียดนาม ภายใต้บังคับบัญชาของเจ้าสุภานุวงศ์ถูกโจมตีอย่างหนัก ในครั้งนี้เจ้าสุภานุวงศ์ได้ข้ามแม่น้ำโขงมาที่ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2489 และมาสมทบกับเจ้าเพ็ดชะราช เพื่อกอบกู้เอกราชที่กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2489 เจ้าเพ็ดชะราชได้รับเชิญเป็นประมุข ให้กับขบวนการลาวอิสระพลัดถิ่นหรือคณะกู้ชาตินั้น เจ้าสุภานุวงศ์เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เดือนตุลาคม 2492 รัฐบาลไทยซึ่งมีจอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ดำเนินนโยบายใหม่ ไม่สนับสนุนคณะกู้ชาติลาวพลัดถิ่นอีก จึงบีบบังคับให้คณะกู้ชาติ ออกจากแผ่นดินไทย คณะรัฐบาลลาวอิสระได้มีการตกลงกับฝรั่งเศสกลับคืนลาว โดยพระยาคำม้าว ได้ประกาศยุบรัฐบาลพลัดถิ่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2492 มีผลทำให้เจ้าสุภานุวงศ์ ได้แยกตัวเองออกจากลุ่มดังกล่าว เนื่องจากเจ้าสุภานุวงศ์ ยังคงสืบสานเจตนารมย์ที่จะกู้ชาติต่อไป โดยเดินทางกลับลาวอย่างลับ ๆ เพื่อรวบรวมกำลังในการต่อต้านฝรั่งเศส

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ส 2495 ได้มีการประชุมใหญ่ทั่วประเทศ อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า แนวลาวอิสระ และได้จัดตั้งรัฐบาลต่อต้าน โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์ได้รับตำแหน่งเป็นประธาน กองอำนวยการกลาง (ศูนย์กลาง) แนวลาวอิสระ และเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลฝ่ายต่อต้านด้วย หลังจากนั้นเจ้าสุภานุวงศ์ก็มีบทบทบาทเรื่อยมา ดังเห็นได้จากการลงนามที่เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ2499 เรื่องแถลงการณ์ร่วมคณะผู้แทนรัฐบาลพระราชอาณาจักร และคณะผู้แทนบรรดากองกำลังประเทศลาว ซึ่งคณะผู้แทนบรรดากองกำลังปะเทศลาวนั้น มีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นหัวหน้าคณะลงนาม ส่วนคณะผู้แทนรัฐบาลพระราชาอาณาจักรนั้น มี เจ้าสุวรรณภูมาเป็นผู้ลงนาม ครั้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดแรก เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีแผนผัง

ในเดือนเมษายน 2517 เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับตำแหน่ง เป็นประธานคณะมนตรีประสมการเมืองแห่งชาติและในปี พ.ศ 2518 ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานประเทศ เป็นต้น.

==================

“บัวสอน” เยือนถิ่นเก่า แนวลาวฮักชาติในเวียดนาม

Cached:  http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000132127

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กันยายน 2553 14:26 น.

ภาพ เอเอฟพีวันที่ 15 ก.ย.2553 นายกรัฐมนตรีลาวได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ จากนายกฯ เวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dng) ในการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการ ในโอกาสนี้ผู้นำลาวได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนแหล่งสำคัญของประวัติศาสตร์การ ปฏิวัติลาว ในภาคเหนือเวียดนามด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์ – นายกรัฐมนตรีลาวบัวสอน บุปผาวัน ได้ไปเยือนที่มั่นเก่าของรัฐบาลลาวฝ่ายต่อต้านเมื่อ 60 ปีก่อน ในภาคเหนือเวียดนาม การไปเยือนที่นั่นมีขึ้นระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของผู้นำลาว สัปดาห์ที่ผ่านมา

นายไกสอน พมวิหาน อดีตผู้นำสูงสุด กับ นายหนูฮัก พูมสะหวัน อดีตประธานประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ได้ร่วมกับเจ้าสุพานุวง ก่อตั้งรัฐบาลลาวฝ่ายต่อต้าน (Lao Resistance Government) ขึ้นในเดือน ส.ค.2493 ในพื้นที่ที่เป็น จ.เตวียนกวาง (Tuyen Quang) ในปัจจุบัน เพื่อจัดตั้งการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในลาวให้เสร็จสมบูรณ์

เจ้าสุพานุวง “เจ้าชายแดง” เป็นที่รู้จักของประชาคมโลกเป็นครั้งแรกในเหตุการณ์นี้

ภาพถ่ายจากภาพประวัติศาสตร์โดยผู้ที่ใช้นามว่า ThanouxayG ใน Flickr.com เจ้าสุพานุวง (กลาง) ถ่ายภาพร่วมกับผู้ที่เข้าร่วมประชุมแนวลาวฮักชาติครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ระบุสถานที่ แต่การประชุมครั้งแรกมีขึ้นใน เดือน ส.ค.2493 ในภาคเหนือเวียดนาม นายกฯ ลาวบัวสอน บุปผาวัน ได้ไปเยือนถิ่นเก่าของอดีตผู่นำการปฏิวัติใน จ.เตวียนกวาง (Tuyen Quang) สัปดาห์ที่แล้ว

วันที่ 16 ก.ย. นายกฯ ลาวได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากทางการ จ.เตวียนกวาง และ ได้กล่าวขอบคุณชาวจังหวัดในเขตภูเขาแห่งนี้ ที่สนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิวัติของลาวในอดีต

นายกรัฐมนตรีลาวยังไปเยี่ยมเยือนอนุสรณ์สถานที่อดีตผู้นำเคยประกาศ ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เคยปฏิบัติงานและอาศัยอยู่ที่นั่น รวมทั้งเคยใช้เป็นสถานที่จัดประชุมครั้งแรกของแนวลาวฮักชาติ ในเดือน ส.ค.2493 ด้วย

ไม่นานหลังจากนั้นกองกำลังติดอาวุธของแนวลาวฮักชาติได้แทรกซึมเข้า สู่แขวงภาคเหนือของลาว ทำการโฆษณาปลุกระดมชาวลาวให้ลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยและประกาศเอกราชจากเจ้า อาณานิคมที่ครอบงำรัฐบาลราชอาณาจักรลาวในเวียงจันทน์

ด้วยการสนับสนุนของกองกำลังฝ่ายเวียดมินห์ (เวียดนามเหนือ) สงครามปลดแอกจากเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในแขวงหัว พันและผ้งสาลี ปรากฏการณ์นี้ทำให้ฝรั่งเศสจัดตั้งศูนย์กลางการป้องกันขึ้นที่เดียนเบียนฟู ซึ่งได้นำไปสู่ “สงครามครั้งสุดท้าย”

ฝรั่งเศสยอมแพ้ในต้นเดือน พ.ค.ปี 2497 นำไปสู่การเซ็นสัญญาในนครเจนีวา ซึ่งทำให้สงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม อนุภูมิภาคนี้ยังไม่สงบ สงครามครั้งใหม่ที่ใหญ่กว่าและโหดร้ายยิ่งกว่ากำลังคืบคลานเข้ามาอีกครั้ง หนึ่ง ทั้งในลาวและในเวียดนาม และดำเนินต่อมาจนถึงปี 2518

แนวลาวฮักชาติ แนวลาวอิสระ ในอดีตได้พัฒนาเติบใหญ่ขึ้นเป็นขบวนการปะเทดลาว และ พรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปัจจุบัน

ภาพถ่ายจากภาพประวัติศาสตร์โดยผู้ที่ใช้นามว่า ThanouxayG ใน Flickr.com เจ้าสุพานุวง (3 จากซ้ายมือ) ถ่ายภาพรว่มกับผู้ร่วมก่อตั้งแนวลาวฮักชาติ ซึ่งรวมทั้งนายไฟด่าง ลอเบลียเยา (2 จากซ้ายมือ) กับ นายสีทน กมมะดำ (3 จากขวามือ) ด้วย

===================

Ga Nha Trang-1 vài điều chưa biết 🙂


Cached:  http://nhatrangclub.com/&4rum/showthread.php?t=12447

“Năm cháu lưu truyền có sướng không – Bốn rồng một phụng gắn thêm bông – Hoàng gia thơm nức Kỳ Nam Việt – Tài đức lẫy lừng cõi Á Đông”. Đó là những vần thơ do ông Nguyễn Văn Sung, Chủ sự Bưu điện Khánh Hoà làm tặng vợ chồng con gái ông khi đứa con thứ 5 và là con gái đầu tiên của họ chào đời.
anh cuoi ba Ky Nam

Ảnh cưới của Hoàng thân Souphanouvong và bà Kỳ Nam

Tháng 6/1937, Hoàng thân Souphanouvong tốt nghiệp trường Quốc gia Cầu đường Paris. Theo lẽ thường, Hoàng thân sẽ trở về Lào. Nhưng khi đó, tại Lào chỉ có một tuyến đường lớn và hầu như không có cầu là đường Viêng Chăn – Luang Prabang, nên ông được bổ nhiệm về Sở Công chính Trung kỳ tại Nha Trang (Travaux Publics). Sáng 13/7/1937, đúng sinh nhật lần thứ 28 của Hoàng thân Souphanouvong, ông đáp tàu hoả từ Sài Gòn ra tới Nha Trang.

Ga Nha Trang được khánh thành ngày 2/9/1936, trước ga có một vườn hoa rộng, hai bên vườn hoa là hai khách sạn – hai toà nhà giống hệt nhau về vẻ ngoài và cùng kiểu dáng kiến trúc, cùng màu sắc với nhà ga. Với sự hài hoà, khoáng đạt, độc đáo của cảnh quan kiến trúc, ga Nha Trang từng được coi là ga đẹp thứ nhì Đông Dương, chỉ sau ga Đà Lạt. Đứng ở sân ga nhìn hai khách sạn giống nhau, Hoàng thân Souphanouvong phân vân chọn nơi tạm trú. Khách sạn ở phía Tây của Hoa kiều A Tỷ có tên Terminus, theo tiếng Pháp nghĩa là Cuối Cùng. Khách sạn ở phía Đông của ông Nguyễn Văn Sung mang tên Bon Air – Không Khí Trong Lành. Hoàng thân đã chọn khách sạn ở phía của bình minh, chọn Không Khí Trong Lành. Một lựa chọn định mệnh, không chỉ với riêng ông.

Bon Air Hotel

Ông Nguyễn Văn Sung có con gái đầu sinh ngày 21/12/1921 tên là Nguyễn Thị Kỳ Nam, theo tên thứ sản vật quý của Khánh Hoà. 17 tuổi, cô Kỳ Nam có vóc dáng cân đối, nước da trắng, mái tóc đen óng ả, giao tiếp hoạt bát tự nhiên theo phong cách “Tây”. Tháng 7/1937, cô học sinh trường nữ học Đồng Khánh (Huế) đang được nghỉ hè, phụ giúp cha mẹ ở quầy tiếp tân Bon Air Hotel. Trai tài gặp gái sắc, tình cảm giữa Hoàng thân xứ Triệu Voi và hoa khôi xứ trầm hương nảy nở rất nhanh. Ngày 19/1/1938, tiệc cưới của Hoàng thân Souphanouvong và cô Kỳ Nam được tổ chức tại Grand Hotel (nay là Nhà khách 44 Trần Phú, Nha Trang).

Sau ba năm làm Trưởng phòng Kỹ thuật tại Travaux Publics (nay là Bảo tàng Khánh Hoà, 16 Trần Phú), Hoàng thân Souphanouvong được thuyên chuyển sang Mường Phìn (giữa Đông Hà và thị xã Savannakhet, Lào), rồi về Vinh. Ông đã tham gia thiết kế và phụ trách thi công nhiều công trình như đập Bái Thượng (Thanh Hoá), đập Đô Lương, cầu Yên Xuân (Nghệ An), tháp nước bên sông Cà Ty, nay là biểu tượng của thành phố Phan Thiết… Lấy chồng, bà Kỳ Nam mang tên Lào là Viêng Khăm (Vienkham, theo tiếng Lào có nghĩa là Thành Vàng, tên cũ của thủ đô Viêng Chăn). Ông bà có tám con trai, hai con gái.

Cách mạng tháng Tám thành công, Chủ tịch Hồ Chí Minh mời Hoàng thân Souphanouvong ra Hà Nội bàn việc bảo vệ nền độc lập non trẻ của Việt Nam và Lào. Tháng 10/1945, Hoàng thân trở về Lào tham gia lãnh đạo cuộc đấu tranh vì độc lập, tự do của đất nước. Ông được cả thế giới biết đến với danh hiệu “Ông Hoàng Đỏ”. Cho tới khi Hoàng thân mất ngày 9/1/1995, bà Viêng Khăm đã gắn bó với ông gần 60 năm, trong đó có 30 năm kháng chiến gian khổ. Bà mất ngày 1/9/2006.

Bà Viêng Khăm và các con thăm Bác Hồ năm 1960

Năm 1978, Hoàng thân Souphanouvong – khi đó là Chủ tịch Cộng hoà Dân chủ Nhân dân Lào và bà Viêng Khăm đưa con cháu về thăm Nha Trang. Sau chuyến về quê nhà, bà Viêng Khăm mời gia đình người em ruột là bà Nguyễn Thị Ba Hường sang thăm Lào. Ở Viêng Chăn, bà Viêng Khăm cùng Hoàng thân Souphanouvong và bà Ba Hường bàn việc tặng toà nhà Bon Air Hotel cho tỉnh Phú Khánh… Trân trọng người góp phần quan trọng vun đắp mối quan hệ thân thiết Lào – Việt, nhiều cán bộ lão thành của tỉnh Khánh Hoà đã đề nghị gắn biển ghi nhớ Hoàng thân Souphanouvong ở Bảo tàng Khánh Hoà, đặt tên Souphanouvong cho đường Thái Nguyên, nơi có Bon Air Hotel. Tuy nhiên…

Sau khi được tặng toà nhà Bon Air Hotel, UBND tỉnh Phú Khánh (nay là tỉnh Khánh Hoà) giao nó cho một Công ty du lịch. Cty này sử dụng toà nhà làm cửa hàng ăn uống, mang số nhà 26 Thái Nguyên. Sau những dích dắc của cổ phần hoá doanh nghiệp, vài năm trước đây toà nhà này thuộc quyền sử dụng của Cty cổ phần Thành Công, có quan hệ mật thiết với bà T.H. – người phụ nữ được coi là nhiều thế lực nhất ở Khánh Hoà. Cuối tháng 3/2008, công ty này đã cho phá dỡ toà nhà 26 Thái Nguyên để lấy mặt bằng xây cao ốc văn phòng. Bon Air Hotel bị san phẳng, trong khi Trung tâm Quản lý di tích danh lam thắng cảnh Khánh Hoà và Bảo tàng Khánh Hoà không lưu giữ tư liệu nào về toà nhà này. Đề nghị về việc gắn biển ghi nhớ Hoàng thân Souphanouvong ở Bảo tàng Khánh Hoà cũng bị lãng quên, dù về cơ bản toà nhà Bảo tàng Khánh Hoà vẫn như Travaux Publics cách đây 70 năm!

Hoàng thân - chủ tịch Souphanouvong và bà Viêng Khăm năm 1976

Nhà ga Nha Trang xưa vẫn còn đến ngày nay, phía trước được gắn tấm biển Di tích lịch sử nhắc nhớ ngày Nha Trang đứng lên chống thực dân Pháp trở lại xâm lược, 23 tháng 10 năm 1945. Vườn hoa trước ga nay là công viên Võ Văn Ký, mang tên người chỉ huy trận đánh quân Pháp ở ga Nha Trang đêm 23/10/1945 và hy sinh anh dũng tại đây. Terminus Hotel được Phòng CSGT, Công an Khánh Hoà sử dụng làm trụ sở, vẫn được giữ vẻ ngoài như xưa. Nếu Bon Air Hotel, nơi nảy nở mối lương duyên Hoàng gia thơm nức Kỳ Nam Việt cũng được bảo tồn và gắn biển di tích, khu vực ga Nha Trang sẽ vừa là một di tích lịch sử, vừa là một nơi ghi nhớ danh nhân. Việc rất nên làm đối với một thành phố du lịch, nhưng người ta đã không làm. Mới đây một Phó Chủ tịch UBND tỉnh Khánh Hoà nói, ông không biết toà nhà 26 Thái Nguyên có liên quan sâu sắc đến Hoàng thân Souphanouvong. Ông nói thêm, nếu nhà đã được tặng thì phía nhận tặng có toàn quyền định đoạt! ga Nha Trang

Khu vực ga Nha trang hiện nay. Sưu Tầm

Gấu mẹ vĩ đại

This slideshow requires JavaScript.

 

Warning! The following article is from The Great Soviet Encyclopedia (1979). It might be outdated or ideologically biased.

Tiao Souphanouvong

Born July 13, 1909, in Luang Prabang. Laotian political figure. Prince.  —died Jan. 9, 1995, Laos) Leader of the revolutionary Pathet Lao movement and president of Laos (1975–86). Half brother of Souvanna Phouma, Souphanouvong was trained in civil engineering and built bridges and roads in Vietnam (1938–45). He fought the return of French colonial rule to Laos after World War II and broke with the Free Laos government-in-exile to ally himself with the Viet Minh, founding the communist-oriented Pathet Lao, which came to power in 1974–75.

Souphanouvong was educated in France as a civil engineer. He was active in the anticolonial Lao Issara (Free Laos) movement. From 1945 to 1949 he commanded the Lao Issara national army. In 1950 he headed the Free Lao Front (Neo Lao Issara), and in 1956 he became head of the Patriotic Front of Laos (Neo Lao Hak Sat). Souphanouvong was a member of two coalition governments formed by Souvanna Phouma, the first in 1957, lasting until the end of 1958, and the second in 1962. In the government of national unity established by the second coalition (which fell apart in 1963–64), Souphanouvong held the posts of deputy prime minister and minister of economy and planning. He played an important role in the Vientiane Agreement on Laos, signed on Feb. 21,1973, and the protocol to the agreement, signed on Sept. 14,1973. From April 1974 to December 1975 he headed the Joint National Political Council. In December 1975 he became president of the People’s Democratic Republic of Laos and chairman of the Supreme People’s Council. Souphanouvong made several official visits to the USSR.

The Great Soviet Encyclopedia, 3rd Edition (1970-1979). © 2010 The Gale Group, Inc. All rights reserved.

———

LAOS: Perilous Course’

Cached:  http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,825338,00.html

Monday, Dec. 02, 1957

LAOS ‘Perilous Course’ Ever since they set about to reunite their country in the wake of the Geneva Conference three years ago, the royal government of Laos and its Communist-led rebels in the northeastern provinces of Samneua and Phongsaly had been conducting on-again-off-again negotiations (and on-again-off-again war) that nobody seemed to take very seriously. After all, the Premier, Prince Souvanna Phouma, is the half-brother of Communist Boss Prince Souphanouvong, and many of the handful of educated Laotians who make up the government insisted that the whole thing was just a family affair. Last week the family affair was settled. Sarong-clad Laotians from villages and the deep bush along the Mekong streamed into the capital of Vientiane. They had cheers for Souvanna Phouma, cheers for Souphanouvong, and smiles for everyone.

Souvanna Phouma gave the Communists two seats in the Cabinet, and in return Souphanouvong agreed to integrate 1,500 of his 6,000-odd Communist troops into the royal army. The rest of the Pathet Lao army would be placed in “reserve status,” and permitted to return to their native villages, there to create what unrest they could.

In Washington, State Department Spokesman Lincoln White declared Laos had embarked on “a perilous course.” But another veteran U.S. diplomat added: “Don’t write Laos off to the Communists yet. There’ll be time enough to do that when it happens. After all, this is not the first time in history that a country has admitted Communists to its government and still survived.”

But the unfortunate truth was that Premier Souvanna Phouma had already placed his Communist half-brother in control of the Ministries of Planning and of Reconstruction and Urbanization. In these posts he will direct how and where a large part of the U.S.’s aid money (some $43 million this year) will be spent. Ironically, the other Cabinet post assigned to the Pathet Lao Communists was the Ministry of Religion and Fine Arts.

Immediately after the reunification ceremonies, Communist Souphanouvong announced that he had lost a list of Red officials and army personnel that he was supposed to turn over to his halfbrother. He said he would go back to Samneua and Phongsaly to see if he could get another. The rest of Laos’ ministers, all now technically royal and loyal, went nightclubbing. Communist broadcasters in Hanoi, Peking and Moscow were jubilant. “The agreement,” said Radio Hanoi, “would serve as a model for the reunification of North and South Viet Nam.”

Read more: http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,825338,00.html#ixzz19uyoa24o