Archive for December 18th, 2010

December 18, 2010

Senate Blocks Bill for Illegal Immigrant Students

Cached:  http://www.nytimes.com/2010/12/19/us/politics/19immig.html

By DAVID M. HERSZENHORN

The Senate on Saturday blocked a bill that would create a path to citizenship for certain illegal immigrant students who came to the United States as children, completed two years of college or military service and met other requirements including passing a criminal background check. The vote, 55-41 in favor of the bill, effectively kills the measure for this year, and its fate beyond that is uncertain.

Most immediately, the measure would have helped grant legal status to hundreds of thousands of illegal immigrant students and recent graduates whose lives are severely restricted because they are illegal residents, though many have lived in the United States for nearly their entire lives.

Young Hispanic men and women filled the spectator galleries of the Senate, many of them wore graduation caps and tassels in a symbol of their support for the bill. And they held hands in a prayerful gesture as the clerk called the roll .

The measure, known as the Dream Act, failed to get the support of 60 senators needed to cut off a filibuster and bring the bill to the floor.

President Obama had personally lobbied lawmakers in support the bill. But Democrats were not able to hold ranks. Among those voting no were the Democrats Max Baucus of Montana, Kay Hagan of North Carolina, Ben Nelson of Nebraska, Mark Pryor of Arkansas and Jon Tester of Montana.

“I want to make it clear to my colleagues, you won’t get many chances in the United states Senate, in the course of your career, to face clear votes on the issue of justice,” said Senator Richard J. Durbin, Democrat of Illinois, and a main champion of the immigration measure.

Mr. Durbin urged support for the measure.

“Thousands of children in American who live in the shadows and dream of greatness,” he said. “they are children who have been raised in this country. They stand in the classrooms and pledge allegiance to our flag. They sing our star-spangled banner as our national anthem. They believe in their heart of hearts this is home. This is the only country they have every know.”

But opponents of the measure said it was too broad and would grant amnesty to illegal immigrants.

——

DREAM Act blocked in Senate

Cached:  http://firstread.msnbc.msn.com/_news/2010/12/18/5673808-dream-act-blocked-in-senate

Carrie Dann writes: A measure that would have offered provisional legal status to some adults who came to America illegally as children failed to advance in a Senate vote Saturday.

Democratic backers of the legislation fell short of the 60 votes to move the DREAM Act legislation forward. Democratic Sens. Mark Pryor of Arkansas, Jon Tester of Montana, Max Baucus of Montana, Kay Hagan of North Carolina, and Ben Nelson of Nebraska voted against bringing the bill to the floor; Republican Sens. Richard Lugar, Lisa Murkowski, and Robert Bennett voted for it.

The vote was 55-41.

The DREAM (Development, Relief, and Education for Alien Minors) Act would have allowed illegal immigrants with a high school diploma or a GED to apply for conditional U.S. status if they are under the age of 30 and arrived the U.S. before the age of 16. After a long process — including two years of service in the military or enrollment in college — they would then have been eligible to apply for legal immigrant status.

Alabama Republican Sen. Jeff Sessions, who led GOP opposition against the legislation, called the measure “amnesty” and argued that it “incentivizes” illegal immigration. GOP opponents also noted that it would have allowed some illegal immigrants with criminal records to gain citizenship.

Advocates of the measure tried to target senators from states with high Latino populations, saying that the DREAM Act would reward hard work by young adults who were brought to the United States by no fault of their own.

Majority Leader Harry Reid originally scheduled a vote on the legislation last week but abruptly postponed it in favor of taking up the House’s version of the bill during the final days of the lame duck session.

December 18, 2010

Case Study from outside Laos: จากเวียงจันทน์ ถึงบางกอก ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว – Update: 02

เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท

This article comes from Sarakadee สารคดี
http://www.sarakadee.com/web

The URL for this story is:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=932

——-

สารคดีเรื่องนี้ จัดทำขึ้นภายใต้โครงการทุนสำหรับสื่อของ Imaging Our Mekong (www.newsmekong.org) ดำเนินการโดย ไอพีเอส เอเชียแปซิฟิก และมูลนิธิโพรบมีเดีย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์

“พุทธ ศักราช ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา… ไปถึงทุ่งสำริด ท่านผู้หญิงโมรวบรวมกำลังหญิงชายเข้าต่อสู้อย่างตะลุมบอน กองทหารเวียงจันทน์แตกพินาศ เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพกลับ ในที่สุดกองทัพไทยยกตามไปปราบจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ท่านผู้หญิงผู้กล้าหาญได้นามว่าเป็นวีระสตรี…ปรากฏในพงษาวดารมาจนทุก วันนี้”

จารึกด้านข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
จังหวัดนครราชสีมา

“เจ้าอนุวงศ์…ใคร กษัตริย์สมัยไหน ของอาณาจักรไหน”

“ไม่เคยได้ยิน กษัตริย์ประเทศไหน”

“คุ้น ๆ…เหมือนเคยได้ยินแว่ว ๆ”

เมื่อลองสุ่มถามคนรอบตัวเรื่องเจ้าอนุวงศ์ ผลที่ได้ล้วนออกมาในทำนองเดียวกันข้างต้น

คน ไทยน้อยคนนักจะรู้จักกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า “เจ้าอนุวงศ์” และส่วนมากก็มักรู้เพียงรายละเอียดอันมีต้นเค้ามาจากข้อความบนป้าย ข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองโคราช หรือไม่ก็จากแบบเรียนสมัยมัธยมต้น

ที่ น่าสนใจคือ หลายคนยังเล่าถึง “วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์” เหตุจลาจลของครัวโคราชที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านทหารลาวได้ตรงกัน ทั้งยังมีตัวละครเพิ่มเข้ามาคือ “นางสาวบุญเหลือ” ซึ่งว่ากันว่าเป็นมือขวาของท้าวสุรนารี โดยในทัศนะของพวกเขา ท้าวสุรนารีหรือ “ย่าโม” เป็น “วีรสตรี” คนสำคัญของไทย ส่วนเจ้าอนุวงศ์เป็นเจ้าลาวที่ “กบฏ”

นี่ คือบทสรุปของ “ศึกเจ้าอนุวงศ์” บนที่ราบสูงภาคอีสานเมื่อกว่า ๑๘๐ ปีก่อนที่คนไทยยุคปัจจุบันรับรู้ หากเทียบกับวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนหน้า ถึงเกือบ ๔๐๐ ปี ก็น่าประหลาดใจว่าเรื่องของเจ้าอนุวงศ์และการศึกในครั้งนั้นกลับกลายเป็น ความทรงจำที่เลือนรางเสียยิ่งกว่า

ผมเองก็ไม่ต่างจากคนไทยทั่วไปที่รับรู้เรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก และไม่เคยตั้งข้อสงสัย

จน ช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา เมื่อได้ยินข่าวว่านายทุนและผู้กำกับไทยคนหนึ่งมีโครงการจะสร้างภาพยนตร์ ฟอร์มยักษ์เรื่อง “วีรกรรมท้าวสุรนารี” ข่าวการกระทบกระทั่งระหว่างไทย-ลาวก็ปรากฏ ยังไม่นับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๒๔ ปี ๒๕๕๑ ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านออกมาเตือนว่าไม่ควรนำเรื่องวีรกรรมที่ทุ่ง สัมฤทธิ์มาแสดงในพิธีเปิด ถ้าไม่อยากให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกับเพื่อนบ้าน

เมื่อ เร็ว ๆ นี้ผมยิ่งแปลกใจมากขึ้นอีกเมื่อได้อ่านแบบเรียนชั้นประถมฯ มัธยมฯ และหนังสือประวัติศาสตร์ที่วางขายในลาว แล้วพบว่าเจ้าอนุวงศ์คือ “มหาราช” คือ “วีรกษัตริย์” ผู้พยายามกู้ชาติ แถมยังมีบทตอบโต้วีรกรรมย่าโมอย่างเผ็ดร้อน

ทำไม เจ้าอนุวงศ์ถึงเป็น “กบฏ” ในประวัติศาสตร์ไทย–ทำไมลาวจึงมองเรื่องนี้ต่างออกไป–เจ้าอนุวงศ์คือใคร ตัวตนในประวัติศาสตร์ที่แท้แล้วเป็นอย่างไร–เกิดอะไรขึ้นบนที่ราบสูงภาค อีสานระหว่างพุทธศักราช ๒๓๖๙-๒๓๗๑–ทำไมประเด็นนี้จึงละเอียดอ่อนนัก

ต่อ ไปนี้คือส่วนหนึ่งของ “คำตอบ” ที่ผมได้พบจากการเดินทางลงพื้นที่และค้นหาข้อมูลคำตอบซึ่งอาจเป็น “บทสนทนาทางประวัติศาสตร์ที่พิลึกพิลั่นที่สุด” ระหว่างไทย-ลาวอันต่อเนื่องยาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

พระ ืที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทบนกำแพงพระบรมมหาราชวังฝั่งตะวันออกริมถนนมหาไชย พงศาวดารไทยและลาวระบุตรงกันว่าลานหน้าพระที่นั่งแห่งนี้ ครั้งหนึ่งเป้นจุดที่เจ้าอนุึวงศ์ถูกสำเร็จโทษ



ภาพลาย เส้นดัดแปลงจากภาพวาดเจาอนุวงศ์ในจินตนาการของ คำฮุ่ง ผาบักคำ ศิลปินลาว เผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการลาว สมัยที่ยังปกครองระบอบประชาธิปไตย (ก่อนปฏิวัติปี ๒๕๑๘ นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงนี้ว่า “สมัยรัฐบาลพระราชอาณาจักร”)

ใน ภาพเป็นซากกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกของเวียงจันทน์ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และมีร้านเหล้าชื่อ "กำแพงเวียงจันทน์โบราณ" เปิดบริการนักท่องเที่ยว


เจ้าอนุวงศ์ “พระนเรศวร” เวอร์ชันลาว

ไม่ ว่าคนไทยจะรับได้หรือไม่ก็ตาม กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพระองค์นี้มีพระ ราชประวัติไม่ต่างกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แม้ ทั้ง ๒ พระองค์จะดำรงพระชนม์ชีพต่างยุคต่างสมัย แต่ในแง่ประวัติศาสตร์ ยุคสมัยของทั้งสมเด็จพระนเรศวรและเจ้าอนุวงศ์ล้วนเป็นยุคซึ่งสิ่งที่เรียก ว่า “ประเทศ” หรือ “รัฐชาติ” (Nation State) ยังไม่อุบัติขึ้น

เป็นยุคที่การรบเป็นสงครามระหว่าง “กษัตริย์” กับ “กษัตริย์” มิใช่สงครามระหว่าง “ประเทศ” กับ “ประเทศ”

“ยุค นั้นความคิดเรื่อง ‘รัฐชาติลาว’ กับ ‘รัฐชาติไทย’ ยังไม่เกิด ผู้นำทั้งสองฝ่ายไม่มีสำนึกเรื่องนี้ สงครามระหว่าง ‘กรุงเทพฯ’ ของรัชกาลที่ ๓ กับ ‘เวียงจันทน์’ ของเจ้าอนุวงศ์ ไม่ต่างกับสงครามระหว่างอยุธยากับพิษณุโลกก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ในปี ๒๑๑๒” ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ฉายแนวคิดเบื้องหลังของสงครามในครั้ง นั้น

ส่วน เรื่อง “เอกราช” ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ไว้ว่า ” ‘เอกราช’ ของอาณาจักรสมัยโบราณต่างกับ ‘เอกราช’ ของ ‘รัฐชาติ’ สมัยนี้ สมัยโบราณมีเมือง ‘เอกราช’ กับ ‘ประเทศราช’ เมืองเอกราชไม่ต้องส่งบรรณาการไม่ต้องถูกกวาดต้อนแรงงาน ในขณะที่เมืองประเทศราชนั้นต้องทำสิ่งเหล่านี้”

ทั้ง นี้ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกายังเคยเสนอว่า กษัตริย์บนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ยุคนั้นมีแนวคิด “จักรพรรดิราช” หรือการเป็น “ราชาเหนือราชา” ที่รับมาจากพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนาแห่งชมพูทวีป (อินเดีย) โดยจักรพรรดิราชต้องมีรัตนะ (สมบัติ) ๗ ประการที่เกิดจากบุญบารมี คือ
จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว เมื่อมีครบแล้วพระองค์ก็จะแผ่ขยายอำนาจผ่านการขอพระราชธิดาในกษัตริย์ต่าง เมืองเป็นพระมเหสีขอช้างเผือก ทำศึก เป็นต้น อันเป็นที่มาของพระเกียรติยศและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะเรียกเอาได้ในภายหลัง แต่มิได้มีความคิดเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนทุกตารางนิ้วแต่อย่างใด

แปลง แนวคิดนี้เป็นสมการ ใส่ “เวียงจันทน์” กับ “กรุงเทพฯ” เข้าไป มันจึงไม่เกี่ยวพันกับ “ไทย” และ “ลาว” ในฐานะ “รัฐชาติ” สมัยนี้แต่อย่างใด

พุทธศักราช ๒๓๑๐ ขณะอยุธยาถูกเผาวอดเป็นเถ้าถ่านในสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒

ที่ เวียงจันทน์ พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในพระเจ้าสิริบุญสารแห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์เสด็จพระราชสมภพ มีพระนามว่า เจ้าอนุวงศ์

ทว่า ถึงปี ๒๓๒๒ เจ้าอนุวงศ์ซึ่งเจริญพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาก็ต้องพลัดบ้านพลัดเมืองมาประทับที่กรุงธนบุรี ด้วยเหตุที่พระเจ้าสิริบุญสารเกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเวียงจันทน์ไปติดต่อกับอาณาจักรอังวะ ทั้งยังเกิดกรณีเวียงจันทน์ยกทัพติดตามมาโจมตีทัพของพระวรปิตา (บางสำนักว่า พระวอพระตา) ซึ่งมาสวามิภักดิ์กรุงธนบุรี

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)ซึ่งแต่งในยุคนั้นเล่าว่า “พระเจ้ากษัตริย์ศึก” (เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี) เป็นผู้ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ซึ่งยุคนั้นมีสภาพเป็นเมืองอกแตกครอบคลุมสอง ฝั่งแม่น้ำโขง โดยตัวเมืองเวียงจันทน์อยู่ฝั่งน้ำด้านเหนือ ฝั่งทิศใต้คือเมืองพันพร้าวอันถือเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ถัดมาทางตะวันออกของเวียงจันทน์ยังมีเมืองทรายฟองซึ่งตั้งอยู่ตรงข้าม หนองคายและเวียงคุก

ร่อง รอยเมืองโบราณเหล่านี้หลงเหลือมาถึงปัจจุบันในลักษณะซากโบสถ์เจดีย์เก่า กระจายตัวเป็นวงกว้าง ในเขตประเทศไทยพบได้ที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ประวัติศาสตร์ลาว ฉบับมหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งเขียนเสร็จในปี ๒๔๙๖ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี ๒๔๙๙ ในชื่อ พงศาวดารลาว และเป็นประวัติศาสตร์ฉบับที่ทางการลาวเชื่อถือ บันทึกว่าการศึกเป็นไปอย่างดุเดือด โดยระหว่างโจมตีเมือง ทัพสยามโหดถึงขั้น

“เอา ราษฎรเมืองหนองคายจำนวนมากมาตัดคอ เอาแต่หัวใส่ในเรือจนเต็ม แล้วให้ผู้หญิงเมืองหนองคายพายเรือขึ้นมาร้องขายอยู่แถวท่าเมืองพะโคและ เวียงคุก” ทั้งยังได้รับความร่วมมือจากกองทัพหลวงพระบางที่มาตีกระหนาบจนเวียงจันทน์ แตก ถือเป็นการเสียกรุงเวียงจันทน์ต่อทัพสยามครั้งที่ ๑

ถึง จะเป็นหลักฐานชั้นรอง แต่มีความเป็นไปได้ว่าการกระทำของทัพสยามในปี ๒๓๒๒ นั้นไม่ต่างกับทัพหงสาวดีที่ยกมาตีอยุธยาในปี ๒๑๑๒ (รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระอัยกาในสมเด็จพระนเรศวร) โดยหลังตีเวียงจันทน์แตกก็เก็บกวาดทรัพย์สิน กวาดต้อนครัวลาว พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญคือพระแก้วมรกตมาประดิษฐานยังกรุงธนบุรี แน่นอนว่ารวมถึงการเชิญพระญาติวงศ์และพระราชโอรสในพระเจ้าสิริบุญสารมา เป็น”องค์ประกัน” ด้วย

เจ้าอนุวงศ์ขณะทรงพระเยาว์น่าจะทรงรับรู้เรื่องเหล่านี้ดีขณะเป็น “องค์ประกัน” ในราชสำนักกรุงธนบุรี

หอ พระแก้วที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ในอดีตเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ความทรงจำของคนลาวเกี่ยวกับพระแก้วมรกต ยังตกตะกอนอยู่ในรูปป้ายและคำบรรยายของมัคคุเทศก์บางคนว่า “ปัจจุบันพระแก้วมรกตอยู่ต่างประเทศ”

เสา โบราณอันเป็นส่วนหนึ่งของเวียงคุก เมืองหน้าด่านของเวียงจันทน์ที่ต้องรับศึกจากกองทัพสยามเมื่อปี ๒๓๒๒ ปัจจุบันอยู่ที่วัดยอดแก้ว จ.หนองคาย มีการสร้างโบสถ์ครอบ แต่ยังคงเห็นร่องรอยของเสาอยู่

เจ้า อนุวงศ์ขณะเป็นองค์ประกันประทับที่ “วังบางยี่ขัน” ร่องรอยเดียวที่เหลืออยู่ทุกวันนี้คือแนวกำแพงโบราณทางทิศเหนือของลาน อเนกประสงค์ หน้าสวนสาธารณะใต้ะสพานพระราม ๘

“องค์ประกัน” ในราชสำนักสยาม

แล้วเจ้าอนุวงศ์ประทับแห่งใดเมื่อมาเป็น “องค์ประกัน” ในราชสำนักสยาม ?

สืบ ค้นดูจะพบร่องรอยใน “นิราศวังบางยี่ขัน” ที่แต่งเมื่อปี ๒๔๑๒ (สมัยรัชกาลที่ ๕) โดยคุณพุ่ม กวีสตรีชื่อดังเจ้าของฉายา “บุษบาท่าเรือจ้าง” ซึ่งคุ้นกับเจ้านายเชื้อสายเวียงจันทน์ดี เนื่องจากบิดารับราชการใกล้ชิดพระบาท-สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวคุณพุ่มรับราชการในวังหลวงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ได้ฝากตัวอยู่กับเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีเชื้อสายลาว (มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์ มารดาของเจ้าดวงคำเป็นธิดาของเจ้าอุปราชพรหมวงศ์ พระอนุชาในเจ้าอนุวงศ์ที่ถูกกวาดต้อนมาพร้อมกันในปี ๒๓๒๒ ในวัยเยาว์มีนามว่า เจ้าหญิงหนูมั่น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอเป็นพระสนมเอก พระราชทานนามว่า เจ้าหญิงดวงคำ เมื่อมีพระธิดาก็ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าจอมมารดาดวงคำ)

นิราศ เรื่องนี้แต่งขึ้นระหว่างตามเสด็จพระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา พระธิดาในเจ้าจอมมารดาดวงคำ และเจ้าจอมประทุม ไปเยี่ยมอาการป่วยของเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ เจ้าเมืองมุกดาหาร บิดาของเจ้าจอมประทุมซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่บริเวณวังบางยี่ขัน

บท กวีตอนหนึ่งฉายภาพวังเจ้าอนุวงศ์ที่ตั้งอยู่บริเวณบางยี่ขัน ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับตัวเมืองบางกอก ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรมว่า

“ดูรกเรี้ยวเกี่ยวพันเถาวัลย์วุ่น
เกดพิกุลเลียบอุโลกโศกสาขา
ทุกพุ่มพักหักพังเปนรังกา
เมื่อเจ้าตาย่านกระหม่อม (เจ้าอนุวงศ์-ผู้เขียน) อยู่พร้อมพรัก

บ้านที่สร้างบางยี่ขันท่านมาพัก
ตึกตำหนักหักตกถึงอกไก่
นี่แอบอิงพิงพระเดชประเทศไทย
ยังเปนได้ดูดุ๋พังถึงหลังคา”

จริง ๆ วังบางยี่ขันมีหน้าตาอย่างไร กษัตริย์สยามพระองค์ใดโปรดให้สร้าง หรือเจ้าอนุวงศ์ทรงสร้างเอง ข้อมูลเรื่องนี้ผมค้นไม่พบในเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นอื่น ๆ

แต่ไม่น่าเชื่อว่าวังเก่าเจ้าอนุวงศ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสำนักงาน สารคดี นี้เอง

จาก สะพานผ่านฟ้าลีลาศไปตามถนนราชดำเนินกลาง เลี้ยวซ้ายที่แยก จปร. ข้ามสะพานพระราม ๘ ที่เชิงสะพานฝั่งขวา ร่องรอยของวังเจ้าอนุวงศ์ซ่อนตัวอยู่หน้าชุมชนเล็ก ๆ ชื่อ “บ้านปูน”

“ผมเห็นแนวกำแพงนี้ตั้งแต่เกิด”

อุทิศ อุดมทรัพย์ เจ้าของร้านขายของชำวัย ๖๐ ปี เล่าว่าคนชุมชนบ้านปูนเห็นแนวกำแพงโบราณนี้ตั้งแต่เกิด พร้อมเปิดเผยว่าเมื่อ ๑๔ ปีก่อน แนวกำแพงเก่าซึ่งวางตัวจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกยาวราว ๑๐๐ เมตรหน้าชุมชนนี้เกือบถูกทำลายไปพร้อมกับชุมชนบ้านปูน

“ปลาย ปี ๒๕๓๘ มีโครงการพระราชดำริสร้างสะพานพระราม ๘ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรระหว่างกรุงเทพฯ กับฝั่งธนบุรี ในหลวงท่านไม่ทรงเจาะจงว่าสร้างตรงไหน ให้ กทม. เลือกพื้นที่เอง ทีแรกจุดก่อสร้างเชิงสะพานฝั่งพระนครอยู่ที่เทเวศร์ แต่พอข้ามมาธนบุรี เชิงสะพานติดบ้านคุณบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เลยเปลี่ยนพื้นที่จากเชิงสะพานฝั่งพระนครมาเป็นบริเวณใกล้กับธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) ดังนั้นเชิงสะพานฝั่งธนบุรีก็ต้องเปลี่ยนตำแหน่ง”

ลุง อุทิศกับคนในชุมชนสืบทราบว่า หากยึดตามแผนก่อสร้างของ กทม. ชุมชนบ้านปูนจะหายไปเพราะเชิงสะพานฝั่งธนบุรีทับชุมชนพอดี ทั้งยังมีโครงการทำสวนสาธารณะอีกกว่า ๘๐ ไร่

ความ เคลื่อนไหวเพื่อรักษา “บ้าน” จึงดำเนินไปอย่างเข้มข้นระหว่างปี ๒๕๓๘-๒๕๔๒ จนตกลงกับ กทม. ได้ว่าจะไม่มีการเวนคืนที่ดินเกินแนวกำแพงเก่า ผลพลอยได้ระหว่างการเคลื่อนไหวครั้งนั้นทำให้ชาวชุมชนได้รู้ว่า ในชุมชนของตนมีโบราณสถานสำคัญคือ “ศาลาโรงธรรม” ที่ปฏิบัติศาสนกิจของชุมชนซึ่งเหลือเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพฯ และกำแพงเก่าอันเป็นส่วนหนึ่งของวังเจ้าอนุวงศ์

ซึ่ง ในที่สุด วังเจ้าลาวที่ลุงอุทิศรับรู้ว่า “เป็นกบฏจึงโดนประหาร” ก็ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการรักษาชุมชนบ้านปูนให้รอดพ้นจากการถูกเวนคืน

“นาย ทหารท่านหนึ่งที่เป็นอาจารย์บอกว่าถ้าเอากำแพงเป็นจุดศูนย์กลาง ทิศเหนือของกำแพงที่วันนี้อยู่ใต้สะพานพระราม ๘ คือวังเก่า มีพื้นที่ราว ๑.๘ ไร่ สมัยก่อนเรียก ‘ท่าล่าง’ เพราะเป็นที่ต่ำ เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใต้กำแพงลงมาเป็นที่ตั้งชุมชนเรียก ‘ท่าสูง’ ปัจจุบันทั้งหมดได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรเรียบร้อยแล้ว”

แล้วความเป็นอยู่ของเจ้าลาวในฐานะ “องค์ประกัน” ล่ะเป็นอย่างไร ?

“ไม่ ต่างกับที่สมเด็จพระนเรศวรประทับกับพระเจ้าบุเรงนอง มันไม่ทารุณโหดร้ายอย่างที่คนปัจจุบันจินตนาการ นโยบายกษัตริย์สมัยนั้นคือผนวกเป็นเครือญาติ สืบดูจะเห็นว่ากษัตริย์แถบนี้แต่งงานข้ามไปมา อย่างพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครั้งหนึ่งพระองค์เคยครองเชียงใหม่เพราะว่าพระมารดาเป็นพระราชธิดากษัตริย์ เชียงใหม่ ตอนหลังก็มาครองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ด้วยซ้ำ” อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักโบราณคดีอาวุโสให้ความเห็นว่า เจ้าอนุวงศ์น่าจะประทับอย่างสุขสบายในฐานะ “ลูกหลวง”

ถ้า ดูประวัติศาสตร์ช่วงเดียวกันจะพบว่าสถานะการเป็น “องค์ประกัน” ของเจ้าอนุวงศ์นั้น “ธรรมดา” อย่างยิ่ง ด้วยยุคเดียวกับที่พระองค์เจริญพระชนมายุในราชสำนักสยาม ยังมียุวกษัตริย์จากอาณาจักรข้างเคียงประทับร่วมด้วยอีกหลายพระองค์ด้วย สาเหตุต่าง ๆ กัน อาทิ องเชียงสือ หรือ เหงียน อันห์ (Nguyen Anh) เชื้อสายขุนนางตระกูลเหงียนที่หลบ “กบฏไตเซิน” เข้ามาในปี ๒๓๒๕ หลังจากนั้นไม่นาน นักองค์เอง ยุวกษัตริย์แห่งกัมพูชา ก็ถูกส่งมากรุงเทพฯ ขณะมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา พร้อมพระอนุชาอีก ๓
พระองค์ อันเป็นผลมาจากการจัดระบบการปกครองในกัมพูชาของสยาม

“องค์ประกัน” เหล่านี้ต่างได้รับพระราชทานที่ประทับจากพระเจ้าแผ่นดินสยามโดยถ้วนหน้า

ราช สำนักกรุงเทพฯ จึงไม่ต่างกับราชสำนักหงสาวดีในยุคก่อน คือเป็นที่ชุมนุมของยุวกษัตริย์จากประเทศราชมาประทับในฐานะ “บุตรบุญธรรม” ควบตำแหน่ง “องค์ประกัน” อันแสดงถึงความจงรักภักดีของกษัตริย์ผู้ครองประเทศราช

ยุว กษัตริย์เหล่านี้มารู้จักกันที่บางกอก ก่อนจะกลายเป็น “ผู้เล่นหลัก” ที่มีบทบาทมากบ้างน้อยบ้างบนสนามการเมืองระหว่างรัฐในระยะต่อไป

เจ้า อนุวงศ์ประทับที่กรุงธนบุรีนานถึง ๑๒ ปี ทรงได้รับการศึกษาร่วมกับเจ้านายเล็ก ๆ แห่งสยามมาตลอด นอกจากนี้ยังมีบันทึกพระราชกิจที่ทรงรับใช้ราชสำนักสยามมากมาย (ไม่ต่างกับที่พระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองคังให้หงสาวดี)

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ที่เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเรียบเรียงขึ้นในปี ๒๔๑๒ รวมถึงหลักฐานฝ่ายลาว ระบุว่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๓๘-๒๓๔๗ เจ้าอนุวงศ์ขณะมีพระชนมายุ ๒๖ พรรษา ได้เสด็จฯกลับไปรับตำแหน่งอุปราชแห่งเวียงจันทน์ จนรัชกาลที่ ๑ โปรดให้สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์เวียงจันทน์ในปี ๒๓๔๗ ทรงมีผลงานหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังทัพอังวะที่ด่านระแหง (ตาก) ในปี ๒๓๔๑ การโจมตีทัพอังวะที่เชียงแสนในปี ๒๓๔๕ เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ลาว ยังให้ภาพว่า เมื่อเจ้าอนุวงศ์ขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ ๓๙ พรรษา ทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนาผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา” ทรงอุปถัมภ์วัดจำนวนมากในเขตพระราชอำนาจครอบคลุมสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบอีสาน เหนือ อาทิ วัดศรีบุญเรืองที่หนองคาย หอพระแก้วที่วัดช้างเผือก บ้านศรีเชียงใหม่ เป็นต้น และที่สำคัญคือสร้าง “ขัว” หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขง ก่อนที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวซึ่งก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเกิดขึ้นใน อีก ๑๘๔ ปีต่อมา

เล่า กันว่าเชิงสะพานฝั่งหนึ่งอยู่ที่วัดช้างเผือก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย อีกฝั่งอยู่ที่วัดอุบมุง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งในงานของมหาสิลา วีระวงส์ มีการยืนยันว่าได้เคยเห็นซากเสาสะพานในปี ๒๕๑๕ ก่อนที่ชาวบ้านจะขุดเอาไม้ไปใช้

แต่ ในความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันอย่างหลวงพ่อสุวรรณ ปสันโณ เจ้าอาวาสวัดช้างเผือก กลับเป็นว่า “ไม่เคยได้ยิน เจ้าอนุวงศ์ยิ่งไม่คุ้น ถ้าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก็พอจำได้บ้าง เพราะชื่อวัดนี้มาจากช้างทรงที่ทำหน้าที่อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเชียงใหม่ ได้สิ้นชีวิตตรงนี้และมีการฝังกระดูกเอาไว้”

ส่วนพระเณรในวัดอุบมุงบอกผมว่าไม่เคยได้ยินเรื่องสะพานที่ว่าเลย

อย่าง ไรก็ตาม ผมยังพบความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอนุวงศ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะคล้ายความรู้จักมักคุ้นระหว่างพระนเรศวรกับพระมหา อุปราชา

น่า สนใจว่าเจ้านาย ๒ พระองค์นี้ “ฮักแพง” (สนิทสนม) กันอย่างยิ่ง หลักฐานชัดเจนที่สุดก็คือร่างตราที่พระบาท-สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมี ถึงเจ้าอนุวงศ์ เล่าเรื่อง “สวนขวา” ที่โปรดให้สร้างในเขตพระราชฐานชั้นใน ในร่างตรานั้นทรงชักชวนเจ้าอนุวงศ์มาชม และทรงเล่าว่าเมื่อมีงานรื่นเริงในสวนขวาครั้งใด

“…ก็ มีพระราชหฤทัยคิดถึงเจ้าเวียงจันทน์ทุกครั้ง ด้วยมิได้ลงไปเห็น จึงโปรดให้ถ่ายอย่างเป็นแผนที่สระที่เก๋งเก่าใหม่ พระราชทานขึ้นมาให้เจ้าเวียงจันทน์ดูพอเป็นสำเนาพลาง ถ้าเจ้าเวียงจันทน์ว่างราชการเมืองเมื่อใดจะลงไปเฝ้าทูลละอองฯ ณ กรุงเทพฯ ก็ให้พาบุตรภรรยามโหรีละคร กับให้หาพายและนกเขาครมลงไปด้วยจะได้เล่นตามสบายใจ…”

คำ ถามที่ว่าทำไมสองพระองค์ถึงฮักแพงกันยิ่ง เรื่องนี้อาจเข้าใจได้ไม่ยากเมื่อทราบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าฯ พระราชบิดาในรัชกาลที่ ๒ ทรงรับสตรีเชื้อสายลาวมาเป็นบาทบริจาริกา (สนม) ถึง ๒ องค์ คือ เจ้าจอมแว่น ธิดาเสนาบดีกรุงเวียงจันทน์ และเจ้าจอมทองสุก พระราช-ธิดาในเจ้าอินทวงศ์ (พระเชษฐาในเจ้าอนุวงศ์) ทั้งนี้เจ้าจอมแว่นยังมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงที่ทรงสนิทสนมยิ่ง

ยิ่ง เมื่อพิจารณาว่าทั้ง ๒ พระองค์มีพระชนมายุไล่ ๆ กันเจริญพระชนมายุในราชสำนักสยามมาด้วยกัน และทรงศึกษาในราชสำนักพร้อม ๆ กัน ก็จะเข้าใจได้กระจ่างยิ่งขึ้น

วัด ช้างเผือก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย คือสถานที่ที่หลักฐานลาวชี้ว่าเป็นเชิงขัว(สะพาน) ข้ามแม่น้ำโขงที่สร้างเมื่อกว่า ๒๐๐ ปีที่แล้ว ส่วนเชิงขัวอีกฝั่งแม่น้ำอยู่ที่วัดอุบมุง นครหลวงเวียงจันทน์ ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยใดๆ ของสะพานนี้เลย

“อิสรภาพ” ของเจ้าอนุวงศ์

เมื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์สยามกับกษัตริย์เวียงจันทน์ในฐานะประเทศราช ดำเนินไปด้วยดี อะไรเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์ต่อต้านอำนาจกรุงเทพฯ ?

ใน แง่การเมือง ยุคนั้นอาณาจักรหนึ่งจะดำรงอยู่และมีขอบเขตเพียงใดก็ขึ้นกับพระบารมีของผู้ ปกครอง เราอาจมองได้ว่าสมัยรัชกาลที่ ๑ และ ๒ เวียงจันทน์ยังคงเกรงอำนาจสยาม ไม่ต่างกับเมื่อครั้งที่อยุธยาสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงอำนาจหงสาวดี สมัยพระเจ้าบุเรงนอง

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวถึงบันทึกการส่งบรรณาการจากเวียงจันทน์ถึงกรุงเทพฯ ตามปรกติเช่นเดียวกับประเทศราชอื่น ๆ ทว่าเราต้องไม่ลืมว่ายุคนั้นลาวมีถึง ๓ อาณาจักรไล่จากเหนือลงใต้ คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ซึ่งแยกขาดจากกันตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘)

ด้าน ตะวันออกของ ๓ อาณาจักรนี้ยังมีรัฐเว้ (เวียดนาม) ซึ่งมีอำนาจพอ ๆ กับกรุงเทพฯ โดยเว้ถือว่าเวียงจันทน์เป็นประเทศราชของตนเช่นกัน เพราะเวียงจันทน์ส่งบรรณาการให้เว้เช่นเดียวกับที่ส่งให้กรุงเทพฯ

เวียงจันทน์ จึงมีสถานะเป็น “เมืองสองฝ่ายฟ้า” คือส่งเครื่องราชบรรณาการมาแสดงความจงรักภักดีต่อทั้งกรุงเทพฯ และเว้ตามธรรมเนียมเมืองประเทศราชในคราวเดียวกัน ซึ่งคนยุคนี้อาจตั้งคำถามว่ามิเข้าข่ายสุภาษิต “นกสองหัว” หรือ แต่นี่คือเรื่องจริงที่ถือว่า “ธรรมดา” อย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของรัฐในยุคนั้น

เวียงจันทน์ จึงถือเป็น “รัฐเล็ก” อยู่ระหว่างรัฐใหญ่ในยุคที่ “เส้นเขตแดน” ยังไม่ถือกำเนิด และสิ่งนี้ไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้นต่อการเมืองระหว่างรัฐโบราณ

เมื่อ ครองราชย์เจ้าอนุวงศ์จึงพบโจทย์ยากคือการดำเนินนโยบายระหว่าง ๒ อาณาจักรใหญ่และกับอาณาจักรลาวด้วยกัน มีปรากฏหลักฐานว่าทรงส่งบรรณาการเพื่อสานสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรลาวด้วยกัน อาทิ ประวัติศาสตร์ลาว บันทึกว่า เจ้าอนุวงศ์แต่งทูต “เอาเรือคำ (ทองคำ) ไปถวายพระเจ้ามันธาตุราช เจ้านครหลวงพระบาง เพื่อผูกไมตรี” และปีต่อ ๆ มาก็ได้ “ส่งช้างเชือกหนึ่งสูง ๗ ศอกไปถวายอีก”

ส่วนหลักฐานที่แสดงถึงการต่อต้านกรุงเทพฯ ของเจ้าอนุวงศ์ชิ้นแรก ๆ ปรากฏใน ประมวลเอกสารโบราณที่เกี่ยวกับลาว ของเวียดนาม เล่าว่า ปี ๒๓๖๘ เจ้าอนุวงศ์ส่งทูตไปเว้ขอความช่วยเหลือในการต่อต้านสยาม ซึ่งภายหลังนักประวัติศาสตร์สำนักชาตินิยมใช้เหตุการณ์นี้เป็นจุดอ้างอิง จินตนาการเรื่อง “ชาติ” ของเจ้าอนุวงศ์ (ทั้งที่ในยุคนั้นยังไม่มีแนวคิดเรื่อง “ประเทศ” หรือ “รัฐชาติ” แบบปัจจุบัน) ร่วมกับคำกลอนท้องถิ่นสำนวนหนึ่งชื่อ “สานลึบพะสูน” ที่พบในอีสานและลาว

นู ไซยะสิดทิวง อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาลาว วรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะค้นคว้า “โครงการค้นคว้าวรรณคดีสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างเสื่อมโทรม” ชี้ว่า “สานลึบพะสูน” มีนัยทางการเมืองชี้ถึงพระราชดำริของเจ้าอนุวงศ์ โดยยกตัวอย่างคำกลอนท่อนหนึ่งว่า

“คุดทะ อ้าปีกขึ้น ขำเมกเรืองลิด
จันโท เมามัวมุด มืดแสงสูนฮ้ำ”

แปล เป็นไทยได้ว่า “ครุฑได้แผ่อำนาจบดบังพระจันทร์จนอับแสงลง” ตามการตีความของอาจารย์นู ครุฑคือสยาม พระจันทร์คือเวียงจันทน์ และแทบทุกบทของ “สานลึบพะสูน” มีคำลักษณะนี้อยู่ตลอด บ่งบอกถึงความอึดอัดคับแค้นใจของผู้เขียนที่มีต่อคนลาวส่วนมากว่าไม่สามารถ แยกมิตร-ศัตรูได้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างอาณาจักรลาวยุคนั้นที่คอยจ้องแต่จะมีปัญหา และร้อง
กล่าวโทษกันไปที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก

อย่าง ไรก็ดี อาจารย์นูมองต่างกับนักประวัติศาสตร์ลาวท่านอื่น “คำกลอนนี้สะท้อนสงครามในยุคโบราณ ไม่ควรนำมาเคืองแค้นกัน ศึกษาประวัติศาสตร์มาก ๆ จะพบว่าเวียดนามสมัยก่อนก็ทำแบบเดียวกับไทย ไทยก็โดนพม่าทำ มันเป็นวิถีของยุคนั้น”

เค้า ลางความคิดจะกู้ “เอกราช” ตามคติโบราณของเจ้าอนุวงศ์เริ่มปรากฏหลังเหตุการณ์ “กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง” ในปี ๒๓๖๐ ที่จะเปลี่ยนโฉมสถานการณ์ขณะนั้นทั้งหมด

ปี นั้น ภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “สา” ตั้งตนเป็นผู้วิเศษรวบรวมผู้คนเข้ายึดจำปาศักดิ์ ทางกรุงเทพฯ มีตราให้เจ้าเมืองนครราชสีมาและเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้าปราบจนสงบลง ในที่สุดอ้ายสาเกียดโง้งถูกส่งตัวมากรุงเทพฯ ผลที่ตามมาคือรัชกาลที่ ๒ โปรดให้เจ้าราชบุตรโย้ พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ไปครองเมืองจำปาศักดิ์แทนเชื้อสายเจ้าเมืองเดิมซึ่ง เท่ากับผนวกเวียงจันทน์กับจำปาศักดิ์โดยปริยาย ส่งผลให้เวียงจันทน์มีกำลังมากขึ้น

นัก ประวัติศาสตร์ไทยและลาวยังเชื่อว่าเหตุการณ์ที่ถือเป็นตัวจุดชนวนสำคัญเกิด ขึ้นหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคตได้ไม่นาน

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เล่าว่า ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในปี ๒๓๖๘ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรง “ให้ขอแรงไพร่พล (ของเจ้าอนุวงศ์ที่มาช่วยงาน-ผู้เขียน) ที่มาด้วยให้ไปตัดต้นตาลที่เมืองสุพรรณลากเข็นลงมาตกท่า ไม่กำหนดว่าเท่าไร จะไปใช้ที่เมืองสมุทรปราการ อนุก็ให้ราชวงศ์คุมคนไปทำการ ครั้นจวนฤดูฝนอนุจะกลับขึ้นไป จึ่งทูลขอพวกละครผู้หญิงข้างในกับดวงคำ (เจ้าหญิงดวงคำ) ซึ่งเป็นลาวเวียง ต้อนครัวมาแต่แผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งอยู่เมืองสระบุรี”

ทว่ารัชกาลที่ ๓ ไม่โปรดพระราชทาน เจ้าอนุวงศ์จึงเสด็จฯ กลับด้วยความ “โทมนัสด้วยไม่ได้สมความปรารถนา” ในทางกลับกัน ประวัติศาสตร์ลาว ชี้ว่าทรงวางแผนมานานเพราะ “รักชาติ รักอิสรภาพเป็นที่สุด” งานของมหาสิลา วีระวงส์ อีกชิ้นหนึ่งคือ พระราชปวัตของสมเด็ดพระเจ้าอะนุวงสกะสัดองสุดท้ายแห่งพระราชวงส์เวียงจัน ตีพิมพ์เมื่อปี ๒๕๑๒ ยังให้รายละเอียดเพิ่มอีกว่าเจ้าอนุวงศ์ “ไม่พอพระทัยเป็นอันมาก” เป็นเหตุให้ “เคียดแค้นเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพระองค์จึงได้คิดกู้อิสรภาพตั้งแต่นั้นมา”

พิจารณา ดี ๆ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่อย่างยิ่ง ด้วยถ้าสยามยอมคืนครัวลาว สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเสียทรัพยากรที่ดีที่สุดในโลกยุคโบราณคือ “กำลังคน” กำลังหลักในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังอาจเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศราชอื่น ๆ ด้วย

ดร. มะยุรี และ ดร. เผยพัน เหง้าสีวัทน์ สองนักวิชาการลาวยังระบุด้วยว่าสาเหตุที่ใหญ่กว่าคือการสักเลกตามหัวเมือง ภาคอีสานในปี ๒๓๖๗ โดยอ้างเอกสารที่มาลลอช (A. Malloch) พ่อค้าอาวุธชาวอังกฤษได้จากเจ้าหน้าที่สยามสมัยนั้น ในเอกสารนี้บันทึกการสักเลกและเขียนถึงจำนวน “คนสยาม” ในภาคอีสานโดยไม่ระบุถึง “คนลาว” ซึ่งนักวิชาการทั้งสองฟันธงว่าส่อถึงเจตนาผนวกดินแดน ทั้งยังชี้ว่ามีการปิดกั้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สยามได้จากลาวผ่านสินค้า มูลค่าสูง อาทิ ไม้สัก หนัง ครั่ง ฯลฯ และเน้นว่าทั้งหมดนี้เป็นความพยายาม “กลืนกินลาว”

เป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์ขณะมีพระชนมายุ ๕๙ พรรษาตัดสินพระทัยกู้เอกราช

คำ อธิบายนี้สอดคล้องกับหลักฐานมุขปาฐะชิ้นหนึ่งคือ “พื้นเวียง” วรรณกรรมที่แพร่หลายในอีสานและลาวซึ่งปัจจุบันมีการรวบรวมและพิมพ์เป็นเล่ม นักวิชาการเชื่อว่าแต่งขึ้นหลังเจ้าอนุวงศ์สวรรคต ลักษณะเป็นโคลงไม่เคร่งฉันทลักษณ์ใช้ชื่อรหัสแทนบุคคลและเมืองต่าง ๆ มีหลายสำนวน ร้องเป็นกลอนรำ

“พื้น เวียง” เล่าว่า ชนวนสงครามเกิดขึ้นตั้งแต่หลวงยกกระบัตรเมืองโคราช (พระยากำแหงสงคราม) กดขี่ข่า (คนพื้นเมืองในภาคอีสาน) จนเกิดการต่อต้านโดยภิกษุสา (อ้ายสาเกียดโง้ง) ในปี ๒๓๖๐ หลวงยกกระบัตรแทนที่จะสู้ก็ยุให้ภิกษุสายึดบาศักดิ์ (จำปาศักดิ์) จนเจ้าอนุรุทราช (เจ้าอนุวงศ์) ปราบได้ ทำให้พระราชโอรสได้ครองบาศักดิ์ แต่หลวงยกกระบัตรกลับไม่ถูกลงโทษ ซ้ำยังยุให้เจ้าแผ่นดินสยามสักเลกคนในหัวเมืองลาวอันนำมาสู่การทำสงครามใน ที่สุด

จะ มีข้อขัดแย้งคือ “พื้นเวียง” สำนวนอุบลราชธานีกลับให้ภาพเจ้าอนุวงศ์ในด้านลบ โดยระบุว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากความทะเยอทะยานของเจ้าอนุวงศ์เอง ซึ่งถ้าสืบกลับไปจะพบว่าอุบลราชธานีนั้นเดิมคือ “ดอนมดแดง” เมืองที่พระวอพระตา (หรือพระวรปิตา) ซึ่งขัดแย้งกับพระเจ้าสิริบุญสาร อพยพผู้คนมาสร้างเมืองและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าตากสิน ก่อนที่ต่อมาพระเจ้าสิริบุญสารจะส่งกองทัพมาโจมตีจนเป็นชนวนศึกระหว่างกรุง ธนบุรีกับเวียงจันทน์เมื่อปี ๒๓๒๒

อย่าง ไรก็ตาม เรื่องการสักเลกในมุมมองนักวิชาการไทยอย่าง ผศ. สุวิทย์ ธีรศาศวัต อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลับเห็นต่าง เขาชี้ว่าโดยเจตนาสยามไม่ต้องการกลืนลาวด้วยการสักเลก เพียงแต่ตอนนั้นกรุงเทพฯ พยายามเก็บภาษีให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

“เพราะ สมัยก่อนไม่มีการทำสำมะโนประชากร หัวเมืองแจ้งจำนวนอย่างไรเมืองหลวงก็เชื่อ ผมมีหลักฐานว่าเจ้าเมืองอีสานยุคนั้นคอร์รัปชันเยอะเวลาเก็บภาษี การสักเลกคือการลงทะเบียนคนเหมือนเกณฑ์ทหาร ต่างก็แต่สักเลกเอาแรงงานเฉพาะเมืองใกล้ ๆ พวกเมืองไกลส่งของมีค่าแทน มองอย่างเป็นกลาง ถ้าจะกลืนกันจริงต้องทำแบบที่เว้ทำกับกัมพูชาสมัยรัชกาลที่ ๒ ตอนนั้นพระอุทัยราชาไปฝักใฝ่ราชสำนักเว้ ปล่อยให้ทหารจากอาณาจักรนี้คุมเมืองต่าง ๆ บางคนเป็นเจ้าเมือง ทุกเดือนขุนนางกัมพูชาต้องเอาหัวโขกพื้นคำนับฮ่องเต้เว้ มีการเอากฎหมายเว้มาใช้ แต่สยามปกครองอีสาน ลาว ไม่เคยเปลี่ยนระบบใด ๆ”

ผม ยังพบ “พงศาวดารกระซิบ” ที่เล่าสาเหตุของสงครามแตกต่างออกไป โดยอาจารย์ศรีศักรให้ข้อมูลว่าทุกวันนี้คนเฒ่าคนแก่ในเวียงจันทน์ยังมีตำนาน เล่าต่อกันมาว่า เหตุของสงครามเกิดจากเจ้าอนุวงศ์ทรงขอเจ้าหญิงองค์หนึ่งที่ทรงหมั้นไว้ ตั้งแต่อยู่เวียงจันทน์คืน

“สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่ามีมิติความขัดแย้งระหว่างเครือญาติ”

จะ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๓๖๙ นั้นมีหลักฐานชั้นต้นชิ้นหนึ่งที่อาจบอกเราได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ได้พัฒนาไปสู่จุดแตกหัก ด้วยในปีนั้นเจ้าอนุวงศ์โปรดให้หล่อพระพุทธรูปสำริดองค์หนึ่ง ที่ฐานพระพุทธรูปจารึกว่า

สมเด็จ พระราชเชฏฐา เจ้ามหาชีวิตอนุวงศ์แห่งราช-อาณาจักรเวียงจันท์ ให้หล่อขึ้นในปี จ.ศ. ๑๑๘๘ (พ.ศ. ๒๓๖๙) เทียม (แทน) พระแก้วมรกตเจ้า

พระพุทธรูปสำริดองค์นี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

สิ่ง นี้อาจแสดงถึงความคับข้องใจต่อการกระทำของสยามที่พระองค์ทรงรับรู้มาแต่ยัง ทรงพระเยาว์ นั่นคือการอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรี พร้อมกับพระองค์ในฐานะ “องค์ประกัน” นั่นเอง

สถูป บรรจุอัฐิคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ที่วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทุกวันนี้ยังคงมีผู้ศรัทธามากราบไหว้อย่างไม่ขาดสาย เ่ช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโคราช

อนุสรณ์ สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ที่บ้านสัมฤทธิ์ หมู่ที่ ๑ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลของครัวโคราช อันเป็นจุดเปลี่ยนทำให้เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ประวัติศาสตร์ชาตินิยมระบุว่าคุณหญิงโมออกอุบายให้หญิงสาวล่อลวงทหารลาวจน ตายใจ แล้วก่อการจลาจล ขณะที่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่่ศึกษาหลักฐานทั้งหมดพบว่าเหตุการณ์จลาจลมี จริง แต่คำถามคือวีรกรรมท้าวสุรนารีเกิดขึ้นจริงหรือไม่

ทุ่ง สัมฤทธิ์ จุดที่ครัวโคราชก่อการจราจลต่อต้านทหารเวียงจันทน์ เป็นส่วนหนึ่งของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” แหล่งปลูกข้าวที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก ภาพนี้ถ่ายช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวปี ๒๕๕๑ ท่ามกลางน้ำเจิ่งนองจากพายุ กลางทุ่งนาเวิ้งว้างเช่นนี้เองที่ “อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์” ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีซึ่งยังไม่มีบทสรุปว่าเกิด ขึ้นจริงหรือไม่

ศึกเจ้าอนุวงศ์ พุทธศักราช ๒๓๖๙

ปลายฤดูแล้ง พุทธศักราช ๒๓๖๙ สงครามครั้งใหญ่ระหว่างเวียงจันทน์กับกรุงเทพฯ เริ่มต้นขึ้น

“เริ่ม จากระดมพลจากเมืองใต้บังคับบัญชามาไว้ที่เวียงจันทน์กับจำปาศักดิ์เพื่อฝึก ทหาร แล้วส่งขุนนางกับทหารส่วนหนึ่งออกไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองในภาคอีสานให้เข้า ร่วม การตีกรุงเทพฯ ตีได้ก็ดี ถ้ามีการป้องกันเข้มแข็งก็ไม่ตี แต่จะกวาดต้อนประชากรหัวเมืองรายทางที่กองทัพผ่านกลับมาไว้ที่เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์” อาจารย์สุวิทย์วิเคราะห์ยุทธวิธีของเจ้าอนุวงศ์ และเล่าว่าจากการศึกษาพบว่าเจ้าอนุวงศ์ยังส่งทูตไปถึงหัวเมืองเหนือเพื่อชัก ชวนให้เข้าโจมตีสยามพร้อมกันด้วย

ไม่ ต่างจากครั้งสมเด็จพระนเรศวรยกทัพจากหงสาวดีกลับอยุธยา สิ่งที่เจ้าอนุวงศ์ทรงทำเมื่อเสด็จฯ กลับเวียงจันทน์คือรวมกำลังคนจากหัวเมืองต่าง ๆ มาไว้ที่เมืองหลวงและเมืองสำคัญ ต่างก็แต่ต้องทรงเล่นการเมืองกับรัฐลาวที่ไม่เป็นเอกภาพและเลือกเปิดเกมรุก โดยบุกอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กรุงเทพฯ ตั้งตัว

อานามสยามยุทธ บันทึกการรบระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ ซึ่ง “ก.ศ.ร. กุหลาบ” เขียนเสร็จเมื่อปี ๒๔๔๗ โดยเจ้าตัวอ้างว่านำข้อมูลมาจากเอกสารของเจ้าพระยาบดินทรเดชา แม่ทัพใหญ่ที่เป็นกำลังหลักในการบุกเวียงจันทน์ ระบุแนวพระราชดำริในเชิงยุทธศาสตร์ของเจ้าอนุวงศ์เอาไว้ว่า

“ทุก วันนี้ที่กรุงเทพมหานครมีแต่เจ้านายเด็ก ๆ หนุ่ม ๆ ที่ไม่ชำนาญในการทัพศึกเลย แต่ขุนนางผู้ใหญ่ก็มีน้อยตัวแล้ว ฝีมือทัพศึกก็อ่อนแอ เพราะว่างเว้นการศึกมาช้านาน…กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ก็หย่อนกำลังลงกว่าแต่ก่อนมาก อนึ่งเดี๋ยวนี้เจ้าพระยานครราชสีมาก็ไม่อยู่ที่บ้านเมืองนครราชสีมา เพราะไปขัดตาทัพอยู่ไกลบ้านเมืองเขา ตามหัวเมืองรายทางก็ไม่มีที่กีดขวางเลย การเป็นทีเราหนักหนาแล้ว ไม่ควรเราจะเป็นเมืองขึ้นกับกรุงเทพมหานครต่อไป อนึ่งเราได้ยินข่าวทัพเรือพวกอังกฤษ ก็มารบกวนปากน้ำกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ เห็นเป็นทีเราหนักหนา น่าที่เราจะยกทัพใหญ่ลงไปตีกรุงเทพฯ ก็เห็นจะได้โดยง่าย เพราะเราจะเป็นทัพกระหนาบทัพอังกฤษ…”

แม้ จะมีน้ำหนักน้อยด้วยเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังเหตุการณ์ถึงเกือบศตวรรษ จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ “กุ” ขึ้น แต่ก็นับว่าเป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่กล่าวถึงพระราชดำริของเจ้าอนุวงศ์อย่าง ชัดเจน สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของอาจารย์สุวิทย์ ทั้งนี้อาจารย์ยังระบุว่าทัพเจ้าอนุวงศ์น่าจะมีกำลังพลราว ๑.๗-๓.๕ หมื่นคน และในการบุกเข้าตีจะใช้ ๒ เส้นทางหลักในการเดินทัพ

เส้น ทางแรก แยกเป็น ๒ กองทัพ ทัพแรกเดินจากเวียงจันทน์-หนองบัวลำภู-โคราช ทัพที่ ๒ เดินจากสกลนคร-กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ไปบรรจบกับทัพแรกที่โคราช

เส้น ทางที่ ๒ ยกทัพจากจำปาศักดิ์-อุบลราชธานี แล้วแยกเป็น ๒ ทาง คือไปสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือจังหวัดร้อยเอ็ด) อีกส่วนมุ่งไปศรีสะเกษ ขุขันธ์ สังขะ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นางรอง

การ เคลื่อนทัพระยะแรกเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-มกราคม พ.ศ. ๒๓๖๙ (นับปีตามปฏิทินแบบไทยเดิม)โดยจะระดมกำลังและฝึกทหาร ๓ เดือน ก่อนเข้ายึดเมืองต่าง ๆ

ทัพใหญ่ของเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดโคราชได้อย่างสมบูรณ์ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ และส่งทัพหน้ามากวาดต้อนผู้คนลึกถึงสระบุรี

พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๑

การยึดครองโคราชครั้งนั้นยังชัดเจนในความทรงจำของคนยุคปัจจุบัน

ผ่าน ตำราเรียน แล้วส่งต่อไปยังความทรงจำของคนโคราชที่นิยามตนเป็นลูกหลานย่าโม–ท้าวสุ รนารี สตรีที่นักประวัติศาสตร์สำนักชาตินิยมยกย่องเป็น “วีรสตรีแห่งชาติไทย” จากการนำครัวโคราชลุกขึ้นต่อต้านทหารลาวที่ทุ่งสัมฤทธิ์จนกลายเป็นจุด เปลี่ยนของสงคราม

คน โคราชที่ผมสนทนาด้วยทุกคนจำเหตุการณ์นี้ได้แม่นยำราวกับเกิดร่วมยุค ทุกคนเล่าเหตุการณ์ “วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์” ได้เป็นฉาก และที่น่าสนใจคือยังมีวีรกรรม “นางสาวบุญเหลือ” ร่วมอยู่ด้วย

เรื่องเล่าของลุงประสิทธิ หมอสัมฤทธิ์ เกษตรกรที่ทุ่งสัมฤทธิ์ หมู่ที่ ๑ บ้านสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย อาจเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด

“ตอน นั้นเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมากวาดต้อนผู้คน ปลัดทองคำ สามีคุณหญิงโม ไปราชการที่กรุงเทพฯ คุณหญิงโมกับญาติ ๆ ก็โดนกวาดต้อนไปเวียงจันทน์พร้อมคนโคราช พอครัวมาถึงที่นี่ก็พักแรม ย่าโมออกอุบายให้ทำเหล้า ตัดไม้รวกเหลาให้แหลม มอมเหล้าทหารลาว ให้นางสาวบุญเหลือปรนนิบัติเพี้ยรามพิชัย ได้ทีท่านก็ให้สัญญาณ เพี้ยรามพิชัยรู้ตัว ย่าเหลือก็วิ่งไปเจอดินปืนกองใหญ่เลยเอาดุ้นไฟแหย่จนระเบิดตายพร้อมเพี้ยราม พิชัย จากนั้นปลัดทองคำก็นำกำลังมาช่วยจึงชนะทหารลาว เอาหัวไปทิ้งที่หนองหัวลาวใกล้ ๆ นี้ สมัยก่อนเจอกะโหลกมนุษย์ในดินมากมาย”

ทุ่ง สัมฤทธิ์วันนี้จึงปรากฏ “อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์” เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น ส่วนหนองหัวลาวก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่อยู่ถัดไปไม่ไกลนัก

แล้วหลักฐานที่เกี่ยวข้องเล่าเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

หลักฐานร่วมสมัยอย่าง จดหมายเหตุนครราชสีมา ต้นฉบับเป็นสมุดไทยดำ ระบุคำให้การขุนโอฐบันทึกในใบบอกว่า “เวลาเช้าตรู่ พระยาปลัด พระยายกกระบัตรกรมการต่างคนต่างยิงปืนคนละนัด พวกครัวก็เข้าฟันแทง ทั้งพระสงฆ์ เถร เณร ผู้หญิงในครัว หนุนโห่ร้องไล่อ้ายลาวแตก”

อีกชิ้นหนึ่งคือ คำให้การอ้ายพระยานรินทร์ แม่ทัพลาวที่ถูกจับในคราวนั้น อ้างพระราชดำรัสเจ้าอนุวงศ์ว่า “อ้ายอนุบอกข้าพเจ้าว่าครัวเมืองโคราชซึ่งให้เพี้ยรามพิชัยคุมไพร่ ๒๐๐ คนไปถึงบ้านสัมริด พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเสียหมดแล้ว ให้อ้ายสุทธิสารคุมไพร่ ๒,๐๐๐ คน มีปืน ๒๐๐ บอก ยกไปรบกับครัวโคราช ณ บ้านสัมริด อ้ายสุทธิสารแตกหนีมา พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเป็นอันมาก”

เอกสาร ทั้ง ๒ ชิ้นไม่เอ่ยถึงวีรกรรมคุณหญิงโมเลย แต่เราจะไปพบเรื่องนี้ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ซึ่งกล่าวถึงบทบาทหลักในการวางแผนจลาจลว่าตกอยู่กับพระยาปลัดและพระยาพรหม ยกกระบัตรโดยมี “ท่านผู้หญิงโม้” เป็นกองหนุน ส่วนหลักฐานฝ่ายไทยที่ให้บทบาทคุณหญิงโมเป็นตัวเอกปรากฏในปี ๒๔๙๔ คือ ประวัติท้าวสุรนารี ของพันตรีหลวงศรีโยธา

กลับ กันกับหลักฐานฝ่ายลาวซึ่งไม่พบภาพคุณหญิงโมเลย ประวัติศาสตร์ลาว กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างรวบรัดว่า ทัพเจ้าอนุวงศ์ถูกกองทัพกรุงเทพฯ ยกตามตีเมื่อมาถึงเมืองโคราช

ส่วน เรื่องนางสาวบุญเหลือ หรือ “ย่าเหลือ” ไม่ปรากฏในหลักฐานใด ๆ ยกเว้นหลักฐานที่ทำขึ้นหลังปี ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ต่อกรณีนี้ผมยังพบเอกสารราชการที่กระทรวงวัฒนธรรมติดต่อกับจังหวัด นครราชสีมาในปี ๒๕๐๐ เรื่องการสำรวจสถานที่เกิดวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์เพื่อหา “สถานที่สู้รบของท่านท้าวสุรนารี ‘วีรสตรี’ ซึ่งมีชัยชนะต่อเจ้าอนุเวียงจันทน์ข้าศึกผู้รุกรานชาติไทยในปี ๒๓๖๙…”

ซึ่ง ต่อมาทำให้เกิดการค้นพบสถานที่ที่ทุกวันนี้กลายเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถาน วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ โดยอ้างการค้นพบหลักฐานเป็นกระดูกมนุษย์จำนวนมาก

จะว่าไปทั้งเรื่องวีรกรรมท้าวสุรนารีและนางสาวบุญเหลือเป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางมาแล้วในปี ๒๕๓๙ เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของ สายพิน แก้วงามประเสริฐ ที่ได้นำเสนอหลักฐานอย่างรอบด้านพร้อมกับตั้งคำถามเรื่อง “ชาติ” รวมถึงวีรกรรมของคุณหญิงโมว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ จนส่งผลให้เจ้าตัวซึ่งขณะนั้นเป็นครูมัธยมฯ ถูกย้ายออกจากพื้นที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมงเพื่อความปลอดภัย หลังคนโคราชกลุ่มหนึ่งเผาพริกเผาเกลือสาปแช่ง แต่หนังสือดังกล่าวก็กลายเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

อย่าง ไรก็ตาม หลักฐานทุกชิ้นชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าเกิดการจลาจลขึ้น ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์ตัดสินพระทัยถอยทัพจากโคราชในช่วงปลายเมษายน พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยขณะเดินทัพกลับเวียงจันทน์ได้ตั้งค่ายสกัดทัพสยามที่จะตามไปในจุด ยุทธศาสตร์สำคัญ

ทั้ง นี้เหตุที่เจ้าอนุวงศ์พลาดจนต้องถอยทัพ อาจารย์สุวิทย์ชี้ว่ามาจากการกวาดต้อนผู้คนจำนวนมากจากหัวเมืองถึง ๓๕ แห่งทั้งที่มีกำลังทหารจำกัด ทำให้ต้องแบ่งทหารคุมการอพยพครัวที่มีราว ๕-๙ หมื่นคน ซึ่งถือเป็นสิ่งบั่นทอนกำลังทัพ ทั้งก็มีคนบางส่วนไม่เต็มใจอพยพทำให้การคุมครัวยากขึ้นอีก จนเมื่อให้ทหาร ๒๐๐ คนคุมครัว ๘,๐๐๐ คนจากโคราชไปยังทุ่งสัมฤทธิ์แล้วเกิดการจลาจลต่อต้าน พอเจ้าอนุวงศ์ส่งทหารตามไปปราบก็ล้มเหลว สิ่งที่ตามมาคือความหวาดระแวง ต้องเพิ่มกำลังทหารดูแลการอพยพครัวชุดอื่น ๆ และทำให้ยุทธศาสตร์การบุกเสียหายจนต้องถอยทัพ

“ช่อง ข้าวสาร” ในปัจจุบัน หรือ “ช่องเขาสาร” ในอดีต หนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่กองทหารสยามเดินทัพผ่าน เมื่อพ้นช่องเขานี้จะเป็นทางราบยาว ๘๐ กิโลเมตรเข้าสู่เวียงจันทน์ จุดนี้มีการวางกำลังทหารลาวไว้จำนวนมาก แต่เมื่อค่ายที่บ้านส้มป่อยแตก กำลังส่วนนี้ก็ถูกถอนไปโดยปริยาย

หลัก เขตเก่าของเมืองท่าแขกริมน้ำโขง ตรงข้าม จ.นครพนม ของไทยในอดีตคือส่วนหนึ่งของเส้นทางที่เจ้าอนุวงศ์ล่องเรือผ่าน แล้ววกเข้าสู่ปากแม่น้ำเซบั้งไฟ เพื่อเดินทางเข้าสู่เมืองมหาชัยกองแก้วที่อยู่ทางทิศตะวันออก

ส่วนหนึ่งของเส้นทางลี้ภัยของเจ้าอนุวงศ์ ลัดเลาะไปตามเทือกเขาที่สูงที่สุดทางตอนเหนือของประเทศลาว

ความปราชัยบนที่ราบสูง

“ใน สายตาสยาม ศึกคราวเจ้าอนุวงศ์เป็นเรื่องใหญ่มาก เห็นได้จากคำสั่งเกณฑ์พลเมืองในภาคกลาง เหนือ ใต้ จากนั้นยกทัพไป ๕ ทาง ทางแรก เข้าทางอีสานใต้ ผ่านประโคนชัย บุรีรัมย์ ตีค่ายมูลเค็งที่พิมาย สุวรรณภูมิ ยโสธร อุบลราชธานี จำปาศักดิ์ แล้วไปตามลำน้ำโขง แม่ทัพสายนี้คือพระยาราชสุภาวดี (ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ทางที่ ๒ เป็นทัพหลวง นำโดยกรมพระราชวังบวรฯ มหา-ศักดิพลเสพ เข้าทางปากช่อง โคราช ตีค่ายที่หนองบัวลำภู มุ่งตรงสู่เวียงจันทน์ ทางที่ ๓ ยกผ่านสระบุรี ด่านขุนทดไปรวมกับทัพที่ ๒ ทางที่ ๔ ตีหล่มสัก เพชรบูรณ์ ทางที่ ๕ เป็นทัพเมืองเหนือยกจากพิษณุโลกเข้าตีหล่มสัก แบ่งส่วนหนึ่งไปทางด่านซ้าย มุ่งหน้าสู่กรุงเวียงจันทน์”

อาจารย์ สุวิทย์ให้ภาพการตอบโต้ของกรุงเทพฯ พร้อมอธิบายว่าพอเคลื่อนทัพไปไม่นาน รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงเรียก ๒ ทัพกลับมาป้องกันกรุงเทพฯ ด้วยมีข่าวว่าอังกฤษอาจยกทัพเรือมาโจมตีสยาม

และ ชี้ว่าสมรภูมิตัดสินการศึกครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แต่อยู่ที่บ้านส้มป่อยและช่องเขาสารซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของกรม พระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพ

สถาน ที่ทั้ง ๒ แห่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู บ้านส้มป่อยอยู่ในอำเภอสุวรรณคูหา ส่วนช่องเขาสารปัจจุบันคือช่องเขาเชื่อมระหว่างบ้านนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู กับบ้านหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี คนท้องถิ่นเรียก “ช่องข้าวสาร”

กาง แผนที่ทหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะพบเทือกเขาเตี้ย ๆ แนวหนึ่งชื่อภูพาน วางตัวทอดยาวจากเหนือจรดใต้กั้นระหว่างหนองบัวลำภูกับอุดรธานีและหนองคาย

“ช่อง ข้าวสาร” เป็นช่องเขาธรรมชาติไม่กี่แห่งที่เหมาะแก่การยกพลช้างม้าและไพร่พลผ่านไปได้ อย่างสะดวก จึงถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญถัดจากค่ายที่บ้านส้มป่อย

“บ้าน ส้มป่อยเป็นค่ายใหญ่ ทัพหน้าของสยามเกือบแพ้ที่นี่เพราะลาวมีกำลังหนุนจากช่องเขาสาร แต่เมื่อทัพหนุนของสยามไปทัน ค่ายที่บ้านส้มป่อยก็แตก ค่ายช่องเขาสารถูกทิ้ง เมื่อผ่านตรงนี้ได้จะเป็นทางราบยาว ๘๐ กิโลเมตรไปจนถึงเวียงจันทน์” อาจารย์สุวิทย์อธิบายความสำคัญทางยุทธศาสตร์

ตาม เส้นทางถอยทัพเจ้าอนุวงศ์ ปัจจุบันถ้าเราขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๘ จากโคราชเข้าสู่ชัยภูมิและหนองบัวลำภู จากจุดนี้จะสามารถตามรอยกองทัพไปยังบ้านส้มป่อยและช่องเขาสารได้โดยใช้ทาง หลวงหมายเลข ๒๐๙๗

สมภาร โวหารา คนเลี้ยงวัวที่ช่องเขาสาร เล่าตำนานที่อาจตกค้างมาจากสงครามครั้งอดีตให้ฟังว่า “ดนแล้ว (นานแล้ว) คนแก่เล่าว่ามีข้าวสารผุดขึ้นจากบ่อน้ำแถวนี้ เลยเรียก ‘ช่องข้าวสาร’ มีคนเว้า (พูด) ต่อมาว่าตรงนี้เป็นเส้นทางเดินทัพเก่า แต่ไม่รู้ว่าใครรบกับใคร”

ที่น่าสนใจคือลุงสมภารบอกว่าหลายสิบปีก่อนเคยมีการขุดพบไหบรรจุลูกปืนใหญ่ด้วย

ขณะที่ทัพของเจ้าอนุวงศ์ตามจุดต่าง ๆ ในภาคอีสานพ่ายแพ้ ภายในทัพสยามเองก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา

จดหมาย รับสั่งของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถึงกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ กรมหมื่นรักษรณเรศร ให้กราบบังคมทูลราชการศึกระบุว่า หลังส่งกำลังข้ามโขงไปยึดเวียงจันทน์แล้ว ก็พบกับท่าทีไม่น่าไว้วางใจของทัพหัวเมืองเหนือที่มาช่วยราชการศึกด้วย “…ฝ่ายทัพพุงดำ ๕ หัวเมืองและหัวเมืองหลวงพระบางนั้น ถ้าทัพหลวงไม่ได้เมืองเวียงจันท์ ก็หามีผู้ใดมาถึงเมืองเวียงจันท์ไม่ แต่จะคอยเก็บครอบครัวช้างม้าอยู่ริมเขตแดนคอยทีไหวพริบเป็น ๒ เงื่อน แต่บัดนี้ใช้สอยได้เป็นปกติต้องขู่บ้าง ปลอบบ้าง แต่ยังดูน้ำใจทั้ง
๖ หัวเมือง เมืองหลวงพระบางอ่อนนัก เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน ๒ เมืองนี้ ก็สุดแต่เมืองลคร เมืองแพร่นั้นตามธรรมเนียม แต่เมืองน่านนั้นการเดิมไหวอยู่…”

ข้อ ความนี้สะท้อนความเป็นเอกเทศของทัพจากหัวเมืองในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ได้เป็นอย่างดี ด้วยสมัยนั้นพลทหารและแม่ทัพของทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ฯลฯ มิได้จินตนาการว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของ “กองทัพแห่งชาติ” ของ “ประเทศไทย” เหมือนสมัยนี้ สิ่งที่แม่ทัพต้องทำคือ หาจังหวะเก็บ “ผู้คนและช้างม้า” ทรัพยากรสำคัญโดยพยายามให้เสียหายน้อยที่สุด ส่วนแม่ทัพจากเมืองหลวงก็ต้องคอยระมัดระวังท่าทีของทัพเหล่านี้โดยธรรมชาติ

ทัพ สยามก็ทำสงครามตามคตินี้ จดหมายรับสั่งฯ บันทึกว่า เมื่อทัพหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ เข้าเวียงจันทน์ได้ก็กวาดต้อนผู้คน ช้างม้า หลอมปืนใหญ่เอาทองคำ ยึดพระเสริม พระแซ่คำ สร้างเจดีย์ “จารึกพระนามว่าเจดีย์ปราบเวียงและความชั่วอ้ายอนุไว้ในแผ่นศิลาให้ปรากฏ อยู่ชั่วฟ้าและดิน”

หลักฐานลาวอย่าง พระราชปวัตของสมเด็ดพระเจ้าอะนุวงส์ฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทัพสยาม “ตัดต้นหมากรากไม้ที่มีผลเสียหมด เอาไฟจุดสุมเมืองเสียและให้ทำลายกำแพงเมืองลงหมดเกลี้ยง”

ถือเป็นการทำลายเวียงจันทน์ครั้งที่ ๒ นับจากปี ๒๓๒๒

ทว่า แม้ทำลายเมืองได้ ในทัศนะกรมพระราชวังบวรฯ การศึกครั้งนี้กลับไม่คุ้ม จดหมายรับสั่งฯ สะท้อนพระราชดำริว่า “…ได้เมืองเวียงจันท์แต่เปลือกเมือง ครอบครัวก็อพยพหนีไปจนสิ้น บัดนี้ครอบครัวก็ยังปะปนกันอยู่กับครัวเมืองนครราชสีมา เมืองสระบุรี เมืองหล่มศักดิ์ เมืองลาว เมืองเขมร ฝ่ายตะวันออก การซึ่งจะทำให้แล้วโดยเร็วหาได้ไม่…ครั้นจะคิดให้ตั้งเมืองเวียงจันท์ไว้ เกลี้ยกล่อมก่อน ก็หามีผู้ใดอยู่รักษาไม่…จึ่งให้ทำลายเมืองเวียงจันท์เสียให้สิ้นอาลัย”

อันหมายถึงกำลังคนที่กวาดต้อนได้มีไม่มาก เจ้าอนุวงศ์ก็ทรงหนีไปแล้ว

การยึดและรักษาพื้นที่ “เหนือดินแดนทุกตารางนิ้ว” ก็มิใช่เป้าหมายหลักแต่อย่างใด

เส้น ทางต่อจากเมืองไซบัวทอง มองตามภูมิประเทศแล้วจะพบทางราบลัดเลาะตามช่องเขาขึ้นเหนือ ไปจนถึงเมืองคำเกิดที่อยู่ห่างจากเมืองเหงะอาน ๒๐ กิโลเมตร

เมือง คำเกิด หรือปัจจุบันคือ “หลักซาว” ชื่อเมืองนี้แปลว่่าหลักกิโลเมตรที่ ๒๐ จากชายแดนทิศตะวันออก เป็นปากทางเข้าสู่เมืองเหงะอาน (วินห์) ของเวียดนาม

เมือง หลักซาวในประเทศลาว ทุกวันนี้คึกคักด้วยยวดยานพาหนะ และผู้คน ในอดีตคือเมืองคำเกิดซึ่งอยู่บนเส้นทางลี้ภัยการเมืองของเจ้าอนุวงศ์

การทูต “สองฝ่ายฟ้า”

เจ้าอนุวงศ์เสด็จฯ ออกจากเวียงจันทน์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ ก่อนเสียเมือง ๓ วัน

พงศาวดาร ไทยและลาวระบุตรงกันว่า พระองค์ลงเรือล่องแม่น้ำโขงไปทางใต้ จากนั้นลี้ภัยไปที่เมืองเหงะอาน (Nge-An) ของเวียดนาม (ปัจจุบันคือเมืองวินห์ ทางภาคเหนือของเวียดนาม) เนื่องเพราะครั้งหนึ่งพระอัยกาในเจ้าอนุวงศ์คือ “พระไชยองค์เว้” เคยเสด็จลี้ภัยการเมืองอยู่ช่วงหนึ่ง สายสัมพันธ์กับเวียดนามจึงแนบแน่นมาแต่อดีต

จาก การสำรวจเส้นทางผมพบว่า เจ้าอนุวงศ์ต้องล่องแม่น้ำโขงลงไปจนถึงปากแม่น้ำเซบั้งไฟที่อยู่ห่างเมือง ท่าแขกและนครพนมลงไปทางใต้ราว ๖๐ กิโลเมตร จากนั้นต้องทวนน้ำไปถึงเมืองมหาชัยกองแก้วที่วันนี้มีสภาพเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ เข้าถึงได้ด้วยถนนลูกรังที่ใช้การได้เฉพาะฤดูแล้ง

ต่อ จากนั้นเส้นทางที่ดีที่สุดคือเดินไปทางตะวันออกข้ามทิวเขาสูงที่ด่านเมืองนา พาว อีกทางหนึ่งลงเรือล่องแม่น้ำเทินที่ไหลไปทางเหนือ เดินเลียบลำน้ำพาวไปทางตะวันออกจนถึงด่านน้ำพาวแล้วเข้าสู่เมืองเหงะอาน

ที่ จริงตั้งแต่สงครามกรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ระเบิดขึ้น ราชสำนักเว้ก็ส่งสัญญาณไม่พอใจผ่านช่องทางการทูตเป็นระยะ ด้วยถือว่าเวียงจันทน์เป็นประเทศราชของตนเช่นเดียวกับสยาม ดังนั้นการรับอุปการะเจ้าอนุวงศ์จึงถือเป็นเรื่องปรกติอย่างยิ่ง

ปฏิกิริยา แรก ๆ อย่างเป็นทางการของเว้เกิดขึ้นระหว่างทัพพระยาราชสุภาวดีซึ่งแยกกันเดินทัพ กับทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพไปหยุดพักไพร่พลที่นครพนม สัตตะคุณเตียนยิน แม่ทัพเวียดนาม ส่งหนังสือถึงพระสุริยภักดี นายทัพของพระยาราชสุภาวดี มีเนื้อความว่า “เมืองเวียงจันท์ก็เป็นแดนกรุงเวียดนาม บัดนี้แม่ทัพใหญ่ใช้ให้ข้าพเจ้าคุมกองทัพบกมา ๒๐,๐๐๐ เศษ มาตั้งอยู่เมืองตามดอง” และยื่นคำขาดให้ “ยกกองทัพกลับไปอยู่แดนของท่าน และท่านกวาดเอาครอบครัวแดนญวนไปไว้เท่าใดขอให้ส่งคืนมาแดนญวน ทางไมตรีจะได้รอบคอบยืนยาวเสมอไป ถ้าท่านไม่ฟังข้าพเจ้าก็ไม่ละ ถ้าองกินเลือกแม่ทัพใหญ่ยกลงมาถึงแล้วก็จะไม่ฟังกัน”

ทว่า พระยาราชสุภาวดีไม่สนใจ รีบยกทัพไปสมทบทัพหลวง เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จกลับ พระยาราชสุภาวดีก็ยังอยู่กวาดต้อนผู้คน แต่งตั้งเพี้ยเมืองจันรักษาเมือง ตามหาพระบางจนพบและเชิญลงมากรุงเทพฯ พร้อมเจ้าอุปราช พระอนุชาต่างพระราชมารดาในเจ้าอนุวงศ์ที่เข้ามาร่วมระหว่างสงคราม

ท่าทีอย่างเป็นทางการจากกรุงเทพฯ เกิดขึ้นเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ ยกทัพถึงกรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ระบุว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๓ ทรงให้ขุนนางมีหนังสือถึงองเลโบ “เรื่องเวียงจันทน์เป็นกบฏ” บอกว่าเจ้าอนุวงศ์หนีไปในแดนญวน สยามเห็นแก่ไมตรีจึงไม่ติดตาม และฝากให้ทูลพระเจ้าเวียดนามตามความดังกล่าว พระบาท-สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดให้พระยาราชสุภาวดียกทัพไป ทำลายเวียงจันทน์อีก พระองค์กริ้วเพราะจับเจ้าอนุวงศ์ไม่ได้ ทั้งเวียงจันทน์เคยกระด้างกระเดื่องมาแล้ว ๒ ครั้ง “ไม่ควรจะเอาไว้เป็นบ้านเมืองให้อยู่สืบไป ให้กลับขึ้นไปทำลายล้างเสียให้สิ้น…”

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้เบาะแสใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระนิพนธ์ว่า ที่รัชกาลที่ ๓ กริ้วเนื่องจากคราวเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้ง เจ้าอนุวงศ์มีความชอบ รัชกาลที่ ๓ ขณะเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ส่งเสริมให้แต่งตั้งเจ้าราชบุตรโย้ พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ไปครองจำปาศักดิ์ แต่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีไม่เห็นชอบ เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสด็จฯกลับที่ประทับแล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีจึงมีรับสั่งในท้องพระโรงว่า

“อยาก จะรู้นัก ใครเป็นผู้จัดแจงเพ็ดทูลให้เจ้าราชบุตรเวียงจันทน์ไปเป็นเจ้าเมืองจำปา ศักดิ์ แต่เพียงพ่อมีอำนาจอยู่ข้างฝ่ายเหนือก็พออยู่แล้ว ยังจะไปเพิ่มเติมให้ลูกมีอำนาจโอบลงมาข้างฝ่ายตะวันออก…ต่อไปจะได้ความ ร้อนใจด้วยเรื่องนี้”

เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังคำพยากรณ์ พระองค์จึงกริ้วกว่ากรณีอื่น

แต่กว่าที่พระยาราชสุภาวดีจะไปถึงพันพร้าวอีกครั้งก็ลุเข้าสู่กลางปี ๒๓๗๑

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ เจ้าอนุวงศ์เสด็จฯ กลับถึงเวียงจันทน์พร้อมทหารลาวและเวียดนามจำนวนหนึ่ง ที่น่าสนใจคือเกิดบทสนทนาระหว่างแม่ทัพสยามที่นำทหารส่วนหนึ่งไปอยู่ที่วัด กลางในเวียงจันทน์กับตัวแทนฝ่ายเวียดนามที่มาไกล่เกลี่ย

ทูตเวียดนามกล่าวเปรียบ “สยาม” กับ “เวียดนาม” ว่าเหมือน “บิดา-มารดา” ของเวียงจันทน์

สะท้อนถึงจินตนาการของคนยุคโบราณเกี่ยวกับ “รัฐ” คนละแบบกับโลกยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน

และ มีการเสนอว่า “บิดาโกรธบุตรแล้วมารดาต้องพามาขอโทษ…พระเจ้ากรุงเวียดนามได้มีพระ ราชสาสน์ไปขอโทษอนุทางเรือ อนุเคยขึ้นแก่กรุงไทยอย่างไร ญวนก็ไม่ขัดขวาง ญวนต้องเอาธุระด้วยเมืองเวียงจันทน์เคยไปจิ้มก้อง ๓ ปี ครั้ง ๑”

บริเวณ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (นรข. หนองคาย) ส่วนหนึ่งเคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งค่ายของกองทัพจากกรุงเทพฯ คราวสงครามเมื่อปี ๒๓๗๐

พระรูป พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ นรข.หนองคาย แม้จะมิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุการณ์ในอดีตแต่ก็เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งพื้นที่แถบนี้ อยู่ในเขตอิทธิพลของเวียงจันทน์ ในยุคที่ “เส้นเขตแดน” และความคิดเรื่อง “ประเทศ” ยังไม่เกิด

บริเวณ ระเบียงคดที่แล่นล้อมโบสถ์วัดสีสะเกด ปัจจุบันเต็มไปด้วยซากพระพุทธรูปที่ถูกทำลายจากสงครามหลายครั้ง ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งกองทหารสยาม เมื่อคราวโจมตีเวียงจันทน์ครั้งสุดท้าย

ภาพลาย เส้นของ หลุยส์ เดอลาปอร์ต (Louis Delaporte) ขณะร่วมเดินทางกับคณะสำรวจแม่น้ำโขงของฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๔๐๙ – ๒๔๑๑ เผยให้เห็นระเบียงคดแล่นล้อมโบสถ์วัดสีสะเกด ที่ถูกทิ้งร้างในเวียงจันทน์ซึ่งเต็มไปด้วยพระุพุทธรูปเสียหายจำนวนมาก ภาพนี้เขียนขึ้นหลังสงครามครั้งสุดท้ายกับสยามผ่านมาแล้ว ๓๘ ปี ข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า “ทำให้นึกถึงการทำลายล้างอย่างเบ็ดเสร็จ” (โดยกองทัพสยาม) (ภาพจากหนังสือ A Pictorial Journey on the Old Mekong, White Lotus Press, 2006)

เจ้า หน้าที่ นรข.หนองคาย ลาดตระเวนพรมแดนไทยบริเวณแม่น้ำโข่ง ที่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเวียงจันทน์ พวกเขาทราบดีว่าความสัมพันธ์ไทย-ลาวนั้น มีปมขัดแย้งมากโดยเฉพาะกรณีเจ้าอนุวงศ์ พวกเขาแสดงความเป็นมิตรด้วยการเปลี่ยนสีเรือ เปลี่ยนชื่อหน่วยให้เป็นมิตรมากขึ้น เพื่อความสัมพันธ์อันดีของ ๒ ประเทศในโลกสมัยใหม่

การต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเจ้าอนุวงศ์

ต้นฤดูแล้ง พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผมอยู่ที่ค่ายของหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

เกือบ ๒ ศตวรรษก่อน บริเวณที่ผมยืนอยู่นี้อาจเป็นจุดหนึ่งที่พระยาราชสุภาวดียืนรอฟังข่าวจากกอง กำลังที่ส่งไปเวียงจันทน์ ก่อนที่ท่านจะเห็นทหารสยามราว ๔๐-๕๐ คนว่ายข้ามน้ำหนีตายกลับมา

ทั้ง นี้ก็เพราะจู่ ๆ ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ สถานการณ์ก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเจ้าอนุวงศ์ตัดสินพระทัยทำลายกองทหารสยามที่วัดกลางในเวียงจันทน์ ทำให้พระยาราชสุภาวดีจำต้องถอนกำลังกลับไปตั้งหลักที่ยโสธรและร้อยเอ็ด ปล่อยให้ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์บุกทำลายเจดีย์ปราบเวียง และทัพของเจ้าราชวงศ์ติดตามทัพสยามไปอย่างกระชั้นชิด จนเกิดรบขั้นตะลุมบอนที่ทุ่งบกหวาน (หนองคาย)

ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนหนึ่งของค่ายพันพร้าวอยู่ในเขตกองบัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบ เรียบร้อยตามลำน้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (นรข. หนองคาย) ซากเจดีย์ปราบเวียงและวัดที่พงศาวดารระบุว่ามีจารึกประจานเจ้าอนุวงศ์ และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตก่อนถูกอัญเชิญไปกรุงธนบุรี ยังคงปรากฏที่ริมน้ำ

หน้า เจดีย์มีป้าย “พระสถูปเจดีย์พระแก้วมรกต” ส่วนหน้าวัดมีป้าย “วัดพระแก้วเดิม (วัดศรีเชียงใหม่)” และมีศิลาทรายชื่อ “ศิลาจารึกวัดหอพระแก้ว” ตั้งอยู่ ที่น่าประหลาดคือมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ซึ่งชาวบ้านแถบนี้ให้ความนับถือโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นกษัตริย์ลาวหรือไทย ประดิษฐานอยู่ด้วย

นาวา เอก บรรพต เนตรกระจ่าง ผู้บังคับการ นรข. หนองคาย เล่าว่า นรข. หนองคายตั้งขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามสมัยสงครามเย็นอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ ที่ดินที่ตั้งวัดและเจดีย์อยู่ในความดูแลของกรมการศาสนา โดย นรข. หนองคายเช่าที่ดินและรับหน้าที่บำรุงรักษา เปิดให้ประชาชนทั่วไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โดยไม่ถือเป็นเขตหวงห้าม

“ก่อน เรามาตรงนี้เป็นวัดร้าง ถ้าย้อนไปในสมัยอดีตตรงนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ ด้านเหนือที่ติดกับแม่น้ำโขงจะเห็นเกาะกลางน้ำเรียกดอนจัน ในหน้าแล้งบางทีน้ำลดจนข้ามไปเวียงจันทน์ได้สะดวก”

อย่าง ไรก็ดี ท่านผู้บังคับการยอมรับว่าการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเจดีย์และวัดแห่ง นี้คงทำไม่ได้มาก เพราะนโยบายของรัฐบาลคือรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ทว่าประวัติโบราณสถานแห่งนี้กลับไปเกี่ยวพันกับสงครามไทย-ลาวในอดีตซึ่ง ละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยิ่ง

ย้อนกลับไปที่สถานการณ์สู้รบในปี ๒๓๗๑

ถึง แม้จะเป็นฝ่ายรุกไล่ แต่ในที่สุดเจ้าราชวงศ์ก็ต้องถอยทัพกลับเวียงจันทน์เมื่อประเมินกำลังแล้วพบ ว่าตกเป็นรอง ทำให้เจ้าอนุวงศ์ตัดสินพระทัยเสด็จลี้ภัยการเมืองในเวียดนามอีกครั้ง

ปลาย เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ ทัพสยามได้บุกเข้าทำลายเวียงจันทน์เป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนี้เองส่งผลให้เวียงจันทน์สิ้นสภาพเมืองอย่างสิ้นเชิง

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ระบุว่า “ทำลายบ้านเมืองเสียให้สิ้น เว้นไว้แต่วัดเท่านั้น” และกวาดต้อนคนทั้งหมดเพื่อ “ตัดรอนผ่อนกำลังอนุเสียให้สิ้น” ประวัติศาสตร์ลาว ให้ภาพชัดขึ้นอีกว่าสยาม “…ตัดต้นไม้ลงให้หมดไม่ผิดกับการทำไร่ แล้วเอาไฟเผา…พระพุทธรูปหลายร้อยหลายพันองค์ถูกไฟเผาจนละลายกองระเนนระนาด อยู่ตามวัดต่าง ๆ วัดในนครเวียงจันทน์เหลือเพียงวัดเดียวที่ไม่ถูกไฟไหม้คือวัดสีสะเกด…” อันเป็นที่ตั้งของกองทหารสยาม

ข้ามแม่น้ำโขงไปเที่ยวเวียงจันทน์ จะพบว่าร่องรอยความทรงจำเหล่านี้ยังมีอยู่

ที่ วัดสีสะเกด บริเวณขอบประตูเข้าสู่ระเบียงคดที่แล่นล้อมตัวโบสถ์ทั้ง ๔ ทิศ ยังปรากฏศิลาจารึกประวัติของวัด (ที่ถูกฝังเอาไว้ในเสาประตูด้านหนึ่ง) ระบุอย่างชัดเจนว่าวัดนี้สร้างโดยเจ้าอนุวงศ์ และตลอดระเบียงคดนั้นเต็มไปด้วยพระพุทธรูปชำรุด ๑๐,๑๓๖ องค์ที่เสียหายจากสงครามในอดีต

อีกฝั่งถนนคือพิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ใน ความทรงจำของคนลาว บ้างเล่าว่าหอพระแก้วถูกทำลายจากสงครามและขณะนี้พระแก้วมรกตไปอยู่ “ต่างประเทศ” บ้างก็ว่ากองทัพที่บุกมาทำลายคือทัพสยาม เรื่องนี้ไม่ปรากฏในแบบเรียนไทย และคนไทยก็อาจไม่ทราบว่าลาวได้บรรจุเนื้อหานี้ไว้ในตำราเรียนชั้นมัธยมฯ ละเอียดยิบ แถมยังมีการเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ เป็นระยะเพื่อสร้างความรู้สึกชาตินิยม

ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณครูในโรงเรียนไทยพร่ำบอกลูกศิษย์ว่า “พม่าเผากรุงศรีอยุธยา”

นัก ประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า ส่วนหนึ่งของเส้นทางลี้ภัยน่าจะอาศัยถ้ำต่างๆ ด้วย เพราะตอนกลางของลาวเต็มได้วยภูเขาหินปูนและถ้ำจำนวนมาก ในภาพคือถ้ำนางลอด เมืองไซบัวทอง อยู่ห่างมหาชัยกองแก้วไปทางตะวันออกราว ๓๐ กิโลเมตร

ภูเขา ที่เห็นเบื้องหน้าคือที่ตั้งของ “ถ้ำเจ้าอนุ” อยู่บนเทือกเ้ขาสูงใกลเมืองไชสมบูน ที่ตั้งอยู่ในอดีตเขตพิเศษไชสมบูน ลึกเข้าไปในเขตป่าเขายังมีการสู้รบระหว่างชนเผ่าม้งกับทหารลาว เดินทวนแม่น้ำจ้าขึ้นไป สายน้ำจะพาเราไปถึงปากถ้ำเจ้าอนุ

ภาพ มุมกว้างอีกมุมหนึ่งของเมืองไชสมบูนที่ตั้งอยู่ในอดีตเขตพิเศษ (เขตประกาศกฎอัยการศึก) ของ สปป.ลาว ทุกวันนี้เป็นเมืองเล็กๆ ในหุบเขาที่ยังถูกควบคุมโดยกองกำลังทหารของรัฐบาลอย่างเข้มงวด เพราะความขัดแย้งกับชนเผ่าม้งในพื้นที่ยังไม่ยุติโดยสมบูรณ์

เสด็จลี้ภัยครั้งสุดท้ายที่เชียงขวาง

พระ ชะตาของเจ้าอนุวงศ์หลังเสด็จฯ ออกจากเวียงจันทน์ลำบากลำบนเพียงใด พงศาวดารมิได้ให้รายละเอียด เรารู้เพียงว่าขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ ๖๐ พรรษาแล้ว พงศาวดารระบุเพียงว่าทัพสยามจับพระญาติวงศ์ในเจ้าอนุวงศ์บางส่วนได้ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ จากนั้น ๒๑ พฤศจิกายน ขุนนางของเจ้าน้อยผู้ครองเมืองพวน (เชียงขวาง)
ส่งสาส์นแจ้งแก่เจ้าพระยาราชสุภาวดีที่เวียงจันทน์ว่าเจ้าน้อยแต่งกองทัพ ออกลาดตระเวน และขอว่า “อนุหนีขึ้นไปจะจับส่งให้มิให้หนีไปได้ ขออย่าให้กองทัพกรุงยกติดตามเข้าไปในเขตแดนเมืองพวนเลย ไพร่บ้านพลเมืองจะสะดุ้งสะเทือนไป”

หลัง จากนั้นไม่กี่วัน เจ้าพระยาราชสุภาวดีก็ได้รับแจ้งว่าพบเจ้าอนุวงศ์แล้ว โดยเจ้าน้อย “ให้คนพิทักษ์รักษาอยู่ ๕๐ คน แล้วขอให้แต่งคนขึ้นไปจับเอาโดยเร็ว”

จน วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๑ ก็จับได้โดย “พระลับและนายหนานขัตติยะ เมืองน่าน ท้าวมหาพรหม เมืองหลวงพระบาง” นำมาส่งที่ค่ายหลวง แต่เจ้าราชวงศ์หลบหนีไปได้

ระราชปวัตของสมเด็ดพระเจ้าอะนุวงส์ฯ ระบุจุดสุดท้ายที่เจ้าอนุวงศ์ถูกจับว่า “อยู่น้ำไรตีนภูคังไข” ส่วน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ เล่าว่าจับเจ้าอนุวงศ์ได้ที่ “น้ำไฮเชิงเขาไก่”

ผม ไม่พบชื่อสถานที่ดังกล่าวในแผนที่ลาวปัจจุบันเลย จนทราบจาก ดร. สุเนด โพทิสาน อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของลาว ซึ่งปัจจุบันได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาเป็นอาจารย์พิเศษที่สถาบัน วิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานว่า

“ลองไปที่ถ้ำจ้า เมืองไซสมบูน นั่นคือจุดที่เจ้าอนุวงศ์ถูกจับ”

ไม่คิดว่าประโยคนี้จะพาผมเข้าไปในเมืองที่ “ลึกลับ” ที่สุดแห่งหนึ่งของลาว

เมือง ที่ว่าคือ ไซสมบูน ที่ทางการลาวเพิ่งยกเลิกสถานะ “เขตพิเศษ” (เขตบังคับใช้กฎอัยการศึก) ไปเมื่อปี ๒๕๕๐ และบนแผนที่ท่องเที่ยวปรากฏชื่อ “ถ้ำเจ้าอนุ”

ทาง ไปไซสมบูนช่วง ๑๐๐ กิโลเมตรแรกจากเวียงจันทน์เป็นเส้นทางเดียวกับที่นักท่องเที่ยวใช้เดินทางไป วังเวียงและหลวงพระบาง แล้วแยกจากทางหลักที่บ้านท่าเรือเหนือเขื่อนน้ำงึม โดยพุ่งไปทางตะวันออกราว ๑๐๐ กิโลเมตร ผ่านเขตภูเขาสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเบี้ย ภูเขาสูงที่สุดของลาว

ถนน ลูกรังพาเราผ่านเขตป่าเขา ผ่านเหมืองภูเบี้ย เหมืองทองคำที่อยู่ระหว่างขุดแร่อย่างคึกคัก ผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวม้งนับสิบหมู่บ้าน จนไปถึงเมืองไซสมบูนที่มีขนาดพอ ๆ กับหมู่บ้านเล็ก ๆ ของไทย

ผม และช่างภาพ-บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ เป็นชาวต่างชาติเพียง ๒ คนในเมืองที่ทหารและสายลับจับตามอง เมื่อได้รับอนุญาตให้ไปดูถ้ำเจ้าอนุ ซึ่งหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของลาวระบุว่าเปิดให้นักท่องเที่ยวชม โดยมีทหารตามประกบถึง ๗ คน ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพหรือจดข้อมูลใด ๆ ทั้งยังถูกตั้งคำถามถึงการเข้ามาโดยพลการ ซึ่งผมทราบดีว่าถ้าขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
คงใช้เวลานับปี

ไกด์ ของเราโดนสอบหาว่าพาคนไทยซึ่งเป็น “ประติการ” (ปฏิกิริยา) เข้ามาในเมือง ผมและช่างภาพถูกริบหนังสือเดินทางไปราว ๒ ชั่วโมง นัยว่าเป็นประกันว่าเราจะไม่ทำอะไรนอกเหนือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

ถ้ำ เจ้าอนุนี้เข้าไปได้โดยเส้นทางลูกรังตอนเหนือของไซสมบูนที่ตัดเข้าไปยังทิว เขาสลับซับซ้อน คนที่นี่บอกว่าเป็นทางไปภูเบี้ยอันเป็น “เขตสับสน” (ยังมีการสู้รบระหว่างทหารลาวกับชนเผ่าม้ง) จากการสังเกตเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีปากถ้ำ ๒ แห่ง ถ้ำแรกเป็นถ้ำตื้น ๆ ส่วนอีกถ้ำหนึ่งนั้นลึก เพดานถ้ำสูง ตามพื้นเต็มไปด้วยถุงขนม ดูเผิน ๆ เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวไซสมบูน หน้าถ้ำเป็นท้องนา มีลำธารตื้น ๆ สายหนึ่งชื่อ “น้ำจ้า” ไหลผ่าน สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยต้นสาบเสือออกดอกสีม่วงไปทั่วบริเวณ

“นาน มาแล้วมีเรื่องเล่าว่า คนพวนกับคนเวียงจันทน์ที่โดนกวาดต้อนไปบางกอกพูดเสียดสีกันว่าลูกหลานเจ้า น้อยเมืองพวนขายชาติ” อาจารย์นูเล่าความทรงจำเกี่ยวกับการจับกุมเจ้าอนุวงศ์ที่ตกทอดมาถึงคนรุ่น เขาให้ฟัง และสรุปว่าคนลาวรุ่นหลังไม่น่าจะเคยได้ยินเรื่องนี้ แถมนักประวัติศาสตร์ลาวรุ่นหลังยังตั้งคำถามว่าเจ้าน้อยเมืองพวนเป็นคนจับ เจ้าอนุวงศ์หรือไม่

แต่ หากพิจารณาสถานภาพของเมืองพวน (เชียงขวาง) ในช่วงดังกล่าวจะพบว่า การประนีประนอมกับภัยใหญ่ที่มาถึงตรงหน้าอาจเป็นทางออกเดียวในการรักษาเมือง ด้วยพวนนั้นเป็นรัฐที่เล็กเสียยิ่งกว่าเวียงจันทน์หรือหลวงพระบาง มีสถานะเป็น “เมืองสามฝ่ายฟ้า” โดยปรากฏหลักฐานว่าต้องส่งบรรณาการให้แก่รัฐที่ใหญ่กว่าคือ เวียงจันทน์ เว้ และต่อมาคือกรุงเทพฯ

ลองดูใน ประวัติศาสตร์อาณาจักรพวน ที่เจ้าคำหลวงหน่อคำ เชื้อสายกษัตริย์พวนที่ปัจจุบันดำรงชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นผู้รวบรวมและตีพิมพ์เป็นภาษาลาวเมื่อปี ๒๕๔๙ เรายังพบสายสัมพันธ์แบบ “ทั้งรักทั้งชัง” ระหว่างเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าน้อย ในฐานะกษัตริย์ประเทศราชและพระราชบุตรเขย

เพราะ เจ้าน้อยนั้นครั้งหนึ่งเคยถูกเจ้าอนุวงศ์จับไปไว้ที่เวียงจันทน์ ก่อนที่ต่อมามีความชอบได้อภิเษกกับพระราชธิดาองค์หนึ่งในเจ้าอนุวงศ์ สายสัมพันธ์นี้ทำให้ในช่วงสงครามปี ๒๓๖๙ เจ้าน้อยได้ทรงอุปถัมภ์พระญาติวงศ์ในเจ้าอนุวงศ์บางส่วนไว้ที่เมืองพวน ทว่าครั้งหลังนี้เหตุการณ์ได้บีบให้เจ้าน้อยจำต้องช่วยเหลือกรุงเทพฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้เพื่อรักษาเมืองไว้ แม้ว่าเจ้าอนุวงศ์จะทรงเป็นพระสัสสุระ (พ่อตา)ของพระองค์ก็ตาม

ใน นครหลวงเวียงจันทรน์มีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ “ถนนเจ้าอนุ” ก็เป็นถนนสายหนึ่งที่ยืนยันถึงความเคารพวีรกษัตริย์พระองค์นี้ของคนลาว

พระ ธาตุหลวงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียงจันทน์ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สำคัญ ในวันที่การท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงินให้แก่ลาวมหาศาล น่าสนใจว่านักท่องเที่ยวที่ไปเยือนโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไทย ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าอนุวงศ์เลย

วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ

ที่บางกอกเมื่อการกู้ “เอกราช” ล้มเหลว ผลที่ตามมาคือเจ้าอนุวงศ์ทรงประสบชะตากรรมอันแสนสาหัส

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ บรรยายอย่างละเอียดยิบว่า เจ้าอนุวงศ์ถูกทรมานตั้งแต่ถูกส่งมาถึงสระบุรี พระยาพิไชยวารีที่รับหน้าที่ควบคุม “ก็ทำกรงใส่อนุตั้งประจานไว้กลางเรือ” ส่งล่องแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๑

จาก นั้นโปรดให้นำตัวเจ้าอนุวงศ์ไป “จำไว้ทิมแปดตำรวจ บุตรหลานผู้หญิงและภรรยาน้อยนั้นก็ส่งไปเป็นชาวสะดึงทั้งสิ้น แล้วรับสั่งให้ทำที่ประจานลงที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ทำเป็นกรงเหล็กใหญ่สำหรับใส่อนุ มีรั้วตารางล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน มีกรงเหล็กน้อย ๆ สำหรับใส่บุตรหลานภรรยาอนุถึง ๑๓ กรง มีเครื่องกรรมกรณ์คือ ครก สาก สำหรับโขลก มีเบ็ดสำหรับเกี่ยวแขวน มีกระทะสำหรับต้ม มีขวานสำหรับผ่าอก มีเลื่อยสำหรับเลื่อยไว้ครบทุกสิ่ง แล้วตั้งขาหย่างเสียบเป็นเวลาเช้า ๆ…”

รุ่ง เช้าจึงมีการนำตัวเจ้าอนุวงศ์ เจ้าราชบุตรโย้ และพระญาติวงศ์มาไว้ในกรง “ให้นางคำปล้องซึ่งเป็นอัครเทพีถือพัดกาบหมาก เข้าไปนั่งปรนนิบัติอยู่ในกรง ให้นางเมียน้อยสาว ๆ ซึ่งเจ้าพระยาราชสุภาวดีส่งลงมาอีกครั้งหลังนั้นแต่งตัวถือกะบายใส่ข้าวปลา อาหารออกไปเลี้ยงกันที่ประจาน”

ทั้ง ยังบรรยายว่ากระทำกันกลางแจ้งให้ราษฎรชายหญิงมุงดู จนคนที่ญาติถูกเกณฑ์ไปเสียชีวิตในสงครามพากัน “นั่งบ่นพรรณนาด่าแช่งทุกวัน ครั้นเวลาบ่ายแดดร่มก็เอาบุตรหลานที่จับได้มาขึ้นขาหย่างเป็นแถวกันให้ร้อง ประจานโทษตัว”

สถานที่ที่เจ้าอนุวงศ์ถูกทรมานปัจจุบันคือลานหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทที่ตั้งอยู่ในกำแพงพระบรมมหาราชวังฝั่งตะวันออก

พระ ที่นั่งองค์นี้สร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ทำด้วยไม้ทั้งองค์ สันนิษฐานว่าสร้างตามแบบพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์บนกำแพงพระราชวังกรุง ศรีอยุธยา ถูกรื้อครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยยกยอดปราสาทและก่อใหม่ด้วยอิฐเพื่อเป็นที่ประทับของกรมสมเด็จพระศรีสุลา ลัย พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๕ โดยได้รับพระราชทานนามว่า “สุทธาสวรรย์” ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงมีการบูรณะอีกครั้งและได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์” เป็นหนึ่งใน “หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์” หมู่เรือนหลวงและอาคารแบบยุโรปที่รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างไว้ในสวนขวาเพื่อรับแขกบ้านแขกเมือง

ตรง นี้เองที่พงศาวดารไทยและลาวซึ่งแม้จะจัดเป็นหลักฐานชั้นรอง ด้วยแต่งขึ้นหลังเหตุการณ์หลายปี ต่างก็เล่าตรงกันว่าหลังถูกทรมาน ๗-๘ วัน เจ้าอนุวงศ์ขณะมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษาได้ “ป่วยเป็นโรคลงโลหิตก็ตาย โปรดให้เอาศพไปเสียบประจานไว้ที่สำเหร่”

เป็น ฉากสุดท้ายของเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์องค์สุดท้าย ที่เผชิญฉากจบด้วยความตายท่ามกลางเกมอำนาจของ ๒ อาณาจักรใหญ่ เป็นฉากสุดท้ายที่ไม่ต่างอะไรกับชะตากรรมของเจ้าน้อยเมืองพวน ซึ่งต่อมาถูกกษัตริย์เวียดนามสั่งประหารชีวิตเนื่องจากช่วยกองทัพสยามจับ เจ้าอนุวงศ์

เป็นฉากสุดท้ายที่ต่างจากความพยายามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในการนำอยุธยาหลุดจากอำนาจของหงสาวดีได้เป็นผลสำเร็จ

ผม จินตนาการไม่ออกว่า ถ้าเจ้าอนุวงศ์ทำสำเร็จจะเกิดอะไรขึ้น และกลับกัน ถ้าพระนเรศวรล้มเหลวและโดนพระเจ้านันทบุเรงกระทำเช่นนี้จะเกิดอะไรขึ้น

นอกจากจุดจบของกษัตริย์เวียงจันทน์แล้ว เรายังพบฉากอื่น ๆ ที่ไม่ถูกระบุไว้ในแบบเรียนประวัติศาสตร์สำนักชาตินิยมมาก่อน

เรา จะพบชะตากรรมกษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์ที่เจริญพระชนมายุในราชสำนักสยาม ถูกส่งกลับไปครองอาณาจักรและเผชิญความแตกแยกในกลุ่มขุนนางที่ฝักใฝ่เวียดนาม และสยาม

เรา จะพบชะตากรรมกษัตริย์เมืองเชียงรุ่ง เชียงใหม่ หลวงพระบาง ที่ต้องส่งเชื้อพระวงศ์มาเป็น “องค์ประกัน”ความจงรักภักดี เมื่อเสด็จสวรรคต เชื้อพระวงศ์ก็กลับไปครองราชย์ในกำกับของสยามและเผชิญเกมการเมืองระหว่างรัฐ มหาอำนาจ

เรา จะพบชะตากรรมขององเชียงสือ ที่มาพึ่งกรุงเทพฯ และกลับไปตั้งตนเป็นใหญ่ในเวียดนาม ปราบดาภิเษกเป็น “พระเจ้าเวียดนามยาลอง” ไม่ส่งบรรณาการให้สยามอีกต่อไปในฐานะผู้ครองอาณาจักรที่มีอำนาจทัดเทียม แต่สามารถเก็บส่วย อ้างอำนาจ และเป็นที่พึ่งให้แก่กษัตริย์เวียงจันทน์อันเป็นอาณาจักรเล็กกว่า โดยที่กษัตริย์เวียงจันทน์พระองค์นั้นเคยใช้ชีวิตอยู่เมืองบางกอกร่วมยุค สมัยเดียวกับพระองค์

สงคราม ครั้งนี้ยังเป็นเหตุให้เกิดการรบระหว่างกรุงเทพฯ-เว้ เป็นระยะเวลายาวนาน ก่อนจะสงบลงก็เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมแถบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้รัฐต่าง ๆ ต้องปรับตัว ปรับระบบรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว อันเป็นเหตุให้เกิด “เส้นเขตแดน” และ “ประเทศ” ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ตามมา

ผล จากศึกเจ้าอนุวงศ์ยังหลงเหลืออยู่จนทุกวันนี้ ที่เห็นชัดที่สุดคือกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์ในภาคอีสานซึ่งถ้ายึดตามแบบเรียน ประวัติศาสตร์ชาตินิยมมักมีคำอธิบายว่า คนเหล่านี้อพยพมา “พึ่งพระบรมโพธิสมภาร” โดยละม่อม ทว่าวันนี้ผมพบข้อมูลอีกด้านว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ สยามเทครัวจากเมืองฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมถึงเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่อยู่ใน อำนาจของเวียงจันทน์ เพื่อตัดกำลังไม่ให้กบฏได้อีก ถือเป็นการอพยพครัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์

อาจารย์ สุวิทย์กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ครึ่งหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานในอีสาน อีกครึ่งตั้งถิ่นฐานในภาคกลางและภาคเหนือ ครั้งแรกเกิดจากสยามต้องการลดอำนาจหัวเมืองลาว เมื่อเกิดสงครามกรุงเทพฯ-เว้ก็มีการอพยพอีกเพื่อไม่ให้คนเหล่านี้เป็นกำลัง ของเวียดนาม ผลคือเกิดเมืองในภาคอีสานถึง ๒๐ เมือง สิบสี่เมืองตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ สี่เมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ สองเมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕”

เราจึงพบคนลาวพวน(คนเชียงขวาง) ลาวเวียง(คนเวียงจันทน์) ชาวผู้ไท(ตั้งถิ่นฐานอยู่ตรงพร

——–

This article comes from Sarakadee สารคดี
http://www.sarakadee.com/web

The URL for this story is:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=932

————

พระครูโพธารามพิทักษ์ (หลวงพ่อเขียน)เจ้าอาวาสวัดบ้านโบสถ์ และเจ้าคณะอำเภอโพธาราม นักปราชญ์ชาวบ้านผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ลาวเวียง และได้เก็บรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมลาวเวียงไว้มากมาย

คิดมาตลอดเป็นเวลาเกือบเจ็ด สิบปีแล้ว  จากการศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของลาวเวียงมานานแล้ว  ทำอย่างไรคนลาวเวยงรุ่นหลังจึงจะเห็นคุณค่าและสืบสานฟื้นฟู รวมทั้งอนุรักษ์สิ่งดีงามเหล่านี้ไว้ได้ พอสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกและได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนภูมิทัศน์ วัฒนธรรมลาวเวียง ในการจัดทำ “หอวัฒนธรรมลาวเวียง”อาตมาจึงให้การสนับสนุนเต็มที่

ในโอกาสปีใหม่ 2553 ท่านพระครูโพธารามพิทักษ์ (หลวงพ่อเขียน)ท่านมีความประสงค์จะมอบศาลาการเปรียญหลังงาม ที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวม สิ่งของเครื่องใช้ ที่สะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนลาวเวียง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่แสดงภูมิปัญญา  ศิปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนลาวเวียง รวมทั้งการจัดนิทรรศการงานพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก

ที่มา นิตยสาร สารคดี ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่ว่าด้วย… “องค์ประกัน” ในราชสำนักสยาม แล้วเจ้าอนุวงศ์ประทับแห่งใดเมื่อมาเป็น “องค์ประกัน” ในราชสำนักสยาม ?

และบทสรุปของสารคดีเรื่องดังกล่าวในตอนท้าย น่าสนใจมากครับ

  • นอกจากจุดจบของกษัตริย์เวียงจันทน์แล้ว เรายังพบฉากอื่น ๆ ที่ไม่ถูกระบุไว้ในแบบเรียนประวัติศาสตร์สำนักชาตินิยมมาก่อน
  • เรา จะพบชะตากรรมกษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์ที่เจริญพระชนมายุในราชสำนักสยาม ถูกส่งกลับไปครองอาณาจักรและเผชิญความแตกแยกในกลุ่มขุนนางที่ฝักใฝ่เวียดนาม และสยาม
  • เรา จะพบชะตากรรมกษัตริย์เมืองเชียงรุ่ง เชียงใหม่ หลวงพระบาง ที่ต้องส่งเชื้อพระวงศ์มาเป็น “องค์ประกัน”ความจงรักภักดี เมื่อเสด็จสวรรคต เชื้อพระวงศ์ก็กลับไปครองราชย์ในกำกับของสยามและเผชิญเกมการเมืองระหว่างรัฐ มหาอำนาจ
  • เรา จะพบชะตากรรมขององเชียงสือ ที่มาพึ่งกรุงเทพฯ และกลับไปตั้งตนเป็นใหญ่ในเวียดนาม ปราบดาภิเษกเป็น “พระเจ้าเวียดนามยาลอง” ไม่ส่งบรรณาการให้สยามอีกต่อไปในฐานะผู้ครองอาณาจักรที่มีอำนาจทัดเทียม แต่สามารถเก็บส่วย อ้างอำนาจ และเป็นที่พึ่งให้แก่กษัตริย์เวียงจันทน์อันเป็นอาณาจักรเล็กกว่า โดยที่กษัตริย์เวียงจันทน์พระองค์นั้นเคยใช้ชีวิตอยู่เมืองบางกอกร่วมยุค สมัยเดียวกับพระองค์
  • สงคราม ครั้งนี้ยังเป็นเหตุให้เกิดการรบระหว่างกรุงเทพฯ-เว้ เป็นระยะเวลายาวนาน ก่อนจะสงบลงก็เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมแถบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้รัฐต่าง ๆ ต้องปรับตัว ปรับระบบรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว อันเป็นเหตุให้เกิด “เส้นเขตแดน” และ “ประเทศ” ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ตามมา
  • ผล จากศึกเจ้าอนุวงศ์ยังหลงเหลืออยู่จนทุกวันนี้ ที่เห็นชัดที่สุดคือกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์ในภาคอีสานซึ่งถ้ายึดตามแบบเรียน ประวัติศาสตร์ชาตินิยมมักมีคำอธิบายว่า คนเหล่านี้อพยพมา “พึ่งพระบรมโพธิสมภาร” โดยละม่อม ทว่าวันนี้ผมพบข้อมูลอีกด้านว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ สยามเทครัวจากเมืองฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมถึงเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่อยู่ใน อำนาจของเวียงจันทน์ เพื่อตัดกำลังไม่ให้กบฏได้อีก ถือเป็นการอพยพครัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
  • อาจารย์ สุวิทย์กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ครึ่งหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานในอีสาน อีกครึ่งตั้งถิ่นฐานในภาคกลางและภาคเหนือ ครั้งแรกเกิดจากสยามต้องการลดอำนาจหัวเมืองลาว เมื่อเกิดสงครามกรุงเทพฯ-เว้ก็มีการอพยพอีกเพื่อไม่ให้คนเหล่านี้เป็นกำลัง ของเวียดนาม ผลคือเกิดเมืองในภาคอีสานถึง ๒๐ เมือง สิบสี่เมืองตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ สี่เมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ สองเมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕”
  • เราจึงพบคนลาวพวน (คนเชียงขวาง) ลาวเวียง (คนเวียงจันทน์) ชาว “ผู้ไท” (ตั้ง ถิ่นฐานอยู่ตรงพรมแดนลาว-เวียดนาม) ลาวโซ่ง( “ผู้ไทดำ”จากแคว้นสิบสองจุไททางภาคเหนือของลาว) กะเลิง โซ่ แสก ย้อ(ญ้อ) โย้ย และคนนานาชาติพันธุ์ อยู่ใน “ประเทศไทย” ทางภาคอีสาน  คนเหล่านี้แหละที่เป็นผู้สร้างบ้านแปงเมือง เป็นบรรพบุรุษชาวอีสานซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกับคนในประเทศลาวปัจจุบัน