Archive for ‘Laos Approved Dam Project’

November 1, 2014

World Bank trains Laos hydropower operator in environmental, social management

 

10/29/2014

Click on the link to get more news and video from original source: http://www.hydroworld.com/articles/2014/10/bank-trains-laos-hydropower-operator-in-environmental-social-management.html

Laos Map

The World Bank’s International Finance Corp. (IFC) is helping train Laos’ largest hydropower operator, EDL-Generation Public Co., to improve its management of environmental and social risks.

IFC and EDL-GEN conducted five days of training in October for 25 professionals from the company and from its major shareholder, Electricite du Laos (EDL). Participants were trained in the business case for sustainability and in IFC’s Performance Standards, a benchmark of environmental and social standards guiding companies on how to mitigate risks and do business sustainably.

EDL-GEN was established in 2010 as the first public company in Laos. It has seven hydropower projects under way in Laos, representing 387 MW. It sells the majority of its power to EDL, its state-owned parent company.

EDL-GEN has invested in four independent power producers in Laos, including a 60 percent stake in the 500-MW Theun Hinboun hydropower complex (including the expanded 440-MW Theun Hinboun project and the adjoining 60-MW Nam Gnouang project, a 25 percent stake in the 615-MW Nam Ngum 2 project, and the 100-MW Nam Lik 1 and 2 project.

EDL-GEN plans to expand its business by taking over EDL hydroelectric projects including 88-MW Huay (or Houay) Lamphan Yai, 130-MW Nam Khan 2, 95-MW Nam Khan 3, and 15-MW Nam Sana.

IFC’s training also provided the participants an opportunity to apply what they learned in practical field exercises at hydropower sites around Vientiane Province. For example, they created a checklist to determine whether a project complied with IFC’s Performance Standards.

“We are planning to develop a larger environmental and social team that will support the sustainable construction of hydropower plants and provide support to communities surrounding project sites,” Director Souksanh Phongphila of EDL-GEN’s Corporate Support and Administration Department said.

IFC last year recruited consultants to serve as stakeholder engagement/communications specialist for the hydropower and forestry sectors in Laos. It also announced it plans to work with the Laotian government in developing draft laws that would help govern hydroelectric development.

October 2, 2014

สร้างแน่ๆ เขื่อน 1,400 MW กั้นน้ำโขงที่หลวงพระบาง ใหญ่กว่าเขื่อนไซยะบูลี

สร้างแน่ๆ เขื่อน 1,400 MW กั้นน้ำโขงที่หลวงพระบาง ใหญ่กว่าเขื่อนไซยะบูลี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  |  3 ตุลาคม 2557 04:19 น.

Click on the link to get more news and video from original source:  http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000113682

สร้างแน่ๆ เขื่อน 1,400 MW กั้่นน้ำโขงที่หลวงพระบาง ใหญ่กว่าเขื่อนไซยะบูลีอีก

แผนที่ทำขึ้นจากแผนที่ของ องค์การ TERRA แสดงที่ตั้งเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า ที่จะสร้างกั้นลำน้ำโขงทั้งสาย ตั้งแต่เขื่อนปากแบง ที่อยู่เหนือสุดในแขวงอุดมไซ ลงไปจนถึงเขื่อนบ้านลาดเสือ ในแขวงจำปาสักทางใต้สุด ทั้งนี้ไม่นับรวมกับเขื่่อนดอนสะโฮง ที่สร้างกั้น “ฮูสะโฮง” ทางน้ำไหลขนาดใหญ่ในระบบแม่น้ำโขงทางตอนใต้สุดของลาว โครงการเขื่อนหลวงพระบางเงียบหายไป 7 ปี กลับมาโผล่เป็นข่าวอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ — รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับเศรษฐกิจและการลงทุนของเวียดนาม ได้บอกกับฝ่ายลาวว่า ผู้ลงทุนจากเวียดนาม จะดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในแขวง หลวงพระบางอย่างแน่นอน ถ้าหากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เห็นว่าไม่ส่งประทบต่อสภาพแวดล้อมมากมาย และได้ขอให้ลาวช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ เช่นเดียวกันกับโครงการลงทุนอื่นๆ ของนักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้อีกด้วย

นายหวูวันนีง (VU Van Ninh) รองนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม กล่าวถึงเรื่องนี้ระหว่างพบหารือกับนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับและชี้นำด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของลาวที่ไปเยือน สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อของทางการรายงาน ซึ่งนับเป็นข่าวคราวชิ้นแรกเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนใหญ่ หลังจากเงียบหายไปนานถึง 7 ปี นับตั้งแต่มีการเซ็นบันทึกช่วยจำเพื่อสำรวจศึกษาโครงการ

นายวันนีงบอกกับรองนายกฯ ลาวว่า รัฐบาลเวียดนามได้ชี้นำให้ กลุ่มปิโตรเวียเดนาม รัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซแห่งชาติ ให้เข้าลงทุ่นในโครงการนี้ เช่นเดียวกันการลงทุนก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกหลายแห่งในภาคใต้ ของลาว หนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา ของสมาคมนักข่าวแห่งขาติรายงาน

“ท่านได้เน้นหนักว่า รัฐบาลเวียดนามได้ชี้นำกลุ่มบริษัทดังกล่าว ให้สืบต่อลงทุนโครงการนี้ ดังที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับรัฐบาลลาว ถ้าหากว่าผลการศึกษา ตีราคา ขององค์การแม่น้ำโขงเห็นว่า โครงการนี้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและแหล่งน้ำของแม่น้ำโขงไม่มาก..” สื่อของทางการรายงานในเว็บไซต์

บริษัทพลังงานปิโตรเวียดนาม (PetroVietnam Power Corporation) ได้เซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจกับรัฐบาลลาวอย่างเงียบๆ ในวันที่ 14 ต.ค.2550 หรือ เมื่อประมาณ 7 ปีก่อน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขื่อน ที่ออกแบบให้มีกำลังผลิตไฟฟ้า 1,410 เมกะวัตต์ โดยจะใช้เวลาสำรวจศึกษาภายในเวลา 30 เดือน ไปจนถึงเดือน มี.ค.2553 สื่อของทางการเวียดนามเปิดเผยเรื่องนี้สู่โลกภายนอกในเดือน ธ.ค.ปีเดียวกัน โดยระบุว่ากลุ่มปิโตรเวียดนาม อาจจะต้องใช้เงินลงทุนถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ นั่นคือมูลค่าเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ในขณะที่รัฐวิสาหกิจน้ำมันแห่งชาติ กำลังระดมทุนไปใช้ในการก่อสร้างโรงกลั่นแห่งแรกของประเทศ

ถึงแม้ระยะเวลาที่ระบุไว้ในเอ็มโอยูระหว่างสองฝายจะพ้นไปแล้วก็ตาม แต่ไม่เคยปรากฏข่าวคราวเกี่ยวกับโครงการเขื่อนหลวงพระบางผ่านสื่อของทั้งสอง ฝ่ายอีกเลย ซึ่งทำให้หลายคนเชื่อว่า ฝ่ายเวียดนามอาจจะถูกเลิกล้มไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เวียดนามได้ออกประสานเสียงกับกัมพูชา คัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบูลีขนาด 1,285 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ ที่กำลังก่อสร้าง ห่างลงไปทางใต้เกือบ 200 กม.ในแขวงไซยะบูลีขณะนี้ รวมทั้งคัดค้านเขื่อนดอนสะโฮง ที่สร้างกั้นทางน้ำไหลขนาดใหญ่ ในระบบแม่น้ำโขง ทางตอนใต้สุดของลาว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ต่อสองประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใต้ลงไป

เขื่อนหลวงพระบาง จะสร้างขึ้นทางตอนเหนือของเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง คาดว่าจะทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมตามแนวยาวของแม่น้ำ รวมประมาณ 110 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ถัดจากเขื่อนปากแบง ขนาด 921 เมกะวัตต์ ของกลุ่มนักลงทุนจากจีน ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกราว 100 กม. ในแขวงอุดมไซ สื่อของทางการไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อีก เกี่ยวกับผลการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงขนาดใหญ่ทั้งสองแห่ง สถานะของโครางการในปัจจุบัน ตลอดจนเงื่อนเวลาที่เกี่ยวข้องต่างๆ

หลายปีมานี้ นักลงทุนจากเวียดนามได้ ยังเข้าลงทุนก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีก 5 โครงการในภาคใต้ของลาว ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อผลิตไฟฟ้าส่งไปจำหน่ายในเวียดนาม กับอีกส่วนหนึ่ง ขายให้ไทยและกัมพูชา ซึ่งตามรายงานล่าสุด รองนายกรัฐมนสตรีของลาวและเวียดนาม ได้แสดงความยินดี ต่อความตกลที่สองฝ่ายจะสร้างข่ายสายส่งไฟฟ้าเชื่อมระหว่างสองประเทศด้วย.

สร้างแน่ๆ เขื่อน 1,400 MW กั้่นน้ำโขงที่หลวงพระบาง ใหญ่กว่าเขื่อนไซยะบูลีอีก

องค์การ TERRA ไปถ่ายเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน ระบุว่าเป็นจุดบนล้ำน้ำโขงทางตอนเหนือของเมืองหลวงพระบาง ที่บริษัทลูกของปิโตรเวียดนาม (PetroVietnam) จะสร้างเขื่อน 1,410 เมกะวัตต์ หลังจากเซ็น MoU สำรวจศึกษาตั้งแต่เดือน ต.ค.2550 ก่อนจะเงียบหายไปนาน ถึงแม้เวลาที่ระบุในบันทึกช่วยจำ จะผ่านไปตั้งแต่ต้นปี 2553 ก็ตาม.

 

July 16, 2014

โครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงที่ “สีพันดอน” เมืองโขง แขวงจำปาสัก

ประเทศเพื่อนบ้าน

เขื่อน”ซีพี”

By on 9 กรกฎาคม, 2014

Click on the link to get more news and video from original source:  http://transbordernews.in.th/home/?p=4770

image

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทยอยดำเนินแผนงานก่อสร้างเขื่อนทั่วประเทศทั้งหมด 5 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 92 โครงการไปเรื่อยๆ ตามเป้าหมาย “แบตเตอรี่แห่งอุษาคเนย์”

ไม่สนใจว่า เขื่อนจะทำลายล้างวิถีชีวิตคน ชุมชน และแหล่งอาหารโลกอย่างไร

จนเมื่อผมมีโอกาสไปเก็บข้อมูลวิถีชีวิตชาวประมงที่ “สีพันดอน” เมืองโขง แขวงจำปาสักอีกครั้งสัปดาห์ก่อน ตามคำชวนของโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ประเด็นสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่พรมแดน

ขากลับมีโอกาสแวะสังเกตการณ์พื้นที่ก่อสร้างหนึ่งใน 92 โครงการ ความน่าสนใจอย่างยิ่งไม่เพียงเพราะกั้นแม่น้ำโขงเท่านั้น แต่ความน่าสนใจยังอยู่ตรงชื่อเจ้าของโครงการคือ “บริษัท เจริญเอ็นเนอร์ยี แอนด์ วอเทอร์ เอเชีย จำกัด” หนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)

ถือเป็นครั้งแรกที่ซีพีหันมาเอาดีทางธุรกิจพลังงาน หลังจากเข้าไปทำธุรกิจและอุตสาหกรรมการเกษตรในลาวมานานเกิน 20 ปี

ไม่กี่สัปดาห์ก่อน เจ้าหน้าที่บริษัทยกทีมลงพื้นที่หมู่บ้าน 4 แห่งบริเวณหัวงานสร้างเขื่อน พูดแบบสุภาพคือเก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในข้อดี และประโยชน์โครงการ

พูดอย่างหยาบคายคือ เป็นหนึ่งในแผนเตรียมการอพยพ 4 หมู่บ้าน ราว 1,000 หลังคาเรือนออกไปอยู่พื้นที่อื่น

เขื่อนแห่งนี้ชื่อ “เขื่อนภูงอย” (Phou Ngoy) มีกำลังผลิตไฟฟ้า 651 เมกะวัตต์ สร้างกั้นลำน้ำโขงที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก จัดอยู่ในกลุ่มลงนามสัญญาข้อตกลงเพื่อการพัฒนาโครงการ (Project Development Agreement) แล้วเมื่อปี 2553 ลาวให้เวลาศึกษาความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ วิชาการ สิ่งแวดล้อม และสังคมจนถึงปี 2561

ย้อนกลับไปปี 2551 ชัชวาล เจียรวนนท์ ประธานบริษัท เจริญเอ็นเนอร์ยีฯ กับทองมี พมวิไซ รมช.กระทรวงแผนการและการลงทุนของลาว ร่วมเซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจโครงการเขื่อนแห่งหนึ่งที่นคร เวียงจันทน์

ในบันทึกดังกล่าว รัฐบาลลาวอนุญาตให้เครือซีพีสำรวจและศึกษาโครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงที่จุด บ้านลาดเสือ เมืองซะนะสมบูน แขวงจำปาสัก ภายในเวลา 30 เดือน หากคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนจากไทยจะได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง มีอายุสัมปทาน 30 ปี

แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ เขื่อนลาดเสือแปรเปลี่ยนมาเป็นเขื่อนภูงอย และย้ายจากเมืองซะนะสมบูนมาอยู่ปากเซ

ผมเดินขึ้นวัดภูงอย ความสูงระดับ 400 ขั้น ไปถ่ายภาพมุมสูง ดูจุดที่จะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงบริเวณดอนเลา โดยดอนเลาจะเป็นเหมือนแกนกลางเขื่อนพอดี

พูดคุยกับชาวบ้านจึงทราบว่า ทางเจ้าหน้าที่บริษัท และเจ้าหน้าที่รัฐยืนยันว่า น้ำจะไม่ท่วมบริเวณนี้แน่ แม้ส่วนใหญ่จะรับฟังด้วยดี แต่ชาวบ้านก็ไม่เชื่อ ต่างยืนยันว่าจะไม่ยอมย้ายหนีไปไหน

“แกนนำชาวบ้านบางคนถึงกับท้าว่า มีเขื่อนวันไหน จะยืนรออยู่ตีนภูงอย ถ้าน้ำไม่ท่วมตีนภู ให้เอาปืนมายิงหัวตรงนั้นเลย”

ไม่รู้ซิครับ ขายไก่ซีพี ปลาซีพี ข้าวแกงซีพีแล้ว นี่ยังจะขาย “ไฟฟ้าซีพี” อีกเหรอ

ผลิตโภคภัณฑ์ขายจนรวยเละ ภาพลักษณ์เฟี้ยวฟ้าวแล้ว อยู่ดีไม่ว่าดี จะข้ามพรมแดนไปรบกวนชาวลาวให้เสียรังวัดทำไม

ข้อยบ่เข้าไจ๊เจ้าจิงๆ
——————-
อนึ่ง ภายหลังจากงานเขียนชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทางทีมประชาสัมพันธ์ของซีพีได้โทรศัพท์แจ้งมายังผู้เขียนว่า โครงการนี้ไม่อยู่ในเครือซีพี โดยนายชัชวาลเป็นหลาน มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการซีพี

คอลัมน์ โลกนี้มีรากหญ้า มติชน 8 กค.

—————-
ประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อเท็จจริงจากสีพันดอน-ดอนสะโฮง บนทางเลือก เขื่อน vs วิถีดั้งเดิม

By on 5 กรกฎาคม, 2014

Click on the link to get more news and video from original source:  http://transbordernews.in.th/home/?p=4744
image
ความแรงของน้ำทำให้ได้ยินเสียงดังมาแต่ไกล เมื่อเดินไปถึงริมตลิ่งเห็นไอน้ำฝอยฟุ้งตามโตรกหินต่างๆ ขณะที่เรือน้อยลำหนึ่งยังสามารถแล่นฝ่าสายน้ำเชี่ยวกรากได้อย่างน่าอัศจรรย์ ใจ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นเจ้าของหลี่และทีมงาน รวมทั้งพ่อค้าที่มารับซื้อปลา กำลังนั่งคุยฆ่าเวลาเพื่อเตรียมตัวลงหลี่ในช่วงบ่ายแก่ๆ
หลี่เป็นเครื่องมือจับปลาขนาดใหญ่ที่นิยมใช้กันในเมืองโขง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ทีมงานโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารทำข่าวสืบสวนฯ พร้อมด้วยนักข่าว 4-5 คนยืนอยู่ที่บริเวณตาดโพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮู (รู)สะโฮง แขนงของแม่น้ำโขงที่แตกกระจายเป็นช่องน้ำต่างๆมากมายเมื่อ “น้ำโขง”หรือ “น้ำของ”ไหลมาถึงสีพันดอน หรือ 4,000 ดอนปลายเดือนมิถุนายน 2557 พวกเราเดินทางเข้าไปสู่เมืองโขง ภายหลังจากชาวบ้านส่งข่าวมาแจ้งว่าฤดูกาลจับปลากำลังเริ่มต้นขึ้น และกองทัพปลากำลังเคลื่อนตัวจากทางใต้สู่สีพันดอน เราจึงเร่งสำรวจฮูสะโฮงในช่วงฝนนี้ เพราะหวั่นใจว่าอีกไม่นานสภาพความอุดมสมบูรณ์ที่เห็นอยู่ในเบื้องหน้าจะกลาย เป็นเพียงอดีต เพราะรัฐบาลลาวได้ให้สัมปทานแก่นักลงทุนสัญชาติมาเลย์ในการสร้างเขื่อนปิดฮู สะโฮง ในวันที่พวกเรากำลังลงพื้นที่อยู่นั้น อีกด้านหนึ่งคณะมนตรีแม่น้ำโขงก็ได้จัดประชุม MRC Council Meeting ขึ้นที่กรุงเทพฯการประชุม 4 ประเทศสมาชิก คือลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม ได้มีวาระหารือสำคัญ คือกรณีเขื่อนดอนสะโฮง ซึ่งตั้งแต่ปลายปีที่แล้วสปป.ลาว ได้ยื่น “แจ้งล่วงหน้า” หรือ Prior Notification ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 โดยถือว่าการสร้างเขื่อนครั้งนี้เป็นอธิปไตยของตน ในขณะที่เวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งไทย ได้แสดงความไม่พอใจและต้องการให้ลาวเข้ากระบวนการ “ปรึกษาหารือล่วงหน้า” หรือ Prior Consultation เนื่องจากเห็นว่าเขื่อนแห่งนี้อาจมีผลกระทบข้ามพรมแดนไปถึงประเทศอื่นๆ และเรียกร้องให้ชะลอโครงการไป 10 ปีเพื่อศึกษาผลกระทบให้รอบคอบimage

ท่าทีจาก 3 ประเทศตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาทำให้ในครั้งนี้ทางการลาวยอมถอย 1 ก้าว อย่าไรก็ตามนายวีระพง วีระวง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาวยังยืนยันชัดเจนว่า “ด้วยความร่วมมือ รัฐบาลลาวจะเดินหน้าพัฒนาโครงการ (เขื่อนดอนสะโฮง) อย่างรับผิดชอบและยั่งยืน”

กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า มีขั้นตอนคือลาวส่งเอกสารโครงการให้แก่ MRC และประเทศสมาชิก จากนั้นแต่ละประเทศจัดเวทีหารือ ตามแต่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายของประเทศตน (กรณีเขื่อนไซยะบุรี ไทยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 3 ครั้ง แต่ชาวบ้านเห็นว่าไม่เพียงพอจนนำมาซึ่งการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับฟ้องคดีสัญญารับซื้อไฟฟ้าเมื่อปลายเดือน มิย. )

กระบวนการนี้มีกรอบเวลา 6 เดือน เท่ากับว่าการก่อสร้างยังไม่ควรเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีนี้ แต่นายฮันส์ กุตส์แมน ผู้บริหาร MRC ก็ได้ออกตัวว่าไม่มีกระบวนการให้ประเทศสมาชิก “โหวต” ไม่ให้ก่อสร้างเขื่อนน้ำโขง แม้จะเกิดประเด็นข้ามพรมแดนก็ตาม

ความคลุมเครือจากที่ประชุมMRC เป็นเช่นนี้มาโดยตลอด ขณะที่ชาวบ้านที่หากินอยู่กับปลา อยู่กับหลี่ แทบไม่เคยรับรู้ข่าวสารใดๆ และได้แต่ก้มหน้าเผชิญชะตากรรมเมื่อทางการลาวสั่งเตรียมตัวห้ามหาปลาโดยใช้ หลี่
“เขาบอกว่าปีนี้ให้ทำหลี่ได้เพราะเรายังไม่มีอาชีพอื่น แต่ผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะห้ามเด็ดขาดเมื่อไหร่ เพราะฮูอื่นๆทั้งที่ฮูช้างเผือก ฮูสะดำ เขาห้ามทำหลี่แล้ว ผมคิดว่าพอเขาสร้างสะพานเสร็จก็คงห้ามเรา” พ่อตัน (นามสมมุติ) คนหาปลาบอกถึงความกังวลใจ แกมีหลี่อยู่ 3 หลัง แต่ปีนี้น้ำท่วมไปแล้ว 2 หลังซึ่งก็ได้ปลาไปแล้วมากพอสมควร เหลืออีก 1 หลังซึ่งยังได้ปลาอยู่วันละนับร้อยกิโลกรัม
ตาดโพเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของฮูสะโฮง และชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่สร้างหลี่และลวง หากเมื่อใดสร้างเขื่อนปิดท้ายฮูสะโฮงสำเร็จ บริเวณนี้จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่ไม่เหลือร่องรอยของตาดโพและหลี่อีกต่อไป

เฉพาะที่ตาดโพมีหลี่อยู่ 20 กว่าหลัง และลวง 7 หลัง ทั้งหลี่และลวงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนสีพันดอนอันน่าทึ่ง โดยหลี่อาศัยความเชี่ยวกราดของกระแสน้ำให้เป็นประโยชน์ ซึ่งโดยธรรมชาติของปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปหากินและวางไข่โดยเฉพาะในฤดูน้ำ หลาก หลักการของหลี่คือปลาตัวใดที่ไม่สามารถต้านความแรงของน้ำได้ก็จะไหลตาม น้ำตกลงไปในหลี่ที่วางอยู่ตามฮูน้ำต่างๆ แต่ไม่ใช่ว่าทุกฮูจะสร้างหลี่ได้ ตรงนี้เป็นภูมิปัญญามาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เพราะต้องรู้ว่าฮูใดมีปลาว่ายและหากหมดแรง ปลาจะตกมาในทิศทางใด

ส่วนลวงนั้น หลักการก็เหมือนลอบดักปลาในบ้านเรา เพียงแต่สร้างเป็นกรงใหญ่สี่เหลี่ยมโดยหล่อเสาหลักให้แน่น เพื่อให้ต้านทานความแรงของสายน้ำ และขังปลาขนาดใหญ่ไว้ได้

“หลี่ของพ่อเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่รู้ว่ากี่รุ่นต่อกี่รุ่น ตั้งแต่จำความได้ก็ตามปู่ ตามพ่อ ไปหลี่แล้ว รวมๆแล้วหลี่นี่น่าจะอายุเป็นร้อยๆปี สมัยก่อนปลามากมายกว่านี้ บางปีหนักถึงขนาดหลี่แตก เพราะเราเข้าไปเก็บปลาไม่ทัน ขนาดจ้างคนช่วยกันขน ก็ยังไม่ทัน พอปลามันอัดกันมากๆแล้วโดนกระแสน้ำแรงๆ หลี่ก็แตก เราเจอเหตุการณ์แบบนี้มาหลายครั้งแล้ว บางทีต้องรีบตักปลาทิ้งอย่างไม่เสียดาย” พ่อตันเล่าถึงบรรยากาศในวันที่กองทัพปลามาถึงเมื่อครั้นอดีต
ผู้เฒ่าบอกว่าที่ผ่านมาทางการลาวได้ปิดประกาศห้ามหาปลาโดยใช้หลี่ โดยแจ้งว่าจะหาอาชีพใหม่มาทดแทน แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจน ที่สำคัญคือยังไม่มีใครพูดถึงเรื่องค่าชดเชยใดๆ “ต่อให้ใครมาซื้อสัก 200 ล้านกีบ พ่อก็ไม่ขาย เพราะหลี่หากิน หาอยู่ได้ทุกปี แค่ปีที่แล้วเพียงปีเดียว เราได้เงินจากการขายปลาคนละ 20 ล้านกีบ จากจำนวนคนทั้งหมด 7 คน พ่ออยากเก็บหลี่ไว้ให้ลูกให้หลานได้มีอยู่มีกิน เหมือนที่ปู่และพ่อยกสมบัติชิ้นนี้ให้เรา”
แต่ดูเหมือนความต้องการของพ่อตันกับความเป็นจริงจะสวนทางกัน เพราะขณะนี้บริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างเขื่อนกั้นฮูสะโฮงได้เริ่มสร้าง สะพานจากแผ่นดินใหญ่บริเวณเวินคามมาสู่ดอนสะดำซึ่งอยู่ติดกับฮูสะโฮง เพื่อขนเครื่องมือและอุปกรณ์หนักเข้ามาใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ แต่เขื่อนดอนสะโฮง มีกำลังผลิตติดตั้งเพียง 260 เมกกะวัตต์ เทียบได้เป็น 2 เท่าของเขื่อนปากมูลเท่านั้น

“หากเขามาสร้างเขื่อนจริงๆ เราจะไปทำอะไรได้ รัฐบาลว่าอย่างไร เราก็ต้องทำตามนั้น” น้ำเสียงของพ่อเฒ่าดูเหมือนปลงตกและยอมจำนนต่อโชคชะตา เช่นเดียวกับคนเล็กคนน้อยทั่วไปในลาว สุดท้ายเมื่อทางการอ้างถึง“ประโยชน์ส่วนรวม” ก็ยากที่จะตั้งคำถามอื่นใด

เย็นย่ำแล้ว ชาวบ้านบางส่วนกำลังช่วยกันต้อนปลาอยู่ในลวงพร้อมกับมีเสียเฮเล็กๆทุกครั้ง เมื่อได้ปลาเพี้ยขนาด 2-3 กิโลกรัม ขณะที่อีกหลายคนช่วยกันหอบหิ้วปลาขนาดใหญ่ที่ได้จากหลี่ขึ้นมาขายพ่อค้าคน กลาง ส่วนปลาเล็กแบ่งกันเป็นกองๆ เพื่อเอากลับไปทำกินที่บ้าน

แม้ปีนี้จะได้ปลาไม่เยอะเหมือนปีก่อน แต่พวกเขายังหวังว่าในปีต่อๆไปจะยังมีโอกาสหาปลาที่ตาดโพเช่นเดิม เหมือนกับวิถีที่เคยเป็นมานับร้อยๆปี

เรื่อง และภาพโดย โลมาอิรวดี

————-

ประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อเท็จจริงจากสีพันดอน-ดอนสะโฮง บนทางเลือก เขื่อน VS วิถีดั้งเดิม (จบ)

By on 11 กรกฎาคม, 2014

Click on the link to get more news and video from original source:  http://transbordernews.in.th/home/?p=4785

image

เรือน้อย 4 ลำวิ่งลัดเลาะยอดลำแซงที่โผล่พ้นน้ำมาแค่ยอดไม้ ซึ่งเมื่อไม่กี่วันก่อนบริเวณนี้ยังคงเป็นป่าดอนริมน้ำโขง แต่พอกลางเดือนมิถุนายน น้ำได้สูงเอ่อขึ้นจนท่วมท้น ซึ่งเป็นวัฎจักรประจำปีของระบบนิเวศในสีพันดอน ดินแดนทางตอนใต้ของประเทศลาว

เมื่อน้ำใหญ่มาถึง หรือเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก นั่นหมายถึงเทศกาลจับปลาครั้งใหญ่มาถึงแล้วเช่นกัน ทั่วทั้งเมืองโขง แขวงจำปาสัก จึงคึกคักเป็นอย่างมาก ไม่น่าเชื่อว่าสัตว์น้ำประเภทเดียวที่ชื่อ “ปลา”จะทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งเมืองหมุนเวียนเติบโตอย่างมีชีวิตชีวา

ช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2557 สื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆโดยการสนับสนุนของทีมงานโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารทำ ข่าวสืบสวนฯ ได้ชักชวนกันมาสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงในฤดูที่กองทัพปลากำลังมา เยือนสีพันดอน

นอกจากได้เห็นปลามากมายที่กองอยู่ในตลาดนากะสังซึ่งเป็นสถานที่รับซื้อ ปลาใหญ่ที่สุดในเมืองโขงแล้ว พวกเรายังได้ตระเวนดูการจับปลาด้วยวิธีต่างๆโดยเฉพาะ “หลี่” ซึ่งได้ปลาคราวละมากๆ

image

พวกเราเดินทางไปยังดอนคอนเกาะ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองโขงและติดกับชายแดนลาว-กัมพูชา โดยต้องนั่งเรือลำเล็กเพราะต้องลัดเลาะเกาะแก่งต่างๆ และน้ำอันเชี่ยวกรากในหลายช่วงซึ่งเรือใหญ่ไม่สามารถไปได้ ที่สำคัญคือคนขับเรือต้องมีความรู้ความชำนาญพื้นที่พอสมควร

เมื่อใกล้ถึงดอนคอนเกาะ เห็นกำแพงน้ำมาแต่ไกล โดยบริเวณดังกล่าวในหน้าแล้งจะเห็นเป็นน้ำตกจากหน้าผาใน 3 จุดที่ชาวบ้านเรียกว่าคอนฝั่ง คอนขามและคอนหลง แต่พอถึงหน้าน้ำ เมื่อแม่น้ำโขงยกระดับขึ้น ทั้ง 3 คอนได้เชื่อมต่อกันกลายเป็นกำแพงน้ำขนาดใหญ่ยาวนับกิโลเมตร

“ปีนี้เราได้ปลากันไม่เยอะ เพราะน้ำมาเร็วและเป็นน้ำที่ใส ไม่เหมือนปีก่อนๆที่พอฝนตกแล้วน้ำค่อยๆมาและเป็นน้ำขุ่น ทำให้ปลามาไม่ทัน กว่าปลาจะมาถึงน้ำก็ท่วมหลี่ไปเยอะแล้ว” พ่อเฒ่ารายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของหลี่บนดอนคอนเกาะ เล่าถึงสถานการณ์การหาปลาในปีนี้ ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของคนหาปลาในหลายแห่ง

image

“ปีนี้เพิ่งได้ปลาไปไม่กี่ร้อยโล” คำพูดของแกดูเหมือนพูดเล่น ทำเอาคนนอกตาโต แต่ในความเป็นจริง คนที่นี่เขานับปลากันเป็นตัน เพราะแต่ละปีมีปลาลงหลี่มากมาย บางหลี่ปีเดียวได้ปลานับสิบตัน

นอกจากในช่วงต้นฝนเดือน 6-7 ที่ได้ปลากันมากๆแล้ว ช่วงเดือน 9 ปลาจะลงหลี่มากอีกครั้ง โดยเฉพาะในย่านตอนคอนเกาะ

สีพันดอนในซีกตะวันตกนี้ มีคอนและเกาะแก่งมากมาย ซ่อนเร้นความอุดมสมบูรณ์และความงามของน้ำตกไว้ให้ชวนอัศจรรย์ใจ

แต่ที่น่ากังวลคือขณะนี้มีโครงการสร้างเขื่อนอย่างน้อย 2 แห่งกำลังล้อมกรอบสีพันดอน โดยโครงการแรกคือเขื่อนดอนสะโฮง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ แม้ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ทางการลาวจะมีท่าทีรับฟังเสียงท้วงติงของเวียดนาม กัมพูชา และไทย มากขึ้น และยอมให้โครงการเขื่อนดนสะโฮงเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พศ. 2538 แต่ยังประกาศเดินหน้าพัฒนาเขื่อนดังกล่าวต่อไป

ขณะที่ด้านเหนือขึ้นมาจากสีพันดอน บริเวณดอนเลา ใกล้วัดภูงอย ห่างจากเมืองปากเซ เมืองเอกของแขวงจำปาสักเพียง 14 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีราว 50 กิโลเมตร บริษัทสัญชาติไทยในนามบริษัทเจริญวอเตอร์แอนด์เอนเนอร์ยี เอเชีย ในเครือซีพี กำลังสำรวจข้อมูลในชุมชน เพื่อพัฒนา “โครงการเขื่อนภูงอย” หรือ “ลาดเสือ 2 “

image

“คณะสำรวจได้แจ้งชาวบ้านเบื้องต้นว่าหากสร้างเขื่อนแห่งนี้ต้องอพยพ ประชาชนออกจากพื้นที่ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านผักแพว บ้านนาขอนแก่น บ้านดอนปาข่อ และบ้านมอพุ รวมราว 1,000 หลังคาเรือน“ ชาวบ้านในพื้นที่รายหนึ่ง ยืนยันการเดินหน้าของโครงการสร้างเขื่อนภูงอย

เขื่อนภูงอยจะกั้นแม่น้ำโขงในลาวเป็นแห่งที่ 2 นอกจากเขื่อนไซยะบุรีที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งรับฟ้อง กรณีที่ชาวบ้านไทย 37 คน ในเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และอีก 4 หน่วยงานรัฐ ซึ่งลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของ ประเทศไทย

คะเนจากจุดสร้างเขื่อนภูงอยซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงแผ่ออกกว้างเกือบ กิโลเมตร เดาได้ว่าเขื่อนภูงอยจะมีกำลังผลิตติดตั้งไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกกะวัตต์ แต่จนถึงวันนี้ข้อมูลเขื่อนยักษ์แห่งนี้กลับมีการเปิดเผยสู่สังคมน้อยมาก

“เราไม่เคยได้ยินว่าจะมีการสร้างเขื่อนข้างบนเลย เคยได้ยินแต่ที่ดอนสะโฮง” ชาวบ้านรายหนึ่งที่กำลังหิ้วปลาพวงใหญ่กลับจากหลี่แสดงอาการกังวลอย่างเห็น ได้ชัดเมื่อได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับสร้างเขื่อนแห่งใหม่บนแม่น้ำโขง

“ปีนี้เราได้ปลาน้อย ผมว่ามันก็น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งมาจากเขื่อนในจีน เพราะน้ำเหนือที่ไหลมาน่าจะเป็นน้ำจากเขื่อน ไม่ใช่น้ำธรรมชาติ เพราะมันใส” เขาคาดเดาปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ณ สีพันดอน ในปีนี้

“ด้านล่าง เขาก็ระเบิดหินในฮูสะดำและฮูช้างเผือกไปเมื่อปีก่อนแล้ว ทำให้ปีนี้ปลาไม่ค่อยมาที่นี่”

ฮูสะดำและฮูช้างเผือกที่เขาพูดถึงคือช่องน้ำ 2 ด้านที่ขนานกับฮูสะโฮง ซึ่งบริษัทสัมปทานสร้างเขื่อนได้ระเบิดหินในลำน้ำเพื่อให้ปลาว่ายทวนกระแส น้ำขึ้นมายังด้านบน และห้ามชาวบ้านใช้หลี่ในบริเวณดังกล่าว ทำให้ความเดือดร้อนส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่

สองโครงการเขื่อนที่จะปิดหัวปิดท้ายมหานทีสีพันดอน ทำให้วังเวงใจว่าหากกลไกในภูมิภาคที่มีอยู่สำหรับ 4 ประเทศลุ่มน้ำโขงนั้นไม่สามารถทัดทานโครงการใหญ่ที่สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อ ประชาชนนับล้านๆ คนได้

สีพันดอนแหล่งประมงน้ำจืดใหญ่แห่งลุ่มน้ำโขง เคยสะสมความมั่นคั่งด้วยกองทัพปลา จนสามารถสร้างอาณาจักรโบราณอันยิ่งใหญ่ก่อนนครวัด-นครธม วันนี้กำลังสายน้ำกำลังถูกสร้างกำแพงยักษ์กั้น และกองทัพปลากำลังถูกปิดกั้น

หรือวิถีวัฒนธรรมอันยาวนานของคนและปลากำลังในสีพันดอนกำลังกลายเป็นตำนาน

เรื่องและภาพโดย โลมาอิรวดี

June 11, 2014

Fish passage testing underway at Xayaboury dam (เขื่อนไซยะบุรี)

ข่าว เวียงจันไทมส์วันนี้ครับ “กำลังทดสอบทางปลาผ่านเขื่อนไซยะบุรี” เนื้อหาว่าบริษัทกำลังศึกษา “ความสามารถในการว่ายน้ำของปลาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของทางปลาผ่าน” สำหรับเขื่อนไซยะบุรี

เมื่อวันจันทร์รมต.ช่วยฯ กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว ได้ลงพื้นที่ โดบบริษัทพอยรี่ ซึ่งรับผิดชอบส่วนงานสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้าง Fishtek Consulting จากอังกฤษ เพื่อให้ศึกษาว่าปลาแม่น้ำโขงจะสามารถใช้ทางปลาผ่านได้หรือไม่ นาย Tobias Coe ผอ.ด้านเทคนิคกล่าวว่า “หมายความว่าเราไม่ได้ใช้หลักการทั่วๆ ไปในการออกแบบทางปลาผ่าน..ทางปลาผ่านนี้จะถูกออกแบบเพื่อสายพันธุ์ปลาซึ่งพบในแม่น้ำโขง” หนึ่งในแนวทางคือ “บันไดปลาโจน” (เวร!!)

เขื่อนไซยะบุรีกำหนดที่จะผลิตไฟฟ้าส่งขายกฟผ. ในปี 2019 นี้แล้วครับ เพิ่งจะมาศึกษาเอาตอนนี้อ่ะนะ

ผู้เชี่ยวชาญจากยุโรป เขาจะรู้จักปลาน้ำโขงจริงๆ มั้ยครับ? เขื่อนของท่านกำลังจะทุบหม้อข้าวคนหลายสิบล้านคนที่พึ่งพาปลา+การประมงใน ลุ่มน้ำนะครับ

เพลียกับระบบ “สร้างไป ศึกษาไป” เวรกรรมของปลาน้ำโขง 1,200 ชนิด และลูกหลานแม่น้ำโขงจริงๆ

Fish passage testing underway at Xayaboury dam
http://www.vientianetimes.org.la/FreeContent/freeCont_Fish%20passage.htm

Graphic from NOAA Fisheries

Fish passage_n

————————————————————————

 

Fish passage testing underway at Xayaboury dam

Click on the link to get more news and video from original source: http://www.vientianetimes.org.la/FreeContent/freeCont_Fish%20passage.htm

Xayaboury Power Co Ltd is currently studying fish swimming ability to evaluate the effectiveness of a demonstration fish passage facility at the Xayaboury hydropower project in northern Laos.

Deputy Minister of Energy and Mines Mr Viraphonh Viravong visited the site on Monday, accompanied by officials and members of the media.

Engineering consultancy firm Poyry Energy was hired to work on the project. Poyry Energy then contracted Fishtek Consulting to evaluate whether Mekong fish would be able to use a fish pass at the run-of-river Xayaboury hydropower dam.

Fishtek is a specialised international fishery consultancy based in Devon, UK. They are a leading British consultancy in evaluating the interaction between hydropower projects and fish.

Fishtek Consulting’ technical director Mr Tobias Coe said the fish pass design was based on the best practice principles of taking the swimming abilities of fish into consideration when designing fish pass systems, tailoring them to specific species.

“What that means is we are not taking generic principles of fish pass design . . . this fish pass will be designed for the species that are present in the river Mekong,” Mr Coe said.

He said different tests were underway in the stream looking into the behaviour of the key fish species at different water velocities and how they react to obstructions, as well as the pure physiology of the fish and their swimming capabilities.

In response to concerns raised by Mekong Commission Committee stakeholders and experts, the initial design of the Xayaboury scheme was modified to incorporate sustainable solutions for local Mekong fish populations to pass through the hydropower dam.

One approach is a land-based “fish ladder” that goes around the barrage at an appropriate gradient or slope.

Fish swimming ability tests began in May this year and are ongoing. They will allow scientists to understand the behaviour of fish species and allow for the optimum design of the structures to allow all key fish species to pass through the hydropower dam.

The current fish pass design proposes four vertical slots of different sizes controlling the water flow between pools 20 metres wide and 8 metres long. Fish have to burst-swim through the slots before traveling the pool upstream to the next set of slots.

An experimental facility with a 24 metres long flume has been built at the construction site to investigate the specific swimming abilities of different species of fish.

Three different experimental techniques are being applied to ‘lead’ species including Pa Pak Ta Leuang (Hypsibarbus Pierrei), Pa Tep (Paralaubuca Typus), Pa Dok Ngieu (Cycloheilichthys Repasson), Pa Nyon Nuat (Clupisoma Sinense), Pa Soi Hua Po (Henicorhynchus Siamensis) and Pa Nyon Thong Kom (Pseudolais Pleurotaenia).

The tests being performed include the velocity barrier test, the burst swimming test and the ‘umax’ method. Tests will be completed in the next few weeks and conclusions about the design will then be made.

Interim conclusions confirm that a design velocity of about 1.2 metres per second can be used in the main slots of the fish pass. At this speed most of the fish species require several attempts to enter the flume during the velocity barrier tests. Construction of the US$3.5-billion 1,285 MW Xayaboury hydropower plant began at the end of 2012 and is now 30 percent complete.

Commercial operation is slated to begin in 2019. The dam’s operational phase covers 29 years of the concession agreement from 2019 to 2048, before ownership is transferred to the Lao government.

By Times Reporters
(
Latest Update June 11, 2014)

May 8, 2014

Why We Shouldn’t Dam the World’s Most Productive River – ทำไมเราถึงไม่ควรสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง

 

Why We Shouldn’t Dam the World’s Most Productive River

Saving the Mekong’s giant fish

Click on the link to get more news and video from original source:  http://environment.nationalgeographic.com/environment/freshwater/lessons-from-the-field-mekong-giant-fish/

 

A Mekong giant catfish on the Tonl$#233; Sap River, Cambodia.

A Mekong giant catfish on the Tonlé Sap River, Cambodia.

ABOUT LESSONS FROM THE FIELD: National Geographic is inviting scientists, community leaders, water managers, conservationists, and activists to share the lessons they’ve earned from the field—and the innovative solutions they’ve found. We hope their stories will build a shared sense of community and motivate the public across the world to conserve freshwater and the diversity of life it sustains. Read all of their stories.

Photograph by Zeb Hogan, National Geographic grantee

Read morehttp://dtphorum.com/pr4/showthread.php?3789-T%E1%BB%99i-Nghi%E1%BB%87p-%C4%90%E1%BB%9Di-Sau&p=128615

Dams spell Doom (talkvietnam):  http://www.talkvietnam.com/2012/10/dams-spell-doom/#.U2OsvPldUpo

————————————————————————

By Zeb Hogan

Assistant Research Professor, University of Nevada

It’s unclear why so many species of giant fish occur in the Mekong River, the 2,700-mile (4,350-kilometer) river that runs from southern China to the delta south of Ho Chi Minh City, Vietnam. Certainly part of the answer is the river’s size: Large rivers have more space and more food to accommodate larger fish.

Another part of the answer may lie in the productivity of the Mekong River Basin ecosystem, including the floodplains and flooded forests that provide an abundant source of food for many species of fish during the rainy season.

The Mekong River is also—depending on whom you ask—either the second or third most biodiverse river on Earth (in terms of freshwater fish) and it’s logical that a river with so many species of fish would also support several species of giants.

Not only is the diversity of large fishes found in the Mekong amazing, so is these fishes’ persistence, given the number of people who live on the river and the level of fisheries’ exploitation. It just goes to show that fish populations can be remarkably resilient: It’s not typically overfishing that drives species to extinction. Usually, it’s habitat degradation or invasive species.

In this sense, the Mekong River is still a relatively healthy, natural, free-flowing river—a river that, in large part due to the fact that most habitats and connections between habitats are still intact—is still capable of producing 2,500,000 million tons of fish a year. That makes it the most productive river in the world.

Given that the Mekong does produce so much fish, it’s not unreasonable to question whether the benefits of proposed dam projects will outweigh the environmental costs. It’s a question that needs to be answered (and will require more study) before construction of the dams moves forward.

The hydropower dam planned on the Mekong River in Sayabouly Province, northern Laos, is a threat to the survival of the wild population of Mekong giant catfish. Under threat are the suspected spawning locations for many species of fish. The Sayabouly dam is the first lower Mekong River mainstream dam to enter a critical stage of assessment before construction is approved by the Mekong River Commission, which includes representatives from Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam, according to a recent World Wildlife Fund (WWF) report on the ecological implications of new dam projects.

The other dam closest to being approved is the Sahong. The Sahong channel is the most important migratory pathway in Southern Laos.

WWF is absolutely correct to suspect that mainstream Mekong dams will have deleterious effects on the giant fish of the Mekong. Almost all of the information that we have about these species (e.g. the Mekong giant catfish is highly migratory, endemic to the Mekong, seems to need specific cues to spawn, cannot reproduce in reservoirs, and probably spawns in northern Thailand and in Laos), suggests that the Sayabory dam and other Mekong dams will have serious negative impacts.

The same is true of other species of Mekong giants: We know very little about the ecology of these species and what we do know suggests that they need healthy, free-flowing rivers to survive.

Without further study, it’s highly likely that mainstream dams will drive at least one, if not all, of these species to extinction. We’ve seen something similar happen on the Yangtze where the two largest species in that river are now in grave danger  after dam construction (one, the Chinese paddlefish, may already be extinct).

Beyond dams, the other threats to the Mekong’s megafish include over-harvest (which has already brought populations of giant Mekong species to very low levels), habitat degradation (such as dredging and blasting upstream of the only known spawning ground of Mekong giant catfish), and invasive species.

One of the largest fish in the world, the Mekong giant catfish can reach 10 feet (3 meters) long and weigh up to 650 pounds (300 kilograms). This critically endangered species has suffered from all of the above—overfishing, dam building, and habitat destruction.

The risk of losing these fish before we understand them—and the threats they face—cannot be overstated.

Up to 80 percent of Mekong giant fish are at risk of extinction.

Several large-bodied catfish of the Mekong are migratory.

Mekong giant catfish, “dog-eating” catfish, and giant barb (Catlocarpio siamensis) are extremely rare, with only 5-10 adult fish caught per year.

Mitigation

There are several actions that would help ensure the survival of the giant fish species of the Mekong, including:

•    Maintenance of connectivity between rearing grounds and spawning habitat: Many species of Mekong fish have complex life cycles that involve long-distance migrations. Maintenance of migratory pathways is crucial.

•    Management of the river for environmental flows: Both the fish and the fisherfolk of the Mekong rely on the natural dry season, rainy season cycle. Flows often cue fish to migrate or spawn and the high flows of the rainy season open up vast habitats for feeding fish. Likewise, local people have invented all manner of ingenious ways of catching fish and most of these methods are adapted to a specific site, flow, and time of year.

•    Regulation and monitoring of harvest: Over-harvest is a serious threat to the Mekong’s largest, longest-lived, and most vulnerable species. In areas with heavy fishing pressure (and that includes virtually the entire Mekong Basin), catch of the largest fish must be regulated to ensure their survival. Lessons from other parts of the world indicate that relatively slow-growing large-bodied fish cannot sustain heavy fishing pressure indefinitely.

•    Research and decision-making based on research: This may seem like standard scientist-speak, but research on the ecology and conservation status of giant fish is urgently needed in the Mekong River Basin. The “dog-eating” catfish (Pangasius sanitwongsei) is a case in point. We know almost nothing about its ecology or conservation status and yet it is undoubtedly one of the largest, most rare, and most vulnerable fish in all of Southeast Asia. It’s likely that at least a hundred times more research is being done on salmon in the Pacific Northwest of the United States than on fish in the Mekong, but the consequences of losing the Mekong’s fish are a hundred times more significant in terms of biodiversity and potential impact to livelihoods.

Zeb Hogan earned an undergraduate degree in ecology and evolutionary biology from the University of Arizona. He later became a visiting Fulbright student at the Environmental Risk Assessment Program at Thailand’s Chiang Mai University. Returning to the United States, Hogan completed a National Science Foundation-sponsored Ph.D. in ecology at the University of California, Davis. He is currently a fellow at the University of Wisconsin and a World Wildlife Fund fellow. Hogan also leads Megafishes, an effort to protect the world’s largest freshwater fishes, and is a research assistant professor at the Department of Natural Resources and Environmental Science at the University of Nevada.

For More Information:

The Megafishes Project

Mekong River Commission

WWF

—————————–

ทำไมเราถึงไม่ควรสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง

Click on the link to get more news and video from original source:  http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1165%3Aseubnews&catid=5%3A2009-10-07-10-58-20&Itemid=14#.U2BqCQhu90F.facebook

ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าทำไมปลาขนาดใหญ่หลายชนิดปรากฎตัวอยู่ในลำน้ำโขง แม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีความยาวราว 4,350 กิโลเมตร ที่ไหลจากตอนใต้ของประเทศจีนไปยังเมืองโฮจิมินฮ์ ประเทศเวียดนาม ซึ่งขนาดของมันนี่เองที่อาจเป็นคำตอบถึงความหลากหลายทางชีวภาพในลำน้ำโขง

อีก ส่วนหนึ่งของคำตอบคือความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลำน้ำโขง ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ราบและพื้นที่ป่าน้ำท่วมถึง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารให้กับปลาหลายชนิดในช่วงฤดูน้ำหลาก และข้อความจริงที่ว่า ลำน้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายสูงที่สุดเป็นอันดับสองหรือสามของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งน้ำจืด จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีสปีชีส์ปลาขนาดใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจากความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าแปลกใจ แต่ปลาที่พบในแม่น้ำโขงยังทำหน้าที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมากที่ทำอาชีพประมงได้ อย่างดี ในขณะที่จำนวนประชากรของปลาในลำน้ำก็ยังสามารถฟื้นฟูมาจนเพียงพอต่อการประมง ดังนั้นการจับปลาเกินขนาดคงไม่สามารถทำให้สายพันธุ์เหล่านั้นสูญพันธุ์ แต่ภัยคุกคามที่สำคัญคือการทำลายล้างแหล่งที่อยู่อาศัย

ในมุมนี้ ลำน้ำโขงนับว่าเป็นแม่น้ำที่ยังคงสภาพดี มีการไหลค่อนข้างเป็นธรรมชาติ กล่าวคือไม่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่มาขวางกั้นลำน้ำ ดังนั้นพื้นที่อยู่อาศัยของปลาก็ยังมีขนาดใหญ่และสามารถเดินทางขยายพันธุ์ ได้อย่างอิสระ และตัวเลขสถิติการจับปลาปีละกว่า 2,500,000 ล้านตันต่อปี ก็สะท้อนได้อย่างดีว่าลำน้ำนี้คือลำน้ำที่มีผลผลิตมากที่สุดของโลก

จาก ศักยภาพในการผลิตปลาจำนวนมากนี้เอง คำถามที่ว่าประโยชน์ที่ได้จากการก่อสร้างเขื่อนนั้น จะคุ้มค่ากับต้นทุนทางธรรมชาติที่เสียไปหรือไม่ ก็เป็นคำถามที่จะต้องตอบและศึกษาเพิ่มเติม ก่อนจะเดินหน้าสร้างเขื่อน

เขื่อน ไฟฟ้าพลังงานน้ำที่จะก่อสร้างในจังหวัดไซยะบุรี ทางตอนเหนือของลาว นับเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อประชากรปลาขนาดใหญ่ในแม่โขง เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนจะไปทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของปลา หลายชนิด และเขื่อนไซยะบุรี ยังเป็นเขื่อนแรกในลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่มีการก่อสร้างเดินหน้าไปอย่างต่อ เนื่อง ในขณะที่กรรมการลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ยังไม่ได้ให้การรับรอง

นอกจากเขื่อนไซยะบุรี ก็ยังมีอีกเขื่อนหนึ่งที่จะก่อสร้างในลำน้ำดอนสะโฮง ลำน้ำสายย่อยที่เป็นช่องทางสำคัญที่สุดของปลาอพยพทางตอนใต้ของประเทศลาว

กอง ทุนสัตว์ป่าสากลหรือ WWF มองว่าการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อพันธุ์ปลาขนาด ใหญ่ในลำน้ำโขง และจากข้อมูลทั้งหมดที่เรามีเกี่ยวกับสายพันธุ์ปลาขนาดใหญ่อย่างปลาบึก (Mekong Giant Catfish) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ปลาอพยพ มีพบเฉพาะในลำน้ำโขง และดูเหมือนว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่เฉพาะในการขยายพันธุ์ ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ในอ่างเก็บน้ำ การก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงสายหลักย่อมส่งผลร้ายต่อสายพันธุ์ปลาดังกล่าว

ข้อ ความจริงดังกล่าวก็เช่นเดียวกับปลาขนาดใหญ่สายพันธุ์อื่นในแม่โขง ที่เรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศของสปีชีส์เหล่านี้ค่อนข้างน้อย แต่สิ่งเดียวที่เราคาดว่าปลาเหล่านี้ต้องการคือสายน้ำที่ไม่ถูกกักกั้นและ ไหลตามธรรมชาติ

การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อย่างน้อยต้องส่งผลกระทบให้บางสปีชีส์ต้องสูญพันธุ์ เช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างการสร้างเขื่อนในแม่น้ำแยงซีเกียง ที่หลังการก่อสร้าง ทำให้สายพันธุ์ปลาขนาดใหญ่สองสายพันธุ์ต้องเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นอก จากภัยคุกคามจากการก่อสร้างเขื่อนแล้ว ปลาขนาดใหญ่ในลำน้ำโขงยังต้องพบภัยคุกคามอีกหลายอย่าง จนกว่าร้อยละ 80 ของสปีชีส์ปลาขนาดใหญ่พบกับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

จะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาศึกษาเรียนรู้พวกเขา ก่อนจะก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ?

แนวทางการลดผลกระทบ
– สร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัยและพื้นที่ขยายพันธุ์ เนื่องจากปลาหลายชนิดในลำน้ำโขงมีลักษณะเป็นปลาอพยพทางไกล การรักษาไว้ซึ่งช่องทางในการอพยพจึงเป็นเรื่องสำคัญ

– การบริหารจัดการให้ปล่อยน้ำตามลักษณะการไหลธรรมชาติ เนื่องจากทั้งปลาและชาวประมงรอบลำน้ำโขง จำเป็นต้องดำรงชีวิตตามฤดูกาลแล้งและฝนตามธรรมชาติ การไหลของน้ำจะสัมพันธ์กับการอพยพของปลาเพื่อขยายพันธุ์ หรือการสร้างพื้นที่น้ำท่วมใหม่เป็นแหล่งอาหารให้กับปลา รวมไปทั้งชาวประมงในพื้นที่ที่คิดค้นวิธีการจับปลาที่สอดคล้องกับธรรมชาติ

– ต้องมีการทำวิจัย เพื่อใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เนื่องจากหลายสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เช่น ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) ที่เราแทบไม่รู้จักการดำเนินชีวิตและระบบนิเวศของมัน ซึ่งปลาดังกล่าวนับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุด หายากที่สุด และมีค่าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหากเปรียบเทียบแล้ว ในสหรัฐฯมีการทำวิจัยเกี่ยวกับกลาแซลมอนคิดเป็น 100 เท่าของการทำวิจัยปลาในแม่น้ำโขง ทั้งๆที่การสูญเสียสายพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงนั้น จะส่งผลเป็นร้อยเท่าต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของคน

บทความโดย Zeb Hogan ผู้ช่วยนักวิจัยมหาวิทยาลัย Nevada (Assistant Research Professor, University of Nevada)
ต้นฉบับจาก Why We Shouldn’t Dam the World’s Most Productive River’
http://environment.nationalgeographic.com/environment/freshwater/lessons-from-the-field-mekong-giant-fish/